ภาษาโซ่ (ทะวืง)

(เปลี่ยนทางจาก ภาษาข่าตองเหลือง)

ภาษาโซ่ (ทะวืง) หรือ ภาษาทะวืง มีผู้พูดทั้งหมด 2,520 คน พบในไทย 750 คน (พ.ศ. 2539) ในจังหวัดสกลนคร พูดภาษาลาวได้ด้วย ในลาวมี 1,770 คน (พ.ศ. 2543) จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก กลุ่มมอญ-เขมร สาขาเวียตติก ในประเทศไทยบางครั้งเรียกภาษานี้ว่าภาษาโซ่

ภาษาโซ่ (ทะวืง)
พาซา โซ่ (ทะวืง)
ออกเสียง/pʰasa¹ so³ tʰawɨŋ¹/
[pʰaːˈsâː ˈsô̰ː tʰaˈwɨ̂ːŋ]
ประเทศที่มีการพูดไทย, ลาว
จำนวนผู้พูด700 คน  (2550[1])
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรไทย (ในไทย)
สถานภาพทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน ไทย
รหัสภาษา
ISO 639-3thm

สัทวิทยา แก้

พยัญชนะ แก้

หน่วยเสียงพยัญชนะภาษาโซ่ (ทะวืง) ถิ่นหนองม่วงและหนองแวง จังหวัดสกลนคร[2]
ลักษณะการออกเสียง ตำแหน่งเกิดเสียง
ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
เสียงนาสิก m n ɲ ŋ
เสียงหยุด ก้อง b d
ไม่ก้อง ไม่พ่นลม p t c k ʔ
พ่นลม
เสียงเสียดแทรก (f) s h
เสียงข้างลิ้น l
เสียงกึ่งสระ w j
  • หน่วยเสียงที่เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะท้ายมี 11 หน่วยเสียง ได้แก่ /m/, /n/, /ŋ/, /p/, /t/, /k/, /ʔ/, /s/, /h/, /w/ และ /j/
  • หน่วยเสียง /c/ อาจออกเสียงเป็น [c] หรือ [t͡ɕ][3]
  • หน่วยเสียง /f/ พบเฉพาะในคำยืมจากภาษาไทย ผู้พูดรุ่นเก่ามักออกเสียงพยัญชนะนี้เป็น [pʰ][4]
  • หน่วยเสียง /s/ เมื่ออยู่ในตำแหน่งต้นพยางค์ออกเสียงเป็น [s] หรือ [ʃ] และเมื่ออยู่ในตำแหน่งท้ายพยางค์ออกเสียงเป็น [ç][3]

สระ แก้

สระเดี่ยว แก้

หน่วยเสียงสระเดี่ยวภาษาโซ่ (ทะวืง) ถิ่นหนองม่วงและหนองแวง จังหวัดสกลนคร[5]
ระดับลิ้น ตำแหน่งลิ้น
หน้า กลาง หลัง
สูง i ɨ u
กึ่งสูง e ə o
กึ่งต่ำ ʌ
ต่ำ ɛ a ɔ

สระประสม แก้

หน่วยเสียงสระประสมภาษาโซ่ (ทะวืง) ถิ่นหนองม่วงและหนองแวงมี 2 หน่วยเสียง[5] ได้แก่ /ia/ และ /ua/

ลักษณะน้ำเสียง แก้

ภาษาโซ่ (ทะวืง) ถิ่นหนองม่วงและหนองแวงมีลักษณะน้ำเสียง 3 ลักษณะ ได้แก่

  • ลักษณะน้ำเสียงปกติ มีเสียงย่อย 3 ระดับ ได้แก่ ระดับเสียงกึ่งสูงระดับ [V] ระดับเสียงกึ่งสูง-ตก [V̂] และระดับเสียงกึ่งสูง-ขึ้น [V́])
  • ลักษณะน้ำเสียงทุ้มต่ำ [V̤̀]
  • ลักษณะน้ำเสียงสูงบีบ [V̰̂]

ในปัจจุบันลักษณะน้ำเสียงเหล่านี้อยู่ระหว่างการพัฒนาขึ้นมาเป็นเสียงวรรณยุกต์[6]

ระบบการเขียน แก้

ตัวเขียนภาษาโซ่ (ทะวืง) อักษรไทยตามที่คณะกรรมการจัดทำระบบเขียนภาษาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยอักษรไทย สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ได้กำหนดไว้ มีดังนี้

พยัญชนะ
อักษรไทย เสียง ตัวอย่างคำ ความหมาย
/k/ ไก่
เล็ เหล็ก
/kʰ/ ค้ จระเข้
/ŋ/ งั วัว
ทั่ ไม้
/c/ จ้ หมา
/s/ ซี มือ, สี
กุ ไฟ
/ɲ/ ญี หัวใจ
/d/ เรือ
/t/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย) แป้ ปลูก
/t/ (เมื่อเป็นพยัญชนะต้น) ตื้ ถ้วยชาม
/tʰ/ ท็อง กระสอบ
/n/ นิ้ คอ
กู้ หมู
/b/ นกฮูก
/p/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย) จุ กีดขวาง (ใช้กับต้นไม้)
/p/ (เมื่อเป็นพยัญชนะต้น) ดอกไม้
/pʰ/ พียง ฟางข้าว
/m/ มั นัยน์ตา
เป พระจันทร์
/j/ งเ จักรยาน
นื อยู่
/l/ ลุ งู
/w/ ว้อง หม้อ
อ้า เสื้อ
/ʔ/ (เมื่อเป็นพยัญชนะต้น) อุ บ้าน
/h/ ฮ็อก คางคก
ติ หนอน
ไม่มีรูป /ʔ/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย) ฮุ รู้
สระ
อักษรไทย เสียง ตัวอย่างคำ ความหมาย
–ะ /a/ (เมื่อออกเสียงสั้น ไม่มีพยัญชนะท้าย
และอยู่ในคำหลายพยางค์ หรือเมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/)
ลู้น ไข่
มัน (สรรพนาม)
–ั /a/ (เมื่อออกเสียงสั้นและมีพยัญชนะท้ายอื่น) บั หน่อไม้
–า /a/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้ายหรือเมื่อออกเสียงยาว) สาม
จ้ ข้าวสุก
–ิ /i/ (เมื่อออกเสียงสั้น) ติ หนอน
–ี /i/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้ายหรือเมื่อออกเสียงยาว) ตี ไป
จี เท้า
–ึ /ɨ/ (เมื่อออกเสียงสั้น) บึ เปิด
–ือ /ɨ/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) จือ จำ
–ื /ɨ/ (เมื่อออกเสียงยาวและมีพยัญชนะท้าย) ฮื บุหรี่
–ุ /u/ (เมื่อออกเสียงสั้น) ตุ่ ถั่ว
–ู /u/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้ายหรือเมื่อออกเสียงยาว) ทู ลึก
กู้ หมู
เ–ะ /e/ (เมื่อออกเสียงสั้นและมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) เตะ
เ–็ /e/ (เมื่อออกเสียงสั้นและมีพยัญชนะท้ายอื่น) เล็ เหล็ก
เ– /e/ (เมื่อออกเสียงยาว) ปม พระจันทร์
แ–ะ /ɛ/ (เมื่อออกเสียงสั้นและมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) กะ เกวียน
แ–็ /ɛ/ (เมื่อออกเสียงสั้นและมีพยัญชนะท้ายอื่น) แล็ เป็น
แ– /ɛ/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้ายหรือเมื่อออกเสียงยาว) มี
อะจ้ม เลี้ยง
โ–ะ /o/ (เมื่อออกเสียงสั้นและมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) กะ กะลา
โ–็ /o/ (เมื่อออกเสียงสั้นและมีพยัญชนะท้ายเป็น /h/ หรือ /w/) โก็ คำ, ภาษา
โท็ แก, มึง
โ–ะ (ลดรูป) /o/ (เมื่อออกเสียงสั้นและมีพยัญชนะท้ายอื่น) กน คน
โ– /o/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้ายหรือเมื่อออกเสียงยาว) อะก้ ข้าวสาร
อง ช้าง
เ–าะ /ɔ/ (เมื่อออกเสียงสั้นและมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) ซะาะ ทิ่ม, ตำ
–็อ /ɔ/ (เมื่อออกเสียงสั้นและมีพยัญชนะท้ายอื่น) ญ็อ ตั๊กแตนตำข้าว
–อ /ɔ/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้ายหรือเมื่อออกเสียงยาว) ลิง
ต่อ (แมลง)
เ–อะ /ə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) อะ นินทา
เ–อ /ə/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) เก้อ ใกล้
เ–ิ /ə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) เนิ้ คอ
เ–อฺ /ʌ/ เว้อฺ บ้า
เ–า /aw/ เจ้า เรา
เ–ีย /ia/ เยีย ปลาไหล
–ัว /ua/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) กั้ว ผึ้ง
–ว– /ua/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย) อะย ชวน
  • การเลือกใช้รูปสระสั้นหรือยาวเป็นไปตามการออกเสียงของเจ้าของภาษา
    ซึ่งไม่สามารถระบุเงื่อนไขการเกิดเสียงสั้นและยาวได้[5]
ลักษณะน้ำเสียง
อักษรไทย ลักษณะน้ำเสียง ตัวอย่างคำ ความหมาย
ไม่มีรูป ปกติ โฮ ล่า
ญุม ดำ
แกน แตง
–่ ทุ้มต่ำ มู่ เพื่อน
ทั่ ไม้
ก่ แก่น
–้ สูงบีบ ก้ ปลา
อี้ หนู
ก้ มด, เอว
  • คำว่า โซ่ ที่หมายถึงชื่อภาษาและกลุ่มชาติพันธุ์
    ออกเสียงด้วยลักษณะน้ำเสียงสูงบีบ
    แต่สะกดด้วยเครื่องหมาย –่ แทนที่จะเป็น –้

อ้างอิง แก้

  • Gordon, Raymond G., Jr. (ed.), 2005. Ethnologue: Languages of the World, Fifteenth edition. Dallas, Tex.: SIL International. Online version: http://www.ethnologue.com/
  1. Thavưng at Ethnologue (18th ed., 2015)
  2. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2560). คู่มือระบบเขียนภาษาโซ่ (ทะวืง) อักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 26.
  3. 3.0 3.1 Premsrirat, Suwilai. "Phonological characteristics of So (Thavung), a Vietic language of Thailand." Mon-Khmer Studies 26 (1996): 161-178.
  4. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2560). คู่มือระบบเขียนภาษาโซ่ (ทะวืง) อักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 11.
  5. 5.0 5.1 5.2 สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2560). คู่มือระบบเขียนภาษาโซ่ (ทะวืง) อักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 29.
  6. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2560). คู่มือระบบเขียนภาษาโซ่ (ทะวืง) อักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 4.