ภาษากะเหรี่ยงโป

ภาษากะเหรี่ยงโปวฺ เป็นภาษาของชาวกะเหรี่ยงโปวฺ มีพยัญชนะต้นเดี่ยว 23 เสียง มีเสียงพยัญชนะควบกล้ำมากโดยวบกับ ล ร ว และ ย ไม่มีความแตกต่างระหว่างสระเสียงสั้นกับสระเสียงยาว สระเดี่ยวมี 9 เสียง สระประสมมี 5 เสียง เสียงวรรณยุกต์ 5 เสียง ไม่มีเสียงตัวสะกด

ภาษากะเหรี่ยงโปวฺ
ဖျိၩ့, ဖျိၩ့ၡိ, ဖၠုံ, ဖၠုံယှိုဝ်
ประเทศที่มีการพูดรัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า, ภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศไทย
ชาติพันธุ์ชาวกะเหรี่ยง
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรกะเหรี่ยง, อักษรพม่า, อักษรไทย
รหัสภาษา
ISO 639-3

ไวยากรณ์ แก้

การเรียงประโยคเป็น ประธาน-กริยา-กรรม เช่น

  • ทุย อัยงฺ หมี่ หญ่อ = หมากัดแมว

ประโยคปฏิเสธใช้คำว่า เอ หรือ บา หรือ วา ต่อท้ายประโยคบอกเล่า บางครั้งอาจเติมคำว่า เหล่อ (ไม่) ไว้หน้าคำกริยาที่ต้องการปฏิเสธเพิ่มอีกคำหนึ่งด้วย เช่น

  • เหน่อ หลี่ เอ = เธอไม่ไป

ประโยคคำถามใช่/ไม่ใช่ เติมคำว่า หงฺะ ท้ายประโยค ซึ่งเป็นคำที่ไม่มีในภาษาไทยออกเสียงในลำคอส่วนคำถามที่ต้องการข้อมูลจะเติมคำสรรพนามแสดงคำถามไว้ในตำแหน่งที่ต้องการถาม เช่น

  • ออง หมี่ เหย่า หงฺะ = กินข้าวหรือยัง
  • เหน่อ เหม่อ หลี่ ค่อแหล่ = เธอจะไปไหน
  • ป่อ/โผลวฺ แหล่ ออง หมี่ = ใครกินข้าว

สำเนียง แก้

ภาษากะเหรี่ยงโปมีหลายสำเนียง ได้แก่

แต่ละสำเนียงมีคลังศัพท์คล้ายกัน แต่ไม่สามารถพูดระหว่างกันเข้าใจได้

อ้างอิง แก้

  • สุจริตลักษณ์ ดีผดุง และสรินยา คำเมือง. สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์: กะเหรี่ยงโป. กทม. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล. 2540.