ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทส

ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทส[4] (อังกฤษ: lactose intolerance) หรือนิยมเรียกแบบไม่เป็นทางการว่าการแพ้นม เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถสลายแล็กโทส เนื่องจากการขาดเอนไซม์แล็กเทสที่จำเป็นในระบบย่อยอาหาร มีการประมาณว่าผู้ใหญ่ทั่วโลกราว 75% มีการผลิตแล็กเทสลดลงในวัยผู้ใหญ่[5] ความถี่ของการลดการผลิตแล็กเทสมีแตกต่างกันตั้งแต่ 5% ในยุโรปเหนือ ไปจนถึง 71% ในซิซิลี และมากกว่า 90% ในบางประเทศทวีปแอฟริกาและเอเชีย[6]

ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทส
(Lactose intolerance)
ชื่ออื่นLactase deficiency, hypolactasia, alactasia, lactose challenged
น้ำตาลแล็กโทส ประกอบขึ้นจากน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวสองชนิด
สาขาวิชาวิทยาทางเดินอาหาร
อาการปวดท้อง, แน่นท้อง, ถ่ายเหลว, ท้องอืด, คลื่นไส้[1]
ภาวะแทรกซ้อนไม่ทำความเสียหายให้กับระบบทางเดินอาหาร[2]
การตั้งต้น30–120 นาที หลังกินผลิตภัณฑ์นม[1]
สาเหตุการสูญเสียความสามารถในการย่อยแล็กโทส อาจมาจากพันธุกรรม หรือจากการบาดเจ็บต่อลำไส้เล็ก[1]
วิธีวินิจฉัยวินิจฉัยจากอาการ อาการดีขึ้นหลังงดกินแล็กโทส[1]
โรคอื่นที่คล้ายกันกลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น, โรคของซีลิแอ็ก, โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง, การแพ้โปรตีนนมวัว[1]
การรักษาลดอาหารที่มีแล็กโทส, ผลิตภัณฑ์เสริมเอนไซม์แล็กเทส, รักษาที่ต้นเหตุ[1]
ความชุกประมาณร้อยละ 65 ของประชากร (ในชาวยุโรปพบได้น้อยกว่า)[3]

น้ำตาลโมเลกุลคู่ไม่สามารถถูกดูดซึมผ่านผนังของลำไส้เล็กเข้าไปยังกระแสเลือดได้ ดังนั้น ในการขาดแล็กเทส แล็กโทสซึ่งมีอยู่ในผลิตภัณฑ์นมที่ย่อยแล้วจะไม่ถูกทำให้แตกตัวและผ่านไปจนถึงลำไส้ใหญ่โดยไม่มีการย่อยสลาย โอเปอร์รอนของแบคทีเรียในลำไส้จะเข้ามาสลายแล็กโทสอย่างรวดเร็ว และส่งผลให้เกิดการหมักภายในร่างกายสิ่งมีชีวิต และผลิตแก๊สออกมาในปริมาณมาก (ได้แก่ ไฮโดรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และมีเทนผสมกัน) ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการบริเวณท้องได้หลายอย่าง รวมทั้ง ท้องเป็นตะคริว คลื่นไส้ เรอบ่อย กรดไหลย้อน และผายลม นอกเหนือจากนั้น แล็กโทส เช่นเดียวกับน้ำตาลที่ไม่ถูกดูดซึมอื่น ๆ (อย่างเช่น ซอร์บิทอล แมนนิทอล และไซลิทอล) การมีของแล็กโทสและผลิตภัณฑ์จากการหมักจะเพิ่มแรงดันออสโมติกในลำไส้ใหญ่

เนื่องจากภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสเกิดจากการที่ร่างกายย่อยแล็กโทสไม่ได้ จึงถือว่าไม่ได้เกิดจากกระบวนการภูมิแพ้ ไม่ถือเป็นโรคภูมิแพ้อาหาร และเป็นคนละโรคกับการแพ้โปรตีนนมวัว (cow's milk protein allergy)

ชีววิทยาแล็กเทส แก้

สภาวะปกติของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสำหรับตัวอ่อนของสปีชีส์เพื่อรับมือกับการผลิตแล็กเทสที่ลดลงในช่วงปลายระยะหย่านม (ซึ่งเป็นระยะเวลาที่แตกต่างกันไปในแต่ละสปีชีส์) ในมนุษย์ สังคมที่ไม่บริโภคนม การผลิตแล็กเทสมักจะลดลงถึง 90% ในช่วงสี่ปีแรกของชีวิต ถึงแม้ว่าค่าการลดลงที่แม่นยำมีความแตกต่างกันอย่างมาก[7]

อย่างไรก็ตาม ประชากรมนุษย์บางส่วนมีการกลายพันธุ์บนโครโมโซม 2 ซึ่งกำจัดการปิดการผลิตแล็กเทส ทำให้สมาชิกของประชากรเหล่านี้สามารถบริโภคนมสดและผลิตภัณฑ์จากนมได้ตลอดชีวิตโดยไม่ประสบกับความยากลำบากต่อไปได้ ซึ่งเป็นการปรับตัวให้เข้ากับสมัยปัจจุบันที่มีการบริโภคนม และได้เกิดขึ้นแยกต่างหากในทั้งยุโรปเหนือและแอฟริกาตะวันออกในหมู่ประชากรที่เคยมีวิถีชีวิตด้วยการเลี้ยงปศุสัตว์[8] การผลิตแล็กเทสได้ตลอดชีวิต ทำให้การย่อยแล็กโทสสามารถดำเนินต่อไปได้จนกระทั่งเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เป็นแอลลีลเด่น ทำให้ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสเป็นลักษณะพันธุกรรมด้อย

บางวัฒนธรรม อย่างเช่น ญี่ปุ่น ที่ซึ่งมีการบริโภคนมเพิ่มมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับรูปแบบการกินอาหารแต่เดิม แสดงให้เห็นว่าการแพ้แล็กโทสมีความชุกลดลง ถึงแม้ว่าจะมีความโน้มเอียงรับโรคตามพันธุกรรมก็ตาม[9]

ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสในด้านพยาธิวิทยาสามารถเกิดได้จากการแพ้กลูเตน ซึ่งสร้างความเสียหายแก่วิลลัสในลำไส้เล็กซึ่งผลิตแล็กเทส ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสประเภทนี้จะเกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสที่เกิดขึ้นจากการแพ้กลูเตนจะหายจากอาการหลังจากผู้ป่วยงดรับประทานอาหารที่มีกลูเตนเป็นระยะเวลาเพียงพอให้วิลลิสฟื้นฟู[10]

สำหรับบางคนซึ่งรายงานปัญหาเกี่ยวกับการบริโภคแล็กโทสไม่ได้มีภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสอย่างแท้จริง ในการศึกษาผู้ใหญ่ชาวซิซิลี 323 คน[11] พบว่ามีเพียง 4% ซึ่งมีทั้งภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสและการย่อยแล็กโทสผิดปกติ ในขณะที่ 32.2% เป็นผู้ที่มีการย่อยแล็กโทสผิดปกติ แต่ไม่ได้มีผลสรุปออกมาว่าแพ้แล็กโทส อย่างไรก็ตามในอีกงานศึกษาหนึ่ง[12] พบว่า 72% ของชาวซิซิลี 100 คน มีภาวะไม่ทนต่อแล็กโทส และชาวอิตาลีตอนเหนือ 106 คน จาก 208 คน (51%) มีภาวะไม่ทนต่อแล็กโทส

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Lactose Intolerance". NIDDK. มิถุนายน 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2016.
  2. Heyman MB (กันยายน 2006). "Lactose intolerance in infants, children, and adolescents". Pediatrics. 118 (3): 1279–86. doi:10.1542/peds.2006-1721. PMID 16951027. S2CID 2996092.
  3. Malik, TF; Panuganti, KK (มกราคม 2020). "Lactose Intolerance". (StatPearls [Internet]). StatPearls. PMID 30335318. NBK532285.
  4. บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ ฉบับประเทศไทย (อังกฤษ-ไทย) ฉบับปี 2009. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2552.
  5. "Improved lactose digestion and intolerance among African-American adolescent girls fed a dairy-rich diet". Journal of the American Dietetic Association. 2000. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2009. Approximately 75% of the world's population loses the ability to completely digest a physiological dose of lactose after infancy
  6. Bulhões, A.C.; Goldani, H.A.S.; Oliveira, F.S.; Matte, U.S.; Mazzuca, R.B.; Silveira, T.R. (2007). "Correlation between lactose absorption and the C/T-13910 and G/A-22018 mutations of the lactase-phlorizin hydrolase (LCT) gene in adult-type hypolactasia". Brazilian Journal of Medical and Biological Research. 40 (11): 1441–6. doi:10.1590/S0100-879X2007001100004. PMID 17934640.
  7. "Soy and Lactose Intolerance". Soy Nutrition. WhiteWave Foods. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 ธันวาคม 2007.
  8. Coles Harriet (20 มกราคม 2007). "The lactase gene in Africa: Do you take milk?". The Human Genome, Wellcome Trust. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 กันยายน 2008. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2008.
  9. Yoshida Y, Sasaki G, Goto S, Yanagiya S, Takashina K (1975). "Studies on the etiology of milk intolerance in Japanese adults". Gastroenterol. Jpn. 10 (1): 29–34. PMID 1234085.
  10. Jamie Gregor; Diamond Sherin Alidina (1981). "11 Celiac Disease". ใน Emanuel Lebenthal (บ.ก.). BMJ Textbook of gastroenterology and nutrition in infancy. New York: Raven Press. ISBN 978-0-88167-522-1.
  11. Antonio Carroccio; และคณะ (มีนาคม 1998). "Sideropenic Anemia and Celiac Disease (One Study, Two Points of View)". Digestive Diseases and Sciences. 43: 673–678. eISSN 1573-2568.
  12. Burgio G. R.; และคณะ (1984). "Prevalence of primary adult lactose malabsorption and awareness of milk intolerance in Italy". American Journal of Clinical Nutrition. 39: 100–104. eISSN 1938-3207.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้


การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก