พันเอก นายแพทย์ ภาคย์ โลหารชุน ชื่อเล่น พุฒ[1][2] เป็นนายแพทย์ใหญ่ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ จังหวัดลพบุรี[3] อดีตผู้บังคับกองพันเสนารักษ์ที่ 3 ค่ายสุรธรรมพิทักษ์ จังหวัดนครราชสีมา[2] ซึ่งได้รับฉายา "หมอที่แกร่งที่สุดในปฐพี" จากการสำเร็จหลักสูตรการทหารในหลายหลักสูตร[4][5]

ภาคย์ โลหารชุน
นายแพทย์ใหญ่ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2562
ผู้บังคับกองพันเสนารักษ์ที่ 3
ดำรงตำแหน่ง
20 พฤศจิกายน 2557 – พ.ศ. 2562
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดกรุงเทพมหานคร[1][2]
คู่สมรสพญ.จักรีภรณ์ เลิศจรัสศิวิไล
ศิษย์เก่าวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า[1]
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองทัพบกไทย
ยศ พันเอก
หน่วย ซีล
รีคอน

และในปี พ.ศ. 2561 จากการทำหน้าที่ช่วยเหลือปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง ส่งผลให้เขาเป็นที่รู้จักในระดับมหาชน[6][7] รวมถึงได้มีมติจากคณะกรรมการแพทยสภายกให้เขาเป็น "แพทย์ต้นแบบ"[8]

ประวัติ แก้

ภาคย์ โลหารชุน สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า รุ่นที่ 23 จากนั้น เขาสำเร็จหลักสูตรพิเศษถึง 6 หลักสูตร ดังนี้ :[1]

  • หลักสูตรส่งทางอากาศ (รร.ศสพ.) รุ่นที่ 229 กองทัพบก
  • หลักสูตรจู่โจมหรือเสือคาบดาบ (รุ่นทั่วไป) รร.ร.ศร. รุ่นที่ 86 กองทัพบก
  • หลักสูตรนักทำลายใต้น้ำจู่โจม (ซีล) รุ่นที่ 34 กองทัพเรือ
  • หลักสูตรรีคอน รุ่นที่ 38 กองทัพเรือ
  • หลักสูตรการปฏิบัติการพิเศษ รุ่นที่ 6 (คอมมานโด รุ่นที่ 17 + พีเจ รุ่นที่ 19) กองทัพอากาศ
  • เสนาธิการทหารบก ชุดที่ 91 กองทัพบก

ในปี พ.ศ. 2547 เขาได้เป็นนายแพทย์กองกำลังไทย-อิรัก 976 ผลัดที่ 2 ส่วนในปี พ.ศ. 2549 ทำหน้าที่เป็นนายแพทย์กองกำลังสันติสุขใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้[1][2]

พ.ศ. 2561 เขาได้มีส่วนร่วมในปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง ที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย[9] โดยสามารถส่งทุกคนออกมาได้อย่างปลอดภัย[10] เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ ภาคย์ โลหารชุน เป็นผู้ดำน้ำออกมาเป็นคนสุดท้าย[11]

ชีวิตส่วนตัว แก้

ด้านชีวิตส่วนตัว ภาคย์ โลหารชุน มีบิดามารดาประกอบอาชีพแพทย์ และมีพี่ชาย 1 คนเป็นแพทย์ทหาร[1] ปัจจุบัน เขามีภรรยาคือ แพทย์หญิงจักรีภรณ์ เลิศจรัสศิวิไล (หมอเฟิส) และบุตรชาย 1 คน คือน้องพาวเวอร์[4][12][13]

ในวัยเด็ก เขามีตัวละครที่ชื่นชอบคือเค็นชิโร่ จากซีรีส์หมัดเทพเจ้าดาวเหนือ และซูเปอร์ไซย่า จากซีรีส์ดราก้อนบอล[1] นอกจากนี้ ภาคย์ โลหารชุน เป็นแพทย์ที่มีความสามารถในการดำน้ำ[14][15]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 เปิดตัวหมอแกร่งที่สุดในปฐพี ผู้พิชิต 6 นักรบเหนือมนุษย์ - ไทยรัฐ
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 ผู้พันยังโดนซ่อม!!! "หมอภาคย์ " ผู้พิชิตหลักสูตร 6 นักรบและเป็นหมอคนเดียวในโลกที่หน้าอกไม่พอให้ติดเข็ม!?!
  3. 'หมอภาคย์' ลาแล้วโคราช! รับตำแหน่งใหม่ - กรุงเทพธุรกิจ
  4. 4.0 4.1 ทำไมต้องเป็น "หมอภาคย์" ?!! เปิดวาร์ป "นพ.ภาคย์ โลหารชุน" ทหารเสือราชินี หมอที่แกร่งที่สุดในปฐพี จนได้รับเลือกให้ร่วมช่วยเหลือ "ทีมหมูป่า"
  5. มาแล้ว ! มนุษย์ที่แกร่งที่สุดในปฐพี 'หมอภาคย์' ร่วมดำน้ำกับหน่วยซีลช่วยทีมหมูป่า
  6. 'หมอภาคย์' กดไลค์ ถ่ายรูปร่วมกับแพทย์สนาม ก่อนถูกส่งไปรพ.เชียงรายฯ
  7. "อยากกินมาม่ามากเลยครับ"มื้อแรกของ"หมอภาคย์"หลังออกจากถ้ำ - โพสต์ทูเดย์
  8. แพทยสภา ยก “หมอภาคย์” เป็น “แพทย์ต้นแบบ” หลังภารกิจพาทีมหมูป่ากลับบ้าน - Manager Online
  9. หมอภาคย์ สแตนบายดำน้ำเข้าไปช่วยทีมหมูป่า - ไทยโพสต์
  10. “หมอภาคย์” หมอทหารฯ สุดแกร่ง ร่วมภารกิจ ช่วย 13 ชีวิต - Workpoint News[ลิงก์เสีย]
  11. เผยมื้อแรก ของฮีโร่ หลัง หมอภาคย์ ดำน้ำปิดท้าย ออกจากถ้ำหลวง!
  12. รู้จัก “หมอภาคย์” ยอดนักรบ สมทบหน่วยซีลช่วย 13 ชีวิตถ้ำหลวง
  13. "เปิดหลังบ้าน ภรรยาหมอภาคย์ วีรบุรุษถ้ำหลวง - Bright TV 20". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-11. สืบค้นเมื่อ 2019-04-11.
  14. อีก 500 เมตร หน่วยซีลถึงหาดพัทยา แพทย์ซ้อมหน้าถ้ำพรึ่บ หมอภาคย์พร้อม
  15. เปิดตัว 'หมอภาคย์' นายแพทย์นักรบเตรียมมุดน้ำเข้าถ้ำหลวงพร้อมหน่วยซีลช่วย 13 หมูป่า
  16. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/B/BE003_2/56.PDF
  17. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า ๙๒ เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๑๔ ข, ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
  18. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญราชการชายแดน หน้า ๒๓ เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๒๓ ข, ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘

แหล่งข้อมูลอี่น แก้