ภาคตะวันตก (ประเทศไทย)

ภาคของประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก ภาคตะวันตก)

ภาคตะวันตก เป็นภูมิภาคหนึ่งของประเทศไทยในระบบการแบ่งแบบ 6 ภูมิภาคตามคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติ และเป็นภูมิภาคย่อยของภาคกลางของระบบการแบ่งแบบ 4 ภูมิภาค (ซึ่งรวมภาคตะวันออก และภาคตะวันตก) ภาคตะวันตกมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่าทางทิศตะวันตก ติดต่อกับภาคเหนือทางทิศเหนือ ติดต่อกับภาคกลางทางทิศตะวันออก และติดต่อกับภาคใต้ทางทิศใต้ ภาคตะวันตกประกอบไปด้วยจังหวัดเพียง 5 จังหวัด แม้ว่าจะจัดรวมอยู่ในภาคตะวันตก แต่ในภูมิภาคนี้ยังมีความหลากหลาย ตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ซึ่งแตกต่างกันค่อนข้างมาก โดยจังหวัดที่มีขนาดเศรษฐกิจดีที่สุดในภาคตะวันตกคือจังหวัดราชบุรี รองลงมาคือจังหวัดกาญจนบุรี และ ประจวบคีรีขันธ์ ตามลำดับ วัดจากจำนวนGDP

ภาคตะวันตก
อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด
น้ำตกเอราวัณ
ด่านเจดีย์สามองค์
เขื่อนศรีนครินทร์
หาดหัวหิน
ภาคตะวันตกในประเทศไทย
ภาคตะวันตกในประเทศไทย
เมืองใหญ่สุดหัวหิน
จังหวัด
พื้นที่
 • ทั้งหมด53,769 ตร.กม. (20,760 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (พ.ศ. 2558)
 • ทั้งหมด3,381,719 คน
 • ความหนาแน่น63 คน/ตร.กม. (160 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+7 (Thailand)
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

 
แผนที่ภาคตะวันตก กำหนดตามสภาพ.เศรษฐกิจและสังคม โดยคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

การแบ่งภูมิภาคตามราชบัณฑิตยสถาน แบ่งภาคตะวันตกประกอบไปด้วย 5 จังหวัดอย่างเป็นทางการ[1] ตามตารางด้านล่าง นอกจากนี้ ยังมีการจัดแบ่งภูมิภาคตามคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเป็นการแบ่งเพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติ และไม่เป็นทางการ[1] ประกอบไปด้วยจังหวัดตามตาราง ยกเว้นจังหวัดตาก และมีจังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และจังหวัดสมุทรสงครามเพิ่มเข้ามา

ตราประจำ
จังหวัด
ชื่อจังหวัด
อักษรไทย
ชื่อจังหวัด
อักษรโรมัน
จำนวนประชากร
(คน)
พื้นที่
(ตร.กม.)
ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)
  กาญจนบุรี Kanchanaburi 894,054 19,483.2 43.1
  ตาก Tak 525,684 16,406.6 32.0
  ประจวบคีรีขันธ์ Prachuap Khiri Khan 509,134 6,367.6 80.0
  เพชรบุรี Phetchaburi 464,033 6,225.1 74.5
  ราชบุรี Ratchaburi 873,212 5,196.5 161.5

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

ประชากรศาสตร์ แก้

อาชีพ แก้

ประชาชนส่วนใหญ่ปลูกพืชไร่ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง อุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมในครัวเรือน อุตสาหกรรมหนัก กลาง เบา มีมากในจังหวัดราชบุรี[ต้องการอ้างอิง] โดยมีอำเภอบ้านโป่ง เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมและการพาณิชยกรรมในภาคตะวันตก[ต้องการอ้างอิง]

สถิติประชากร แก้

อันดับ จังหวัด จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2558)[2]
จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2557)[3]
จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2556)[4]
จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2555) [5]
จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2554) [6]
จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2553) [7]
1 กาญจนบุรี 882,146 848,198 842,882 838,269 838,914
2 ราชบุรี 867,883 853,217 850,162 846,631 842,684 839,075
3 ตาก 618,382 539,553 532,353 526,045 531,018 525,684
4 ประจวบคีรีขันธ์ 534,719 525,107 520,271 517,050 512,568 509,134
5 เพชรบุรี 478,589 474,192 471,087 468,874 466,079 464,033
รวม 3,381,719 3,240,267 3,216,755 3,196,869 3,191,263 3,177,702

เมืองใหญ่สุด แก้

รายชื่อเมืองใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก 20 อันดับแรก เรียงตามจำนวนประชากร

1 เทศบาลเมืองหัวหิน (ประจวบคีรีขันธ์) 64,202

2 เทศบาลนครแม่สอด(ตาก) 39,261

3 เทศบาลเมืองชะอำ(เพชรบุรี) 38,349

4 เทศบาลเมืองราชบุรี(ราชบุรี) 36,040

5 เทศบาลเมืองกาญจนบุรี(กาญจนบุรี) 29,420

6 เทศบาลเมืองปากแพรก(กาญจนบุรี) 26,584

7 เทศบาลเมืองเพชรบุรี(เพชรบุรี) 20,827

8 เทศบาลเมืองท่าผา(ราชบุรี) 20,113

9 เทศบาลเมืองบ้านโป่ง(ราชบุรี) 17,072

10 เทศบาลเมืองตาก(ตาก) 16,922

11 เทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น(กาญจนบุรี) 11,604

12 เทศบาลเมืองจอมพล(ราชบุรี) 10,622

13 เทศบาลเมืองโพธาราม(ราชบุรี) 9,037

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 การแบ่งภูมิภาคในประเทศไทย
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
  3. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat57.html 2558. สืบค้น 1 มีนาคม 2558.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเนกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๑, ตอน ๔๑ ง , ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗, หน้า ๑
  5. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat55.html 2555. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
  6. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat54.html 2555. สืบค้น 6 เมษายน 2555.
  7. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] เก็บถาวร 2011-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2553. สืบค้น 22 มีนาคม 2554.
  8. ฐานข้อมูลกรมการปกครอง