ฟูริงกะซัน (ญี่ปุ่น: 風林火山โรมาจิふうりんかざんทับศัพท์: Fūrinkazan โดยศัพท์แปลว่า "ลม, ป่า, ไฟ, ภูเขา") เป็นชื่อของธงออกศึกประจำกองทัพของทะเกะดะ ชิงเง็น ไดเมียวและขุนศึกผู้มีชื่อเสียงแห่งยุคเซ็งโกะคุ

ธงฟูริงกะซัน

ลักษณะ แก้

ธงฟูริงกะซันมีลักษณะเป็นธงแบบญี่ปุ่นที่เรียกว่าโนะโบะริ บนธงมีข้อความเขียนด้วยอักษรจีน (คันจิ) เป็นใจความอันมีความหมายว่า "รวดเร็วประหนึ่งสายลม สงบนิ่งประหนึ่งพงไพร จู่โจมว่องไวประหนึ่งเปลวเพลิง หนักแน่นมั่นคงประหนึ่งขุนเขา" ใจความดังกล่าวนี้ อ้างอิงถึงหลักยุทธศาสตร์ในตำราพิชัยสงครามของซุนวู บทที่ 7 ซึ่งมีใจความตามต้นฉบับดังนี้

บทที่ 7 ประโยคที่ 17 :
"故其疾如風,其徐如林"
ด้วยเหตุนี้ จึงมีความเร็วเหมือนลมเพชรหึง เชื่องช้าประหนึ่งแมกไม้ในพงไพร
บทที่ 7 ประโยคที่ 18:
"侵掠如火,不動如山"
ราวีเฉกเช่นไฟประลัยกัลป์ หนักแน่นเล่ห์ปานภูผา
(หมายเหตุ: คำแปลภาษาไทยในที่นี้คัดจากตำราพิชัยสงครามซุนวู ฉบับแปลและเรียบเรียงโดย เสถียร วีรกุล เมื่อ พ.ศ. 2495)

ประวัติ แก้

ตั้งแต่สมัยเอโดะเป็นต้นมาได้มีการใช้ประโยค ๆ นี้เพื่อให้นึกภาพลักษณ์ของกองทัพทาเคดะ เพื่อใช้กระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้น หรือเอาไว้พูดปิดท้ายในสถานการ์ณที่คับขันหรือคลุมเครืออีกด้วย อีกทั้งยังมีคำกล่าวเอาไว้ในบทประพันธ์ของซุนวู เรื่อง บทที่ 7 ที่ได้กล่าวเอาไว้เป็นประโยคบางส่วนเกี่ยวกับเรื่องของการเดินทัพของกองทหารเอาไว้ว่า 「故其疾如風、其徐如林、侵掠如火、難知如陰、不動如山、動如雷霆。」 หรือก็คือ (ว่องไวดั่งสายลม เงียบสงบดั่งผืนป่า ดุดันดั่งไฟ รอบรู้ดั่งเงา มั่งคงดั่งภูเขา เคลื่อนไหวดั่งสายฟ้า) อีกทั้งยังมีกล่าวอ้างอิงเอาไว้อีกดังนี้ (สิ่งที่เรียกว่าสงครามนั้น คือการหลอกล่อศัตรู การเคลื่อนไหวอย่างได้เปรียบ การกระจายตัว การรวมตัว และการเปลี่ยนแปลง) ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถที่จะเปรียบได้กับวลีที่ว่า เคลื่อนไหวว่องไวดั่งสายลม วางกองกำลังได้แนบเนียนดั่งผืนป่า ถึงแม้จะอยู่ใกล้กับศัตรูก็สามารถตรวจจับได้ยาก ฉวยโอกาสโจมตีด้วยพละกำลังดั่งไฟ เคลื่อนไหวออกมาโดยไม่ให้รู้ตัวดั่งเงา ทลายกลยุทธ์เบี่ยงเบนความสนใจอันชาญฉลาดของศัตรูดั่งภูเขา เจาะทะลุทะลวงความคาดหมายของศัตรูโดยไม่ทันตั้งตัวตั้งแต่เริ่มการโจมตีดั่งสายฟ้าฟาด) หรือหมายความว่า ทำให้ศัตรูปั่นป่วนนั่นเอง นอกจากนี้ ในแต่ละตำราก็ยังมีกรณีที่ถูกเขียนในทางตรงกันข้ามระหว่างประโยคที่ว่า จับไม่ได้ดั่งเงา กับ มั่นคงดั่งภูเขาอีกด้วย ทางคุณ โยชิโอะ ทาเคอุจิ นักวิชาการตะวันออก ได้กล่าวเอาไว้ว่า พอมาคิดถึงเนื้อแท้ของมันแล้ว ในประโยคท้ายที่ธงของซุนวู ก็ไม่มีประโยคที่ว่า จับไม่ได้ดั่งเงา

ที่มาที่ไปของธงของ ทาเคดะ ชินเกน แก้

การปรากฏตัวครั้งแรกของวลีนี้นั้น เกิดขึ้นจากการที่ ทาเคดะ ชินเกน ได้สั่งให้ ไคซัน โจวคิ เขียนเอาไว้ที่ธงของกองทัพ ส่วนในเรื่องของธงนี้ถูกสร้างมาตั้งแต่เมื่อไหร่นั้นยังไม่มีใครลงบันทึกเอาไว้จึงไม่มีใครรู้ว่าเริ่มใช้ตั้งแต่เมื่อไหร่แต่ ได้พบในตำราที่ โคโย กุนคัง ได้เขียนกล่าวเอาไว้ว่าเริ่มใช้กันมาตั้งแต่ปี 1561เป็นต้นมา คำวลีนี้ ถือว่าเป็นวลีที่สร้างยุคสมัยเลยทีเดียว เพราะได้มีการตรวจพบธงจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นที่เมืองโคชู วัดจูโปงจิ ศาลเจ้าทาเคดะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่วัดจูโปงจินั้นมีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก 

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้