ฟุตบอลทีมชาติอิหร่าน

ฟุตบอลทีมชาติอิหร่าน (เปอร์เซีย: تیم ملی فوتبال مردان ایران, อักษรโรมัน: Tīm-e Melli-e Fūtbāl-e Mardān-e Īrān) ทางฟีฟ่ายอมรับในฐานะ ไออาร์อิหร่าน (IR Iran)[7] เป็นทีมฟุตบอลประจำชาติอิหร่านที่ลงแข่งขันมาตั้งแต่ ค.ศ. 1941 บริหารโดยสหพันธ์ฟุตบอลอิหร่าน (FFIRI) และอยู่ภายใต้การบริหารของฟีฟ่าที่ทำหน้าที่ดูแลฟุตบอลทั่วโลก และเอเอฟซีที่ทำหน้าที่ดูแลฟุตบอลในทวีปเอเชีย สนามเหย้าของทีมชาติคือสนามกีฬาอะซาดีในเตหะราน

ไออาร์อิหร่าน
Shirt badge/Association crest
ฉายาTeam Melli (เปอร์เซีย: تیم ملی)
ขุนพบแห่งเตหะราน (ฉายาในภาษาไทย)
ชื่อเล่นอื่น ๆ
สมาคมสหพันธ์ฟุตบอลอิหร่าน
สมาพันธ์ย่อยCAFA (เอเชียกลาง)
สมาพันธ์เอเอฟซี (เอเชีย)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนVítězslav Lavička
กัปตันเอฮ์ซอน ฮอจแซฟี
ติดทีมชาติสูงสุดแจวอด เนโคว์นอม (151)
ทำประตูสูงสุดแอลี ดอยี (109)
สนามเหย้าสนามกีฬาอะซาดี
รหัสฟีฟ่าIRN
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 20 Steady (4 เมษายน 2024)[1]
อันดับสูงสุด15 (สิงหาคม ค.ศ. 2005[2])
อันดับต่ำสุด122 (พฤษภาคม ค.ศ. 1996[3])
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติอิหร่าน อิหร่าน 0–0 อัฟกานิสถาน ธงชาติอัฟกานิสถาน
(คาบูล ราชอาณาจักรอัฟกานิสถาน; 25 สิงหาคม ค.ศ. 1941)
ชนะสูงสุด
ธงชาติอิหร่าน อิหร่าน 19–0 กวม ธงชาติกวม
(แทบรีซ ประเทศอิหร่าน; 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 2000)[4]
แพ้สูงสุด
ธงชาติตุรกี ตุรกี 6–1 อิหร่าน ธงชาติอิหร่าน
(อิสตันบูล ประเทศตุรกี; 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1950)[5]
ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 5–0 อิหร่าน ธงชาติอิหร่าน
(โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น; 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1958)[6]
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม6 (ครั้งแรกใน 1978)
ผลงานดีที่สุดรอบแบ่งกลุ่ม (1978, 1998, 2006, 2014, 2018, 2022)
โอลิมปิก
เข้าร่วม3 (ครั้งแรกใน 1964)
ผลงานดีที่สุดรอบรองชนะเลิศ (1976)
เอเชียนคัพ
เข้าร่วม15 (ครั้งแรกใน 1968)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (1968, 1972, 1976)
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชียตะวันตก
เข้าร่วม7 (ครั้งแรกใน 2000)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (2000, 2004, 2007, 2008)

อิหร่านเคยชนะเลิศเอเชียนคัพสามสมัยในปี 1968, 1972 และ 1976 ในขณะที่ผลงานที่ดีที่สุดในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกคือการเข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศในโอลิมปิกฤดูร้อน 1976 ที่มอนทรีออล สำหรับในการแข่งขันฟุตบอลโลก อิหร่านเคยเข้าร่วมการแข่งขันรอบสุดท้ายทั้งหมด 6 ครั้ง (1978, 1998, 2006, 2014, 2018 และ 2022) แต่พวกเขากลับไม่เคยผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออกได้เลยแม้แต่ครั้งเดียว พวกเขาชนะคู่แข่งขันในฟุตบอลโลกเพียงสามครั้งในการพบกับสหรัฐเมื่อปี 1998, โมร็อกโกเมื่อปี 2018 และเวลส์เมื่อปี 2022 อิหร่านเคยเป็นทีมชาติที่มีอันดับสูงสุดในเอเชียระหว่างเดือนธันวาคม ค.ศ. 2014 ถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2018[8]

ผลงาน แก้

ฟุตบอลโลก แก้

สถิติในฟุตบอลโลก สถิติในรอบคัดเลือก
ปี รอบ อันดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ผู้เล่น ผู้จัดการ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย
  1930 ไม่ใช่สมาชิกฟีฟ่า ไม่มีการคัดเลือก
  1934 ไม่ใช่สมาชิกฟีฟ่า
  1938
  1950 ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้เข้าร่วม
  1954
  1958
  1962
  1966
  1970
  1974 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 8 5 1 2 9 6
  1978 รอบแรก อันดับที่ 14 3 0 1 2 2 8 ผู้เล่น Mohajerani 12 10 2 0 20 3
  1982 ถอนตัว ถอนตัว
  1986 ไม่ได้คัดเลือก ไม่ได้คัดเลือก
  1990 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 6 5 0 1 12 5
  1994 11 5 3 3 23 13
  1998 รอบแบ่งกลุ่ม อันดับที่ 20 3 1 0 2 2 4 ผู้เล่น Talebi 17 8 6 3 57 17
   2002 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 14 9 3 2 36 9
  2006 รอบแบ่งกลุ่ม อันดับที่ 25 3 0 1 2 2 6 ผู้เล่น Ivanković 12 9 1 2 29 7
  2010 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 14 5 8 1 15 9
  2014 รอบแบ่งกลุ่ม อันดับที่ 28 3 0 1 2 1 4 ผู้เล่น ไกรอช 16 10 4 2 30 7
  2018 อันดับที่ 18 3 1 1 1 2 2 ผู้เล่น 18 12 6 0 36 5
  2022 อันดับที่ 26 3 1 0 2 4 7 ผู้เล่น 18 14 1 3 49 8
    2026 รอแข่งขัน รอแข่งขัน
รวมทั้งหมด รอบแรก/รอบแบ่งกลุ่ม 6/22 18 3 4 11 13 31 146 92 35 19 316 89

เอเชียนคัพ แก้

  • 1956 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • 1960 - รอบแรก
  • 1964 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • 1968 - ชนะเลิศ
  • 1972 - ชนะเลิศ
  • 1976 - ชนะเลิศ
  • 1980 - อันดับสาม
  • 1984 - อันดับสี่
  • 1988 - อันดับสาม
  • 1992 - รอบแรก
  • 1996 - อันดับสาม
  • 2000 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
  • 2004 - อันดับสาม
  • 2007 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
  • 2011 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
  • 2015 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
  • 2019 - รอบรองชนะเลิศ
  • 2023 - รอบรองชนะเลิศ

อดีตผู้เล่นคนสำคัญ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 4 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2024.
  2. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking - Ranking Table". FIFA.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2015.
  3. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking - Ranking Table". FIFA.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2016.
  4. "Biggest margin victories/losses (Fifa fact-Sheet)" (PDF). FIFA.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 May 2013. สืบค้นเมื่อ 27 November 2013.
  5. "Iran: Fixtures and Results". FIFA.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 June 2007.
  6. "Asian Games 1958 (Tokyo, Japan)". rsssf. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 December 2018. สืบค้นเมื่อ 17 December 2010.
  7. "Member Association - IR Iran". FIFA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2019. สืบค้นเมื่อ 22 June 2021.
  8. "Iran: FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2007. สืบค้นเมื่อ 23 December 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้