ฟุตบอลทีมชาติอินโดนีเซีย

ฟุตบอลทีมชาติอินโดนีเซีย (อินโดนีเซีย: Tim Nasional Sepak Bola Indonesia) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนจากประเทศอินโดนีเซีย ภายใต้การควบคุมของสมาคมฟุตบอลอินโดนีเซีย อินโดนีเซียเป็นชาติแรกในทวีปเอเชียที่เคยร่วมเล่นฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย โดยเล่นในฟุตบอลโลก 1938 แต่ในขณะนั้นยังลงเล่นในฐานะตัวแทนของ ดัตช์อีสต์อินดีส์ ซึ่งเป็นชื่อของอินโดนีเซียในช่วงที่เป็นเมืองขึ้นของเนเธอร์แลนด์ และยังไม่เคยเข้าร่วมฟุตบอลโลกในฐานะประเทศเอกราชจนถึงปัจจุบัน

อินโดนีเซีย
Shirt badge/Association crest
ฉายา
  • เมระฮ์ ปูติฮ์ (แดง-ขาว)
  • ติมการูดา (ทีมครุฑ)
  • ติมนัซ (ทีมชาติ)
สมาคมPSSI
สมาพันธ์ย่อยเอเอฟเอฟ (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
สมาพันธ์เอเอฟซี (เอเชีย)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนเกาหลีใต้ ชิน แท-ยง
กัปตันอัสนาวี มังกัวลัม
ติดทีมชาติสูงสุดอับดุล กาดีร์ (111)[1][2]
ทำประตูสูงสุดอับดุล กาดีร์ (70)[2]
สนามเหย้า
รหัสฟีฟ่าIDN
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 134 เพิ่มขึ้น 8 (4 เมษายน 2024)[4]
อันดับสูงสุด76 (กันยายน ค.ศ. 1997)
อันดับต่ำสุด191 (กรกฎาคม ค.ศ. 2016)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ 7–1 ญี่ปุ่น ธงชาติญี่ปุ่น
(มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์; 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1934)[5][6]
ชนะสูงสุด
ธงชาติอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย 12–0 ฟิลิปปินส์ ธงชาติฟิลิปปินส์
(โซล ประเทศเกาหลีใต้; 21 กันยายน ค.ศ. 1972)
ธงชาติอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย 13–1 ฟิลิปปินส์ ธงชาติฟิลิปปินส์
(จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย; 23 ธันวาคม ค.ศ. 2002)
แพ้สูงสุด
ธงชาติบาห์เรน บาห์เรน 10–0 อินโดนีเซีย ธงชาติอินโดนีเซีย
(อัรริฟาอ์ ประเทศบาห์เรน; 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม1 (ในฐานะ ธงชาติหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์) (ครั้งแรกใน 1938)
ผลงานดีที่สุดKnock Outs
เอเชียนคัพ
เข้าร่วม5 (ครั้งแรกใน 1996)
ผลงานดีที่สุดรอบ 16 ทีมสุดท้าย (2023)

อินโดนีเซียไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการแข่งขันระดับทางการเท่าไรนัก พวกเขาเคยเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนเพียงครั้งเดียวใน ค.ศ. 1956[7] และเข้าร่วมรายการเอเชียนคัพ 4 ครั้งแต่ยังไม่เคยผ่านรอบแบ่งกลุ่ม และคว้าเหรียญทองแดงในเอเชียนเกมส์ 1958 ที่โตเกียว และในระดับภูมิภาค อินโดนีเซียเข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 6 ครั้ง แต่ยังไม่เคยได้แชมป์ อินโดนีเซียมีคู่แข่งคือชาติต่าง ๆ ในสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน โดยเฉพาะมาเลเซีย เนื่องจากเหตุผลทางการเมืองและวัฒนธรรม

ประวัติ แก้

ในยุคแรก ทีมฟุตบอลอินโดนีเซียลงแข่งขันในนาม ดัตช์อีสต์อินดีส์ เนื่องจากหมู่เกาะในภูมิภาคทั้งหมดของอินโดนีเซียในยุคนั้นเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ การแข่งขันนัดแรกที่มีการบันทึกไว้คือการพบทีมชาติสิงคโปร์ในเกมกระชับมิตรกรุงจาการ์ตา ในวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1921 และดัตช์อีสต์อินดีส์ชนะด้วยผลประตู 1–0 ตามด้วยการพบกับออสเตรเลียใน ค.ศ. 1928 (ชนะ 2–1) และเสมอกับทีมจากเซี่ยงไฮ้ (4–4) ในอีกสองปีต่อมา

ใน ค.ศ. 1934 ทีมฟุตบอลของเกาะชวา เป็นตัวแทนของอีสต์อินดีส์ในการแข่งขันกีฬาตะวันออกไกล ที่ประเทศฟิลิปปินส์และคว้าอันดับสองได้ โดยชนะทีมชาติญี่ปุ่นด้วยผลประตูถึง 7–1 ในนัดแรก ตามด้วยการแพ้จีน (0–2) และเจ้าภาพอย่างฟิลิปปินส์ (2–3) และแม้การแข่งขันครั้งนี้จะไม่ได้รับการบันทึกโดยสมาคมฟุตบอลอินโดนีเซีย ทว่าระบบการให้คะแนน Elo ถือว่าเป็นการแข่งขันทางการครั้งแรกของทีมอินโดนีเซีย[8] และทีมดัตช์อีสต์อินดีส์ถือเป็นทีมฟุตบอลทีมแรกของเอเชียที่ได้ร่วมเล่นฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย โดยเข้าร่วมฟุตบอลโลก 1938 ที่แร็งส์ ประเทศฝรั่งเศส ภายหลังจากญี่ปุ่นสละสิทธิ์แข่งขันในรอบคัดเลือก และพวกเขาได้ลงแข่งขันเพียงนัดเดียวโดยแพ้ต่อฮังการีขาดลอย 0–6

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองและการปฏิวัติอินโดนีเซีย ประเทศได้ปลดแอกจากการเป็นอาณานิคมเนเธอร์แลนด์ อินโดนีเซียได้มีทีมฟุตบอลของตนเองอย่างเป็นทางการ และเข้าร่วมการแข่งขันรายการสำคัญคือโอลิมปิกฤดูร้อน 1956 ที่เมลเบิร์น พวกเขาเสมอสหภาพโซเวียต 0–0 และแพ้ 0–4 ในนัดแข่งใหม่ และนั่นเป็นการแข่งขันในโอลิมปิกครั้งเดียวของพวกเขา ถัดมา พวกเขาแข่งขันในฟุตบอลโลก 1958 รอบคัดเลือก เอาชนะจีนในรอบแรก ก่อนจะขอถอนตัวไม่แข่งขันกับอิสราเอลในรอบต่อมาด้วยเหตุผลทางการเมือง และอินโดนีเซียคว้าเหรียญทองแดงในเอเชียนเกมส์ 1958 ที่โตเกียว เอาชนะอินเดีย 4–1 และทีมเริ่มมีการพัฒนาขึ้น โดยสามารถเสมอกับทีมจากยุโรปอย่างเยอรมนีตะวันออก 2–2 ในเกมกระชับมิตร และพวกเขาเริ่มประสบความสำเร็จมากขึ้นด้วยการชนะการแข่งขันเมอร์เดก้า ทัวร์นาเมนท์ 3 สมัย ซึ่งเป็นรายการพิเศษที่จัดขึ้นในมาเลเซียเพื่อรำลึกถึงวันประกาศอิสรภาพ และยังได้แชมป์ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1968 ชนะพม่า 1–0

อินโดนีเซียกลับมาแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกอีกครั้งใน ค.ศ. 1974 แต่ตกรอบแรก โดยชนะเพียงนัดเดียวจากหกนัด และตกรอบแรกอีกครั้งในรอบคัดเลือก ค.ศ. 1978 โดยชนะได้เพียงนัดเดียวจากสี่นัดต่อสิงคโปร์ ก่อนจะทำผลงานได้ดีขึ้นในรอบคัดเลือก ค.ศ. 1982 ชนะได้สองนัด[9] พวกเขามีผลงานที่ดีที่สุดในขณะนั้นด้วยการผ่านเข้ารอบคัดเลือกรอบที่สอง ฟุตบอลโลก 1986 ด้วยผลงานชนะ 4 นัด เสมอ 1 นัด และแพ้ 1 นัดในรอบแรก ก่อนจะแพ้ทีมใหญ่อย่างเกาหลีใต้ในรอบที่สอง ตามด้วยการเข้าถึงรอบรองชนะเลิศเอเชียนเกมส์ 1986 ที่กรุงโซล โดยเอาชนะสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในรอบ 8 ทีมสุดท้าย แต่ไปแพ้เกาหลีใต้ในนัดต่อมา และแพ้คูเวตในนัดชิงอันดับสาม แต่อินโดนีเซียประสบความสำเร็จในระดับภูมิภาคเป็นครั้งแรกด้วยการคว้าเหรียญทองสองสมัยในซีเกมส์ 1987 (ชนะมาเลเซีย 1–0) และ 1991 (ชนะจุดโทษไทย) แต่ล้มเหลวในฟุตบอลโลก 1990 และ 1994 ในรอบคัดเลือกด้วยการชนะนัดเดียวจากหกนัดในทั้งสองครั้ง

อินโดนีเซียเข้าร่วมรายการเอเชียนคัพครั้งแรกใน ค.ศ. 1996 แต่ตกรอบแบ่งกลุ่มโดยไม่ชนะทีมใด และเข้าร่วมครั้งที่สองใน ค.ศ. 2000 ที่ประเทศเลบานอน แต่ก็ตกรอบแรกเช่นเคย ผลงานที่ดีที่สุดของพวกเขาคือ เอเชียนคัพ 2004 ที่ประเทศจีน โดยชนะหนึ่งนัดในรอบแบ่งกลุ่มที่พบกับกาตาร์ (2–1) แต่ตกรอบด้วยการแพ้จีนขาดลอย 0–5 และแพ้บาห์เรน 1–3 ก่อนที่ประเทศอินโดนีเซียจะเป็นเจ้าภาพร่วมกับชาติอื่นอีก 4 ชาติในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2007 แต่ก็ตกรอบแรกอีกครั้ง[10]

ในช่วงทศวรรษ 2000 ทีมเข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียนได้ถึง 4 ครั้ง แต่ได้เพียงรองแชมป์ทั้งหมด ต่อมาใน ค.ศ. 2012 สมาคมฟุตบอลอินโดนีเซียได้รับคำเตือนในกรณีการแบ่งแยกการแข่งขันลีกภายในประเทศ โดยมีการแบ่งการแข่งขันเป็น ลีกาซาตู ซึ่งไม่ได้รับการรับรองสถานะจากสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศและสมาคมในขณะนั้น และการแข่งขันอินโดนีเซียนพรีเมียร์ลีก คณะกรรมการกีฬาแห่งชาติ (KONI) สนับสนุนให้สมาคมแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าวร่วมกับคณะกรรมการฟุตบอลแห่งชาติของอินโดนีเซีย และประธานคณะกรรมการกีฬาแห่งชาติกล่าวว่าจะเข้าควบคุมการบริหารสมาคมหากสมาคมไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้[11] ฟีฟ่ายังไม่มีท่าทีที่ชัดเจนในขณะนั้นว่าจะมีโทษแบนต่อทีมชาติอินโดนีเซียและสมาคมหรือไม่

ในวันที่ 20 มีนาคม 2012 ฟีฟ่าแถลงว่าสมาคมฟุตบอลอินโดนีเซียไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้และฟีฟ่าจะนำเรื่องนี้เข้าสู่วาระการประชุมสภาเพื่อหาข้อสรุป[12] และฟีฟ่าได้ขยายเวลาการแก้ปัญหาให้แก่สมาคมไปจนถึงเดือนมิถุนายน หากไม่สำเร็จ คดีนี้จะถูกส่งต่อไปยังคณะกรรมการฉุกเฉินของฟีฟ่าเพื่อระงับการแข่งขัน[13] และมีการกำหนดเส้นตายใหม่อีกครั้งเป็นวันที่ 1 ธันวาคม 2012 และในช่วงสองสัปดาห์สุดท้ายก่อนครบกำหนด คณะกรรมการหลักสามในสี่คนของสมาคมฟุตบอลอินโดนีเซียได้ลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากผิดหวังในการจัดการแก้ปัญหาของสมาคม อย่างไรก็ตาม ฟีฟ่าแถลงว่าจะกำหนดบทลงโทษทีมชาติอินโดนีเซียภายหลังจากเสร็จสิ้นฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2012 ซึ่งอินโดนีเซียตกรอบแบ่งกลุ่ม

ใน ค.ศ. 2013 ดจฮาร์อาริฟิน ฮูซิน ประธานของสมาคมฟุตบอลได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับ La Nyalla Mahmud Mattalitti ผ่านสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ส่งผลให้การแข่งขัน ลีกาซาตู ถูกควบคุมโดยคณะกรรมการฟุตบอลแห่งชาติของอินโดนีเซีย จนกว่าจะมีการก่อตั้งการแข่งขันรายการใหม่ หมายความว่า ผู้เล่นจากลีกาซาตูสามารถร่วมแข่งขันในนามทีมชาติชุดใหญ่ได้ และสมาคมได้เรียกผู้เล่นจากทั้งสองลีก (ลีกาซาตู และพรีเมียร์ลีก) ในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2015 รอบคัดเลือก

เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2013 สมาคมฟุตบอลได้จัดการประชุมที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ร่วมกับตัวแทนของคณะกรรมการฟุตบอลแห่งชาติ ในการประชุมดังกล่าวประกอบไปด้วย 4 วาระสำคัญได้แก่ การรวมตัวของสองลีก; การแก้ไขกฎเกณฑ์ของสมาคม; การคืนสถานะของสมาชิกคณะกรรมการบริหารสมาคมที่ถูกไล่ออก และข้อตกลงของทุกฝ่ายในบันทึกความเข้าใจที่ลงนามร่วมกัน ราฮ์มัด ดาร์มาวัน ทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนรักษาการทีมชาติชุดใหญ่ โดยมี แจ็คเซน เอฟ. ติอาโก เพื่อนสนิทของเขาเป็นผู้ช่วย และอินโดนีเซียแพ้ต่อซาอุดีอาระเบีย 1–2 ในเอเชียนคัพรอบคัดเลือก พวกเขาได้ประตูจาก โบอาส โซลอซซา

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2015 สมาคมฟุตบอลอินโดนีเซียได้รับโทษโดยถูกสั่งระงับการแข่งขันทุกรายการของฟีฟ่า สืบเนื่องจากการแทรกแซงของรัฐบาลในการจัดการแข่งขันลีกซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังมาหลายปี โทษแบนดังกล่าวมีผลบังคับใช้ทันที ส่งผลให้อินโดนีเซียถูกตัดสิทธิ์การแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก และเอเชียนคัพ 2019 รอบคัดเลือก ยิ่งไปกว่านั้น ฟีฟ่ายังมีบทลงโทษเพิ่มเติม สืบเนื่องจากข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลท้องถิ่นและสมาคมฟุตบอลอินโดนีเซียส่งผลให้มีการยกเลิกการแข่งขันในประเทศ[14] ทว่าบทลงโทษดังกล่าวถูกยกเลิกในการประชุมสามัญครั้งที่ 66 ของฟีฟ่า อินโดนีเซียยังได้รับสิทธิ์แข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2016 ซึ่งพวกเขาเข้าชิงชนะเลิศเป็นครั้งที่ 5 แต่ก็แพ้ทีมชาติไทยอีกครั้ง[15]

ลุยส์ มิลลา ผู้ฝึกสอนชาวสเปนได้รับการแต่งตั้งเพื่อนำทีมแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2018 แต่เขาได้ลาออกภายในเวลาอันสั้นโดยไม่ได้ให้เหตุผลใด ๆ สร้างความไม่พอใจให้แก่กลุ่มผู้สนับสนุนอย่างมาก บิมา ซักติ เข้ามารักษาการแต่ทีมก็ตกรอบแรกในการแข่งขัน ไซมอน แมคเมเนมี ผู้ฝึกสอนชาวสกอตแลนด์ได้รับการแต่งตั้งให้คุมทีมเพื่อเตรียมแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก ด้วยความคาดหวังว่าผลงานของทีมจะดีขึ้น เนื่องจากแมคเมเนมีทำผลงานได้ดีในการคุมทีมชาติฟิลิปปินส์ โดยอินโดนีเซียอยู่ร่วมกลุ่มกับชาติคู่แข่งในอาเซียนอย่าง ไทย, เวียดนาม และคู่ปรับสำคัญ มาเลเซีย ทว่าพวกเขามีผลงานย่ำแย่ รวมถึงการแพ้คาบ้านต่อมาเลเซีย 2–3 ทั้งที่ออกนำไปก่อน 2–1 ตามด้วยการแพ้เวียดนามในบ้านตนเองเป็นครั้งแรกในการแข่งขันระดับทางการ ส่งผลให้แมคเมเนมีถูกปลด[16] อินโดนีเซียตกรอบอย่างเป็นทางการหลังจากบุกไปพ่ายมาเลเซีย 0–2[17] และทีมมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง โดยแต่งตั้ง ชิน แท-ยง อดีตผู้ฝึกสอนทีมชาติเกาหลีใต้เข้ามาเป็นผู้ฝึกสอน โดยสมาคมฟุตบอลอินโดนีเซียยึดแนวทางของทีมชาติเวียดนามในการแต่งตั้ง พัก ฮัง-ซอ เป็นผู้ฝึกสอน[18]

ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2020 ผ่านเข้าชิงชนะเลิศในรายการนี้เป็นครั้งที่ 6 และเป็นครั้งที่ 4 ที่พบทีมชาติไทยในรอบชิงชนะเลิศ ทว่าพวกเขาแพ้ทีมชาติไทยด้วยผลประตูรวมสองนัด 2–6 ทำได้เพียงการเป็นรองแชมป์สมัยที่ 6

สนามแข่ง แก้

 
สนามกีฬาหลักเกอโลราบุงการ์โน

ทีมชาติอินโดนีเซียมักลงแข่งขันที่ สนามกีฬาหลักเกอโลราบุงการ์โน เป็นหลัก ตั้งอยู่ภายใน เกอโลรา บุงการ์โน สปอร์ต คอมเพล็กซ์ ใจกลางกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ความจุกว่า 77,000 ที่นั่ง และยังสามารถขยายความจุได้อีกในรายการอื่น ๆ สนามแห่งนี้ยังถูกใช้ในเอเชียนคัพ 2007 รอบชิงชนะเลิศ และเคยได้รับการจัดอันดับเป็นสนามฟุตบอลที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 7 ของโลก

อินโดนีเซียมีแผนจะใช้สนาม "จาการ์ตาบีเอ็มดับเบิลยูสเตเดียม" เป็นสนามเหย้าแห่งใหม่ซึ่งได้รับการออกแบบให้มีหลังคาแบบเปิด-ปิดได้ และจะมีความจุ 82,000 ที่นั่ง โดยจะกลายเป็นสนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย แต่เดิมสนามมีหนดการเปิดใช้งานในเดือนธันวาคม 2021 แต่จากการระบาดของ ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์โอมิครอน ส่งผลให้แผนดังกล่าวถูกเลื่อนไปเป็นเดือนกุมภาพันธ์ 2022[19]

ผลงาน แก้

ฟุตบอลโลก แก้

  • 1930, 1934, 1954 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • 1938 - รอบแรก (ในนาม ดัตช์อีสต์อินดีส)
  • 1950, 1958, 1962 - ถอนตัว
  • 1966, 1970 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • 1974 - 2014 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 2018 - ถูกตัดสิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันจากทางฟีฟ่า
  • 2022 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก

เอเชียนคัพ แก้

  • 1956 - 1964 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • 1968 - 1992 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 1996 - 2004 - รอบแรก
  • 2007 - รอบแรก (เจ้าภาพร่วม)
  • 2011 - 2015 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 2019 - ถูกตัดสิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันจากทางฟีฟ่า
  • 2023 - รอบ 16 ทีมสุดท้าย

อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ แก้

  • 1996 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
  • 1998 - อันดับ 3
  • 2000 - รองชนะเลิศ
  • 2002 - รองชนะเลิศ
  • 2004 - รองชนะเลิศ
  • 2007 - รอบแรก
  • 2008 - รอบแรก
  • 2010 - รองชนะเลิศ
  • 2012 - รอบแรก
  • 2014 - รอบแรก
  • 2016 - รองชนะเลิศ
  • 2018 - รอบแรก
  • 2020 - รองชนะเลิศ
  • 2022 - รอบรองชนะเลิศ

ผลงานอื่น แก้

  • ซีเกมส์ - ชนะเลิศ 2 ครั้ง - 1987 (จาการ์ตา), 1991 (มะนิลา)
  • คิงส์คัพ - ชนะเลิศ 1 ครั้ง ใน คิงส์คัพ ครั้งที่ 1 (2511)

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน แก้

รายชื่อผู้เล่น 23 คนที่ถูกเรียกตัวในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2022 ระหว่างวันที่ 20 ธันวาคม 2565 – 16 มกราคม 2566[20]

จำนวนนัดที่ลงเล่นให้ทีมชาติและจำนวนประตูที่ยิงได้นับถึงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2565 หลังแข่งขันกับ   กูราเซา

0#0 ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร
22 1GK Nadeo Argawinata (1997-03-09) 9 มีนาคม ค.ศ. 1997 (27 ปี) 15 0   บาหลี ยูไนเต็ด
1 1GK Muhammad Riyandi (2000-01-03) 3 มกราคม ค.ศ. 2000 (24 ปี) 5 0   เปอร์ซิซ โซโล
20 1GK Syahrul Fadil (1995-10-26) 26 ตุลาคม ค.ศ. 1995 (28 ปี) 3 0   เปอร์ซีกาโบ 1973

19 2DF Fachruddin Aryanto (กัปตันทีม) (1989-02-19) 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1989 (35 ปี) 51 4   มาดูรา ยูไนเต็ด
12 2DF Pratama Arhan (2001-12-21) 21 ธันวาคม ค.ศ. 2001 (22 ปี) 22 3   โตเกียว เวอร์ดี
14 2DF Asnawi Mangkualam (1999-10-04) 4 ตุลาคม ค.ศ. 1999 (24 ปี) 21 1   อันซันกรีเนอส์
16 2DF Hansamu Yama (1995-01-16) 16 มกราคม ค.ศ. 1995 (29 ปี) 18 2   เปอร์ซีจาจาการ์ตา
5 2DF Rizky Ridho (2001-11-21) 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2001 (22 ปี) 15 0   เปอร์เซบายา ซูราบายา
3 2DF Edo Febriansah (1997-07-25) 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1997 (26 ปี) 7 0   เอร์อาเอ็นเอ็ซ นูซันตารา
4 2DF Jordi Amat (1992-03-21) 21 มีนาคม ค.ศ. 1992 (32 ปี) 0 0   โจโฮร์ดารุลตักซิม

3MF Rachmat Irianto (รองกัปตันทีม) (1999-09-03) 3 กันยายน ค.ศ. 1999 (24 ปี) 22 3   เปอร์ซิบ บันดุง
3MF Witan Sulaeman (2001-10-08) 8 ตุลาคม ค.ศ. 2001 (22 ปี) 20 6   AS Trenčín
3MF Ricky Kambuaya (1996-05-05) 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1996 (27 ปี) 19 5   เปอร์ซิบ บันดุง
3MF Saddil Ramdani (1999-01-02) 2 มกราคม ค.ศ. 1999 (25 ปี) 13 1
3MF Syahrian Abimanyu (1999-04-25) 25 เมษายน ค.ศ. 1999 (24 ปี) 9 0   เปอร์ซีจาจาการ์ตา
3MF Marselino Ferdinan (2004-09-09) 9 กันยายน ค.ศ. 2004 (19 ปี) 7 1   เปอร์เซบายา ซูราบายา
3MF Marc Klok (1993-04-20) 20 เมษายน ค.ศ. 1993 (31 ปี) 5 2   เปอร์ซิบ บันดุง
3MF Yakob Sayuri (1997-09-22) 22 กันยายน ค.ศ. 1997 (26 ปี) 3 0   เปเอ็ซเอ็ม มากัซซาร์

4FW Egy Maulana (2000-07-07) 7 กรกฎาคม ค.ศ. 2000 (23 ปี) 13 3
4FW Muhammad Rafli (1998-11-24) 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1998 (25 ปี) 8 0   อาเรมา
4FW อิลิยา สปาซอเยวิช (1987-09-11) 11 กันยายน ค.ศ. 1987 (36 ปี) 2 3   บาหลี ยูไนเต็ด
4FW Dendy Sulistyawan (1996-10-12) 12 ตุลาคม ค.ศ. 1996 (27 ปี) 2 1   บายังการา
4FW Ramadhan Sananta (2002-11-27) 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 (21 ปี) 2 0   เปเอ็ซเอ็ม มากัซซาร์

อ้างอิง แก้

  1. FIFA Century Club - 1 December 2021, FIFA.
  2. 2.0 2.1 Abdul Kadir - Century of International Appearances - RSSSF.
  3. Raya, Mercy. "Timnas Indonesia Akan Pakai Jakarta International Stadium". sepakbola (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2021-10-02.
  4. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 4 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2024.
  5. "Dutch East Indies International matches". สืบค้นเมื่อ 19 November 2015.
  6. "Indonesia matches, ratings and points exchanged". World Football Elo Ratings: Indonesia. สืบค้นเมื่อ 24 November 2019.
  7. "Indonesia International Matches". www.rsssf.com.
  8. "World Football Elo Ratings". www.eloratings.net (ภาษาอังกฤษ).
  9. "Indonesia International Matches". www.rsssf.com.
  10. Says, Jtxno12 (2010-12-16). "Indonesia National Football Team". Simple More (ภาษาอังกฤษ).
  11. "PSSI warn against Indonesian government plans to take over embattled body | Goal.com". www.goal.com.
  12. "Yahoo Malaysia | News and Lifestyle". Yahoo Malaysia | News and Lifestyle (ภาษาอังกฤษ).
  13. "FIFA.com - FIFA Executive Committee agrees major governance reforms & Ethics structure". web.archive.org. 2012-04-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-01. สืบค้นเมื่อ 2021-12-29.
  14. "Indonesian FA suspended by FIFA for government meddling". Eurosport (ภาษาอังกฤษ). 2015-05-30.
  15. "Indonesia Tops the Anticlimax as Thailand Wins the 2016 AFF Cup". Jakarta Globe.
  16. Post, The Jakarta. "PSSI fires national team coach McMenemy over 'unsatisfactory performance'". The Jakarta Post (ภาษาอังกฤษ).
  17. "Fox Sports". www.foxsports.com.my. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-30. สืบค้นเมื่อ 2021-12-29.
  18. "Shin Tae-yong Merasa Tak Masalah Jika Indonesia Gagal Juara Piala AFF 2020 - Berita Bola Terupdate, Live Score, Jadwal & Klasemen - Football5star.com". football5star.com (ภาษาอินโดนีเซีย).
  19. Raya, Mercy. "Timnas Indonesia Akan Pakai Jakarta International Stadium". sepakbola (ภาษาอินโดนีเซีย).
  20. "Daftar 23 Nama Pemain Timnas Indonesia Untuk Piala AFF 2022". PSSI (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2022-12-19.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้