ฟรีดริช เพาลุส

นายพลชาวเยอรมัน

ฟรีดริช วิลเฮ็ล์ม แอ็นสท์ เพาลุส (เยอรมัน: Friedrich Wilhelm Ernst Paulus; 23 กันยายน 1890 - 1 กุมภาพันธ์ 1957) เป็นนายทหารบกชาวเยอรมัน และได้รับยศจอมพลระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

ฟรีดริช วิลเฮ็ล์ม แอ็นสท์ เพาลุส
จอมพลฟรีดริช เพาลุส ในเครื่องแบบพลเอก (มิถุนายน ค.ศ. 1942)
เกิด23 กันยายน 1890
กุคส์ฮาเกิน, จักรวรรดิเยอรมัน
เสียชีวิต1 กุมภาพันธ์ 1957
เดรสเดิน เยอรมนีตะวันออก
รับใช้ เยอรมนี (ถึง 1918)
 เยอรมนี (ถึง 1933)
 ไรช์เยอรมัน (ถึง 1943)
 เยอรมนีตะวันออก
ประจำการ1910 - 1943
ชั้นยศ จอมพล
บังคับบัญชากองทัพที่ 6
การยุทธ์สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

สงครามโลกครั้งที่สอง

บำเหน็จกางเขนอัศวินติดใบโอ็ค
ลายมือชื่อ

ภูมิหลัง แก้

ฟรีดริช เพาลุส เป็นบุตรของเหรัญญิก เกิดที่กึซฮาเกิน (Guxhagen) และเติบโตที่คัสเซิล (Kassel)[1] ในตอนแรกเขาสมัครเข้าโรงเรียนนายเรือจักรวรรดิเยอรมัน แต่ถูกปฏิเสธ เขาจึงเข้าเรียนวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยมัคเดอบวร์ค เขาเรียนได้เพียงหนึ่งภาคเรียนก็ลาาอก แล้วในเดือนกุมภาพันธ์ 1910 สมัครเป็นนักเรียนนายร้อย (Fahnenjunker) ในกรมทหารราบที่ 111

สงครามโลกครั้งที่สอง แก้

เพสลุสมีชื่อเสียงจากการบังคับบัญชาการบุกสตาลินกราดของกองทัพที่ 6 เพาลุสยอมจำนนต่อกองกำลังโซเวียตในสตาลินกราดเมื่อวันที่ 31 มกราคม 1943 เพียงหนึ่งวันให้หลังเขาได้รับการเลื่อนยศเป็นจอมพล ฮิตเลอร์คาดหวังให้เพาลุสฆ่าตัวตาย เห็นได้จากการที่ไม่เคยมีจอมพลเยอรมันคนใดเคยถูกจับเป็น

ขณะที่เพสลุสอยู่ในการควบคุมตัวของสหภาพโซเวียต เพาลุสกลายมาเป็นนักวิจารณ์ระบอบนาซีและเข้าร่วมคณะกรรมาธิการแห่งชาติเพื่อการปลดปล่อยเยอรมนีซึ่งสหภาพโซเวียตให้การสนับสนุน เพาลุสได้รับการปล่อยตัวในปี 1953

ยศทหาร แก้

  • ตุลาคม 1910 : นักเรียนทำการนายร้อย (Fähnrich)
  • สิงหาคม 1911 : ร้อยตรี (Leutnant)
  • สิงหาคม 1915 : ร้อยโท (Oberleutnant)
  • กันยายน 1918 : ร้อยเอก (Hauptman)
  • กุมภาพันธ์ 1929 : พันตรี (Major)
  • มิถุนายน 1933 : พันโท (Oberstleutnant)
  • มิถุนายน 1935 : พันเอก (Oberst)
  • มกราคม 1939 : พลตรี (Generalmajor)
  • สิงหาคม 1940 : พลโท (Generalleutnant)
  • มกราคม 1942 : พลเอกทหารยานเกราะ (General der Panzertruppe)
  • พฤศจิกายน 1942 : พลเอกอาวุโส (Generaloberst)
  • มกราคม 1943 : จอมพล (Generalfeldmarschall)

อ้างอิง แก้

  1. Königlich Preußischer Staatsdienst-Kalender für den Regierungsbezirk Cassel auf das Jahr 1890/91. Reformirtes Waisenhaus, Cassel 1891, p. 249 (Corrections- und Landarmen-Anstalt zu Breitenau. ORKA).