พูดคุย:โลกิยนิยม

ความคิดเห็นล่าสุดเมื่อ: 3 ปีที่แล้ว โดย Potapt ในหัวข้อ secularism / secular

secularism / secular แก้

ประเด็นนี้คือจะตั้งชื่อบทความและใช้คำหลักในเนื้อหาว่าอย่างไร ส่วนคำอื่น ๆ ที่มีความหมายคล้ายกันก็อาจอธิบายในส่วนเนื้อหาได้ --octahedron80 11:41, 27 มกราคม 2553 (ICT)

  1. ตามบาลี "ฆราวาส" แปลว่าผู้ครองเรือน
    ถ้านิยมเป็นฆราวาสก็ไม่ได้หมายความว่าไม่นับถือศาสนาแต่อย่างไร ผู้ครองเรือนก็ยังสามารถมีฆราวาสธรรมได้
    ด้วยเหตุนี้ไปค้นราชบัณฑิตมา ได้แต่เพียง secularlization = การแยกฝ่ายอาณาจักรออกจากฝ่ายศาสนจักร ก็ยังไม่ตรงกับที่ต้องการในบทความนี้อีก
    จึงรบกวน
    ขอแหล่งอ้างอิง/เหตุผลการใช้ ฆราวาสนิยม
    ถ้าไม่ปรากฏแหล่งอ้างอิงดังกล่าว ขอเสนอว่าใช้ "การไม่นับถือศาสนา" หรือคำง่าย ๆ ในทำนองเดียวกันก็น่าจะเพียงพอแล้ว
    --taweethaも 09:51, 25 มกราคม 2553 (ICT)
  2. การบัญญัติศัพท์ การสร้างคำใหม่ เป็นงานค้นคว้าต้นฉบับ ตาม วิกิพีเดีย:งดงานค้นคว้าต้นฉบับ--58.8.111.102 10:26, 25 มกราคม 2553 (ICT)
  3. “Secularism” ไม่ได้หมายถึงระบบการปกครองที่ไม่นับถือศาสนา แต่เป็นปรัชญาการปกครองที่สนับสนุนการแยกระหว่างสถาบันศาสนา และ สถาบันทางการเมือง หรือในอีกแง่หนึ่งเป็นปรัชญาที่ว่าการปกครองทางการเมืองควรจะเป็นการปกครองโดยพลเรือนเพื่อที่จะไม่ให้มีอคติจากอิทธิพลทางสถาบันศาสนา ฉะนั้นคำทำนอง “การไม่นับถือศาสนา” จึงเป็นการใช้ที่ไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม “Secular” ในภาษาอังกฤษก็หมายถึงสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา เช่นในการใช้ว่า “Secular building” (สิ่งก่อสร้างอื่นๆ ที่ไม่ใช่ศาสนสถาน - “ฆราวัสสถาน” ?!!) ซึ่งเป็นคำที่เป็นปัญหาในการแปลมากเพราะยังไม่พบภาษาไทยที่เป็นคำเดี่ยว หรือ กะทัดรัดโดยไม่ต้องให้คำอธิบายอย่างเยิ่นเย้อได้ --Matt 10:45, 25 มกราคม 2553 (ICT)
  4. ถ้ายังไม่มีคำไทยที่เหมาะสมก็คงต้องคงชื่อภาษาอังกฤษไปก่อน
    --octahedron80 11:33, 25 มกราคม 2553 (ICT)
  5. ใช้ "ฆราวาสนิยม" ก็ไม่เห็นผิดนะ
    1. หมายความว่า นิยมฆราวาส ไง (คือ ไม่นิยมศาสนจักร)
    2. เช่น
      1. รัฐธรรมนูญฝรั่งเศสฉบับปัจจุบัน
        1. ARTICLE PREMIER. La France est une République indivisible, laïque, démocratique et sociale. Elle assure l'égalité devant la loi de tous les citoyens sans distinction d'origine, de race ou de religion. Elle respecte toutes les croyances. Son organisation est décentralisée.
        2. Article 1. France shall be an indivisible, secular, democratic and social Republic. It shall ensure the equality of all citizens before the law, without distinction of origin, race or religion. It shall respect all beliefs. It shall be organised on a decentralised basis.
        3. มาตรา ๑ ฝรั่งเศสเป็นสาธารณรัฐอันหนึ่งอันเดียวแบ่งแย่งมิได้ เป็นฆราวาส และเป็นประชาธิปไตยสังคมนิยม รัฐต้องประกันให้พลเรือนมีความเสมอภาคภายในกฎหมาย โดยไม่แบ่งแยกเหล่ากำเนิด เชื้อชาติ หรือศาสนา รัฐต้องเคารพความเชื่อทั้งหลาย ให้จัดระเบียบรัฐบนพื้นฐานของการกระจายอำนาจ
      2. รัฐธรรมนูญญี่ปุ่นฉบับปัจจุบัน
        1. Article 20.
          1. Freedom of religion is guaranteed to all. No religious organization shall receive any privileges from the State, nor exercise any political authority.
          2. No person shall be compelled to take part in any religious act, celebration, rite or practice.
          3. The State and its organs shall refrain from religious education or any other religious activity.
        2. มาตรา ๒๐
          ๑. บุคคลย่อมมีเสรีภาพทางศาสนา รัฐจะจัดให้องต์การทางศาสนามีเอกสิทธิ์หรืออำนาจทางการเมืองมิได้
          ๒. การบังคับให้บุคคลเข้าร่วมการกระทำ การเฉลิมฉลอง พิธีกรรม หรือวัตรปฏิบัติทางศาสนา จะกระทำมิได้
          ๓. ห้ามมิให้รัฐและองค์กรของรัฐจัดการศึกษาทางศาสนาหรือเข้าร่วมกิจกรรมอื่นใดทางศาสนา
        3. Article 89. No public money or other property shall be expended or appropriated for the use, benefit or maintenance of any religious institution or association, or for any charitable, educational or benevolent enterprises not under the control of public authority.
        4. มาตรา ๘๙ ห้ามมิให้จ่ายหรือจัดเงินหรือทรัพย์สินอื่นของสาธารณะเพื่อใช้ เพื่อประโยชน์ หรือเพื่อการทะนุบำรุงสำหรับสถาบันหรือสมาคมใด ๆ ทางศาสนา หรือเพื่อวิสาหกิจใด ๆ ทางการกุศลหรือการศึกษา บรรดาที่มิได้อยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
    3. ประกอบกับตอนนี้กำลังเรียนกฎหมายรัฐธรรมนูญพอดี มีคำ "secular state" ในหนังสือว่า "รัฐฆราวาส" หมายความว่า รัฐที่ไม่นิยมให้ศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องกับการปกครอง หรือไม่ส่งเสริมศาสนาเลย เช่น ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส ดังกล่าวข้างต้นเนี่ยแหละ ต่างจากประเทศไทยที่เป็นรัฐศาสนนิยม ทำให้หลาย ๆ ครั้งองค์กรทางศาสนาเข้ามายุ่งเกี่ยวทางการปกครองมาก เช่น เวลาแก้รัฐธรรมนูญทีไร พระก็ออกมาประท้วงให้บัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติทุกที หรือบางทีพระก็ออกมาเดินขบวนประท้วงรัฐบาลหรือขอให้ช่วยเรื่องตั้งเจ้าอาวาส ฯลฯ
    4. หรือจะใช้ว่า "อาณาจักรนิยม" (แต่ก็ไม่เห็นเกี่ยวกะคำ secular เลยนะ)
      1. ค่ะมีความเห็นเหมือนกันว่าไม่เกี่ยวกับ Secular เท่าไหร่ และการใช้ “อาณาจักรนิยม” ก็คิดว่าไม่ได้เพราะถ้าหันไปดูการใช้คำว่า “อาณาจักร” (คำกำกวม) ก็จะทราบว่าเป็นคำที่ใช้ได้ทั้งทางอาณาจักรทางศาสนาและทางโลก ถ้าจะใช้คำว่า “อาณาจักรนิยม” ก็กลายเป็นคำที่ไม่มีความหมายไป --Matt 13:27, 25 มกราคม 2553 (ICT)
    5. อย่างไรก็ดี เหมือนกับเคยเห็นคนแปล "secular state" ว่า "รัฐที่เป็นกลางทางศาสนา"
      1. ที่แปล "secular state" ไว้ว่า "รัฐที่เป็นกลางทางศาสนา" อันนี้ก็ไม่ค่อยถูกเท่าไหร่เพราะ "secular state" หมายถึงรัฐที่เพียงแต่ปกครองโดยสถาบันที่ไม่ใช่สถาบันศาสนาเท่านั้น ถ้าแปลดังที่กล่าวก็จะเป็นนัยยะว่ามีความเป็นกลางทางศาสนาซึ่งอาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้ จึงน่าจะแปลว่า "ฆราวัสจักร" เสียมากกว่า จะได้เป็นตระกูลเดียวกันอะไรทั้งหลายที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า Secular ให้หมด --Matt 13:28, 25 มกราคม 2553 (ICT)
    6. "การไม่นับถือศาสนา" มีแล้วที่ "อศาสนา" หรือ "irreligion"
    —— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๐๑.๒๕, ๑๒:๐๘ นาฬิกา (ICT)
  6. เมื่อกี้แก้ชนกัน เอามารวมกันเลยดีเดียวนะครับ
    1. เห็นด้วยตามคุณ Mattis และคุณ Clumsy เรื่องระบบการปกครอง ผมเผลอไปคิดถึงคำว่า secular ที่ใช้กับคน มันก็จะแปลว่าคนนั้นไม่นับถือศาสนา ซึ่งไม่ใช่ความหมายในกรณีนี้
    2. เนื่องจากว่าเป็นความคิดในทางรัฐศาสตร์ ใช้ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตไปเลยจะได้ไหมครับ ศัพท์บัญญัติข้างต้นก็มาจากสาขารัฐศาสตร์ หรือถ้าจะใช้คำว่าฆราวาสอย่างในปัจจุบัน กรุณาใส่แหล่งอ้างอิงลงไปที่เฉพาะเจาะจง หรือใส่ [ต้องการอ้างอิง] ไว้ก่อน
    3. คำว่า ฆราวัสสถาน ยิ่งน่าสนใจกว่า ฆราวาสนิยม อีกครับ ผมอยากทราบเหตุหรือที่มาของการใช้คำว่า ฆราวาส แทน secular เดาเอาว่าผู้ใช้คำนี้คิดว่ามันตรงข้ามกับคำว่าสงฆ์ อย่างนั้นเหรอครับ ผมไม่คิดว่าสองคำนี้เป็นคำตรงข้ามกัน เพราะสงฆ์ ตามรูป แปลว่าหมู่ต่างหาก และในบริบทหลายๆ อย่างก็จะเห็นว่าฆราวาสกับสงฆ์พึ่งพาอาศัยกันเสียมากกว่าภายใต้ศาสนาเดียวกัน สิ่งที่ตรงข้ามกับสงฆ์จริงๆ เห็นจะเป็น เดียรถีย์ แต่ก็ไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า secular
    --taweethaも 12:14, 25 มกราคม 2553 (ICT)
  7. ในบทความ อศาสนา มีการแปล secular humanism ว่า โลกียมนุษยนิยม ถ้างั้นเราลองเลียนแบบ ใช้คำว่า โลกียนิยม แทน secularism ดีไหม เพราะยังไงเสีย คนที่เขียนบทความอศาสนาก็เป็นคุณคนเดียวกัน ทำไมไม่ใช้คำให้เป็นไปในทางเดียวกัน (secular = โลกีย = ในทางโลก) --octahedron80 12:24, 25 มกราคม 2553 (ICT)
  8. ใครจะไปจำได้ว่าเคยใช้อะไร (พิสดาร ๆ) ไปบ้าง 555 แต่ "secular" ความหมายหนึ่งมันแปลว่าทางโลกง่ะ เลยแปล "secular humanism" ว่า "โลกียมนุษยนิยม" ซึ่งก็ตรงกับความหมายของคำนะ (หรือเปล่า 55) แต่จะแปล "secularism" ว่า "โลกียนิยม" หรืออะไรก็แล้วตกลงกัน ข้าพเจ้าเพียงมาเสนอความเห็นหนึ่ง
    คุณ taweethaも ไม่จำต้องใช้ความหมายต้นตอก็ได้ (สงฆ์ แปลว่า หมู่ เป็นต้น) คำนึงถึงความหมายแห่งภาษาใด ๆ ที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงทางบริบทสำหรับสังคมหนึ่ง ๆ มาแล้วน่าจะเหมาะกว่านะ (สงฆ์ แปลว่า ภิกษุ) เช่น "กระฎุมพี" ต้นตอของคำแปลว่า "คนมั่งมี" แต่ในภาษาไทยแปลว่า "คนชั้นต่ำ" ดังนี้ จะถือเอาความหมายต้นตอกระนั้นฤๅ
    —— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๐๑.๒๕, ๑๒:๔๔ นาฬิกา (ICT)
  9. ดิฉันขยายความในบทความ “ฆราวาสนิยม” ให้นิดหนึ่งเพื่อช่วยเพิ่มความเข้าใจขึ้นบ้าง และเห็นด้วยกับคุณ Clumsy ว่าการจะใช้คำว่า “ฆราวาสนิยม” ก็ใกล้เคียง
    1. ฆราวาส” ตามความหมายของอาจารย์เปลื้อง ณ นคร ใน “พจนะ-สารานุกรม ฉบับทันสมัย พ.ศ. 2518” ให้ไว้ว่า “คนผู้อยู่ครองเรือน, คนที่ไม่ใช่นักบวช” ซึ่งก็สรุปว่าตรงกันข้ามกับ นักบวช --Matt 13:29, 25 มกราคม 2553 (ICT)
    2. ถ้าเรื่องนี้มีแต่บทความนี้การทับศัพท์ก็ไม่เป็นปัญหาเท่าไหร่ แต่อยากจะนำคำทับศัพท์นี้ไปใช้กับบทความอื่นก็จะกระโดกกระเดกอยู่หน่อย และไม่เป็นที่เข้าใจได้โดยทั่วไป
    3. ไม่ทราบว่าผู้ใช้คนแรกเลือกใช้ “ฆราวาส” อย่างใดแต่ถ้าให้เดาก็คิดว่าใช้เพื่อให้แยกจากคำว่า “สงฆ์” ตามการใช้โดยทั่วไปในภาษาอังกฤษแล้วก็น่าจะใกล้เคียงกับคำว่า “secular” ซึ่งหมายถึงสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา ที่อาจจะนำมาใช้ในคำเช่น ฆราวัสสถาน (Secular building) หรือ ฆราวัสวรรณกรรม (?!!) (Secular literature) ถ้าใช้คำว่า “โลกีย” ตามที่คุณ octahedron80 แนะนำก็ออกจะหวาดเสียว แม้ว่าจะถูกต้องตามความหมายในพจนานุกรม แต่บางครั้งภาษาเป็นเรื่องของจิตวิทยา/ความรู้สึก ถ้าใช้คำว่า “โลกีย” กับสิ่งก่อสร้างหรือวรรณกรรมก็อาจจะนึกเลยไปในทำนองโลกีย์วิสัย อะไรทำนองนั้น... “โลกียสถาน” นี่น่าจะเป็นโรงแรมหรืออะไรทำนองนั้นกระมัง :-) ไม่ทราบคิดกันอย่างไร --Matt 12:56, 25 มกราคม 2553 (ICT)
  10. เพิ่งไปพบคำที่คิดว่าใกล้เคียงกับคำว่า “ฆราวัสนิยม” มากกว่าเข้า (Laïcité/Laicism) ก็เลยเสนอความเห็นเกี่ยวกับการใช้คำที่มีคำนำหน้าว่า “Secular” ไม่ทราบว่าจะมีความเห็นกันอย่างไร....
    • Laïcité/Laicism = ฆราวัสนิยม = การปกครองโดยสถาบันที่ไม่ใช่สถาบันศาสนา (laïcité มาจากภาษากรีก λαϊκός (laïkós = "โดยประชาชน", "ฆราวาส" (layman))
    • Secularism = อศาสนสถาบันนิยม = การปกครองโดยสถาบันที่ไม่ใช่สถาบันศาสนา
    • Secular state = ฆราวัสจักร = อาณาจักร/รัฐ/ประเทศที่ปกครองโดยฆราวาส
    • Secular art = ฆราวัสศิลป์ = ศิลปะที่ไม่ใช่ศิลปะศาสนา
    • Secular literature = ฆราวัสวรรณกรรม = วรรณกรรมที่มีเนื้อหาที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา
    • Secular architecture = ฆราวัสสถาน = สิ่งก่อสร้างที่ไม่ใช่ศาสนสถาน --Matt 13:52, 25 มกราคม 2553 (ICT)
  11. เกี่ยวกับคำ "laicism" คำวิเศษณ์ของคำนี้ คือ lay (ภาษาอังกฤษ, ส่วนภาษาฝรั่งเศส คือ laïque) ทีแ่ปลว่า "ไม่ใช่พระ" เช่น layperson ว่า ฆราวาส ซ้ำร้าย ใน En.wikitionary ว่า "laicism" = "secularlism"
    • ความจริงแล้ว คำว่า "ฆราวาส" ก็มีความหมายเป็นที่เข้าใจกันว่า "ไม่ใช่พระ" ก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาอะไร (ถ้าเราไม่คิดมากกัน)
    • แต่ในเมื่อคิดมากกันแล้ว จะใช้อะไร คำพ้องความหมายกับคำว่า "ฆราวาส" ก็เช่น
      • "อศาสนจักร" ("อศาสนจักรนิยม")
      • "คิหี" (แต่เดี๋ยวจะหาว่าลามกอนาจาร)
      • "อคาริก"
      • "อปัพชิตายัตตะ" หรือ "อบรรพชิตายัตตะ" (ง่าย ๆ ก็ "อบรรพชิต")
      • "อสมณกะ" หรือ "อสมณะ"
      • ไทยแท้ ๆ เลยก็คือ "ทางโลก"
    • "secular literature" ความจริงน่าจะว่า "วรรณกรรมทางโลก", "วรรณกรรมเชิงโลกี" หรือ "โลกียวรรณกรรม" (แต่สองคำหลัง คนอาจเข้าใจว่าหมายถึง "erotic literature" หรือ "วรรณกรรมเชิงสังวาส" บวกกับคุณ Matt เห็นว่าควรใช้ "secular" ว่า "ฆราวาส" หรือ "ฆราวัส" ให้เป็นระเบียบเดียวกัน)
    —— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๐๑.๒๕, ๑๔:๑๙ นาฬิกา (ICT)
  12. ใช้อะไรไม่เกี่ยงครับ ใส่อ้างอิงไปก็เป็นใช้ได้ ถ้ามีหลายแหล่งอ้างอิงก็ค่อยมาเปรียบเทียบแต่ละแหล่งเอาอีกที ก็จริงครับที่ว่าจะเอาความหมายโดยอนุโลมของคำก็ได้ ไม่ต้องว่าไปตามรากศัพท์เสมอไป โลกีย ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง แต่ยิ่งทำให้บทความนี้น่ากลัวยิ่งขึ้นไปอีก ตอนแรกที่ตั้งใจทักท้วงบทความนี้ก็เพียงคิดว่าจะได้คำง่ายๆ ไม่ต้องบาลี เพราะบทความนี้ต่อไปน่าจะมีความสำคัญในสังคมปัจจุบัน --taweethaも 14:44, 25 มกราคม 2553 (ICT)
  13. ไปเจออีกบทความหนึ่งมาครับ en:Separation of church and state ดังนั้นศัพท์ราชบัณฑิตที่ว่า "secularlization = การแยกฝ่ายอาณาจักรออกจากฝ่ายศาสนจักร" คงใช้กับบทความนี้ไม่ได้ ต้องเก็บไว้ให้ Separation of church and state แทน --taweethaも 14:47, 25 มกราคม 2553 (ICT)
  14. สำหรับ "secularism" ค้นหากูเกิล เจอคำว่า
    • "(ลัทธิ) โลกนิยม"
    • "(ลัทธิ) โลกียนิยม"
    • "(ลัทธิ) โลกานิยม"
    • "ฆราวาสวิสัย"
    • "การนิยมโลก"
    • "การนิยมอุดมคติทางโลก"
    • ที่น่าสนใจคือ มีการใช้ "ลัทธินอกวัด" ด้วย
    • "รัฐโลกียวิสัย" สำหรับ "secular state"
    • ในคำว่า "ลัทธิ" บางทีใช้ "คติ"
    • เจอแล้วล่ะ "ฆราวาสนิยม" จาก เอกสารของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    —— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๐๑.๒๕, ๑๕:๑๙ นาฬิกา (ICT)
  15. แล้วจะใช้อันไหนอ้างในบทความดีหล่ะครับ ไม่เจออันที่จะอ้างได้ตรงๆ เลย ปล. เห็น [1] หน้า 7 โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์ ก็เลือกใช้คำนี้เช่นกัน --taweethaも 15:41, 25 มกราคม 2553 (ICT)
    "[...] ในรัฐส่วนใหญ่ที่เป็น Secular State รัฐฆราวาสหรือรัฐโลกียวิสัย [...] มันกลายเป็ย Secularism ความเป็นฆราวาสวิสัย [...]" --octahedron80 11:39, 27 มกราคม 2553 (ICT)
  16. ในวิกิพีเดียมีการแปลบทความ Secular state อยู่แล้วนะครับ ใช้ชื่อบทความว่า "รัฐโลกวิสัย" (ปูมการสร้างบทความมีดังนี้ "21:55, 6 ตุลาคม 2551 Nini (พูดคุย | หน้าที่เขียน) (1,495 ไบต์)") ลองพิจารณาคำนี้ดูละกัน เท่าที่ลองสืบค้นจากโปรแกรมพจนานุกรมศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน ไม่มีการแปลคำว่า "secularlism" ออกมาโดยตรง แต่มีการบัญญัติศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับคำว่า "secular-" โดยการแปลคำนี้ว่า "โลกวิสัย" อยู่เหมือนกัน (ค้นจากเว็บไม่เจอ พอค้นจากซอฟต์แวร์ดันเจอซะนี่) --สุทธิพงษ์ พื้นแสน 11:36, 27 มกราคม 2553 (ICT)
    ดาวน์โหลดซอฟท์แวร์พจนานุกรมศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถานได้ที่นี่ครับ (แนะนำสำหรับทุกท่านในการค้นศัพท์บัญญัติโดยเฉพาะ) --สุทธิพงษ์ พื้นแสน 11:41, 27 มกราคม 2553 (ICT)
  17. เสียดาย โปรแกรมราชบัณฑิตฯ ไม่รองรับวินโดวส์ตั้งแต่วิสตาขึ้นไป .( T _ T ).
    —— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๐๑.๒๗, ๑๒:๓๕ นาฬิกา (ICT)
    Macs/Linux/Unix หมดสิทธิ์ --taweethaも 10:45, 28 มกราคม 2553 (ICT)
  18.  
    ศัพท์บัญญัติ secular linguistics = ภาษาศาสตร์โลกวิสัย (คลิกเพื่อดูรูปขยาย)
     
    ศัพท์บัญญัติ secularlization = การแยกฝ่ายอาณาจักรออกจากฝ่ายศาสนจักร (คลิกเพื่อดูรูปขยาย)
    เช่นนั้นขอจับภาพจากหน้าจอมาให้ดูกันน่าจะดีกว่า (ศัพท์บัญญัติที่ค้นแล้วไม่ใช่คำที่ใช้ในนัยยะที่กำลังถกกันอยู่ไม่ขอนำมาลงก็แล้วกันครับ) --สุทธิพงษ์ พื้นแสน 13:55, 27 มกราคม 2553 (ICT)
  19. การแปล secularism ว่า ฆราวาสนิยม ปรากฏใน สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หน้า 345 ครับ--พุทธามาตย์ 00:37, 30 มกราคม 2554 (ICT)
  20. พจนานุกรมศัพท์มานุษยวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสภา (2561) บัญญัติศัพท์ secularism ว่า "โลกิยนิยม" และนิยามว่า "แนวคิดที่ถือว่าสิทธิในการนับถือศาสนาของประชาชนแยกออกจากการบริหารกิจการของรัฐ ประชาชนมีสิทธิที่จะนับถือศาสนาใดหรือไม่นับถือศาสนาก็ได้ โดยรัฐไม่เข้าไปเกี่ยวข้องหรือชี้นำ แต่จะให้การคุ้มครองสิทธิของคนทุกกลุ่ม" --Potapt (คุย) 20:04, 2 มกราคม 2564 (+07)ตอบกลับ
กลับไปที่หน้า "โลกิยนิยม"