พูดคุย:เอจออฟมีโธโลจี

เอจออฟมีโธโลจี เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิวิดีโอเกมและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับวิดีโอเกม ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ เอจออฟมีโธโลจี หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 โครง  บทความนี้อยู่ที่ระดับโครง ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ไม่เป็นสารานุกรม แก้

เทพปกรณัม แก้

ข้อแตกต่างของเกม "เอจ ออฟ มีโธโลยี" ที่ไม่เหมือนกับเกมอื่นๆในตระกูล "เอจ ออฟ เอมไพร์" คือมีเรื่องของเทพเจ้าเข้ามาเกี่ยวข้องในการเล่น หลังจากที่ผู้เล่นกำหนดอารยธรรมที่จะใช้ในเกมแล้ว ผู้เล่นต้องเลือก "เทพเจ้าหลัก" ที่จะบูชาในตอนเริ่มต้นเกม การเลือกเทพเจ้าหลักนี้ เป็นการเลือกความสามารถพิเศษให้กับสิ่งปลูกสร้างและยูนิต ในลักษณะที่ผู้เล่นไม่สามารถพัฒนาได้โดยอาศัยเพียงการใช้ทรัพยากร รวมถึงเป็นการเลือกพลังพิเศษที่จะใช้ในการเพิ่มความได้เปรียบในการเล่น ซึ่งมีทั้งช่วยให้พัฒนาเทคโนโลยีพิเศษได้สำเร็จ, การรวบรวมทรัพยากรง่ายขึ้น, สิ่งปลูกสร้างแข็งแรงขึ้น, กองกำลังแข็งแกร่งขึ้น, เพิ่มความได้เปรียบในการรบ หรือแม้กระทั่งใช้เป็นอาวุธทำลายล้างสิ่งปลูกสร้างและยูนิตอื่นๆ โดยอารยธรรมต่างๆ ก็มีเทพเจ้าที่แตกต่างกันไป

หลังจากนั้นเมื่อผู้เล่นเลือกเทพเจ้าหลักและเล่นเกมจนพัฒนาเข้าสู่แต่ละยุค จะต้องทำการเลือก "เทพเจ้ารอง" ที่จะบูชาต่อไปเรื่อยๆ จนพัฒนาอารยธรรมเข้าถึงยุค "มีธิค เอจ" ซึ่งการเลือกเทพเจ้ารองนี้ก็มีเหตุผลเดียวกับการเลือกเทพเจ้าหลักในการเล่น เพียงแต่ความสามารถก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ผู้เล่นตัดสินใจเลือก

อารยธรรมกรีก แก้

    • เทพเจ้าหลัก :
      • ซูส : ผู้เล่นสามารถใช้พลังดังกล่าวทำลายยูนิตของข้าศึกได้ 1 ยูนิต
      • ฮาเดส : ผู้เล่นสามารถสร้างองครักษ์ป้องกันฐานที่มั่นได้ 4 ตัว
      • โพไซดอน : ผู้เล่นสามารถสร้างหินศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถดึงดูดสัตว์ต่างๆให้มาชุมนุมกัน ทำให้ง่ายต่อการหาอาหารของผู้เล่น
    • ยุคคลาสสิก:
      • เอเธนา : ผู้เล่นสามารถใช้พลังฟื้นฟูสภาพของยูนิตและสิ่งก่อสร้างที่ได้รับความเสียหายภายในบริเวณที่กำหนด
      • อารีส : ผู้เล่นสามารถหยุดให้คู่ต่อสู้ไม่สามารถสร้างยูนิตสำหรับต่อสู้ใหม่ได้ชั่วคราว
      • เฮอร์มีส : ผู้เล่นสามารถใช้พลังยับยั้งการต่อสู้ปะทะกันของยูนิตทั้งหมดทุกฝ่ายได้ชั่วคราว
    • ยุควีรบุรุษ:
      • อะโฟรไดท์ : ผู้เล่นสามารถสาปยูนิตของคู่ต่อสู้ให้กลายเป็นหมู
      • อพอลโล : ผู้เล่นสามารถสร้างทางใต้ดินระหว่างสถานที่ 2 แห่งใดๆ ในแผนที่ เพื่อให้ยูนิตผ่านไปมาได้อย่างรวดเร็ว
      • ไดโอนีซัส : ผู้เล่นสามารถเปลี่ยนผิวหนังของทหารให้เป็นสำริด ช่วยเพิ่มความทนทานต่อการโจมตีได้มากขึ้นเป็นเวลาชั่วคราว
    • ยุคเทพนิยาย:
      • อาร์เทมิส : ผู้เล่นสามารถสร้างแผ่นดินไหวสร้างความเสียหายให้กับยูนิตและสิ่งก่อสร้างของคู่ต่อสู้ได้ในวงกว้าง
      • เฮฟาเอสตัส : ผู้เล่นสามารถสร้างคลังสมบัติเพื่อให้ทรัพยากรทุกอย่างที่รวบรวมได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น
      • ฮีรา : ผู้เล่นสามารถใช้พายุสายฟ้าเพื่อสร้างความเสียหายให้กับยูนิตและสิ่งก่อสร้างของคู่ต่อสู้ได้ในวงกว้าง

อารยธรรมอียิปต์ แก้

    • เทพเจ้าหลัก :
      • ไอสิส : คนงานของผู้เล่นสามรถขุดและรวบรวมทองคำได้เร็วขึ้น
      • รา : ผู้เล่นสามรถบันดาลให้ฝนตก ทำให้คนงานสามารถเก็บเกี่ยวอาหารจากไร่นาได้เร็วขึ้น
      • เซต : ผู้เล่นสามารถเปิดแผนที่ในส่วนที่ยังไม่ได้สำรวจได้
    • ยุคคลาสสิก:
      • อนูบิส : ผู้เล่นสามารถเสกฝูงงูเห่าขึ้นมาในแผนที่เพื่อป้องกันพื้นที่นั้นๆ หรือโจมตีคู่ต่อสู้ในบริเวณนั้น
      • บาสต์ : ผู้เล่นสามารถสร้างสุริยคราส โดยภายในช่วงเวลานั้น ยูนิตโจมตีระยะไกลทั้งหมดจะมีระยะโจมตีลดลง
      • Ptah : ผู้เล่นสามารถใช้พายุทรายเคลื่อนย้ายกลุ่มยูนิตของตนเองหรือของคู่ต่อสู้ไปยังที่ใดๆในแผนที่ได้ภายในพริบตา
    • ยุควีรบุรุษ
      • ฮาธอร์ : ผู้เล่นสามารถทำลายไร่นาของคู่ต่อสู้ด้วยฝูงแมลง
      • Nephthys : ผู้เล่นสามารถปลุกกองทัพของยูนิตทหารที่ตายแล้วขึ้นมาต่อสู้ได้
      • Sekhmet : ผู้เล่นสามารถเปลี่ยนฐานที่มั่นเป็นป้อมปราการที่แข็งแกร่งขึ้นและสามารถโจมตียูนิตคู่ต่อสู้ได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
    • ยุคเทพนิยาย:
      • ฮอรัส : ผู้เล่นสามารถสร้างลมพายุเข้าโจมตีสิ่งก่อสร้างและยูนิตของคู่ต่อสู้
      • โอซิริส : ผู้เล่นสามารถเปลี่ยนยูนิตฟาโรห์เป็น ”บุตรแห่งโอซิริส” เพื่อเพิ่มความสามารถในการต่อสู้ให้แข็งแกร่งขึ้น
      • Toth : ผู้เล่นสามารถใช้อุกกาบาตโจมตีสิ่งก่อสร้างและยูนิตของคู่ต่อสู้

อารยธรรมนอร์ส แก้

    • เทพเจ้าหลัก :
      • ทอร์ : ผู้เล่นสามารถสร้างเหมืองทองขึ้นบริเวณไหนก็ได้ในแผนที่ 1 แห่ง
      • โอดิน : ผู้เล่นมีพลังพิเศษใช้เพิ่มจำนวนของสัตว์ป่าที่อยู่รอบๆ ได้มากขึ้น เพิ่มโอกาสในการหาอาหารได้มากขึ้น
      • โลกิ : ผู้เล่นสามรถเลือกยูนิตของฝ่ายตรงข้ามเพื่อให้มองเห็นภาพที่ยูนิตดังกล่าวมองเห็นได้
    • ยุคคลาสสิก:
      • Forseti : ผู้เล่นสามารถสร้างบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์เพื่อช่วยรักษาอาการบาดเจ็บของยูนิตที่อยู่บริเวณโดยรอบ
      • Freyja : ผู้เล่นมีสามารถใช้ไฟป่าเผาป่าไม้ที่อยู่ในบริเวณใดก็ได้ในแผนที่
      • Heimdall : ผู้เล่นมีพลังพิเศษสามารถทำลายกำแพงและหอคอยของคู่ต่อสู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น
    • ยุควีรบุรุษ:
      • Bragi : ผู้เล่นสามารถเพิ่มพลังโจมตีให้กับกองทัพด้วยอาวุธไฟ
      • Njord : ผู้เล่นสามารถเสกต้นไม้ที่อยู่ใกล้สิ่งปลูกสร้างหรือยูนิตของคู่ต่อสู้ให้เดินเข้าโจมตีสิ่งปลูกสร้างหรือยูนิตดังกล่าวได้
      • Skadi : ผู้เล่นมีพลังพิเศษสามารถแช่แข็งยูนิตของคู่ต่อสู้ได้ชั่วคราว
    • ยุคเทพนิยาย:
      • Baldr : ผู้เล่นสามารถเปลี่ยนคนแคระและคนงานเป็นนักรบระดับวีรบุรุษเพื่อต่อสู้ได้
      • เฮล : ผู้เล่นสามารถเรียกมังกรมาเป็นยูนิตต่อสู้ได้
      • Tyr : ผู้เล่นสามารถเรียกฝูงหมาป่าเข้าโจมตีฐานที่มั่นของคู่ต่อสู้


ซึ่งนอกเหนือจากพลังพิเศษที่ได้กล่าวมาแล้ว การที่ผู้เล่นเลือกบูชาเทพแต่ละองค์ยังช่วยเสริมความสามารถและความแข็งแกร่งของยูนิตอื่นๆ อีกอย่างหลากหลาย

นอกเหนือจากเทพเจ้าและพลังอำนาจพิเศษที่แทรกเข้ามาในการเล่นแล้ว ยังมีตัวละครที่เกี่ยวโยงกับเทพปกรณัม ทั้งที่เป็นมนุษย์ และสัตว์อสูรในเทพนิยาย ที่สำคัญยังมีการถ่ายทอดเรื่องราวบางเหตุการณ์ในนิยายเทพปกรณัมลงสู่ในเกมด้วย เช่น ศึกกรุงทรอยและม้าไม้โทรจัน, ค้อนแห่งทอร์, การตามหาชิ้นส่วนของเทพโอซีริส เป็นต้น

ทรัพยากร แก้

ในเกม “เอจ ออฟ มีโธโลยี” มีทรัพยากร 4 ประเภทที่ผู้เล่นต้องทำการรวบรวมเพื่อใช้ในการสร้างสิ่งปลูกสร้าง, ฝึกยูนิต, พัฒนาเทคโนโลยีและความสามารถพิเศษ รวมถึงใช้ในการพัฒนาเข้าสู่ยุคต่างๆ ระหว่างการเล่น

ทรัพยากรดังกล่าวได้แก่ อาหาร, ไม้, ทองคำ และ พรเทพเจ้า แตกต่างจากเกมต่างๆก่อนหน้านี้ของเอนเซมเบิล สตูดิโอส์ ตรงที่ภาคนี้ไม่มีหินเป็นทรัพยากร โดยการรวบรวมทรัพยากรนั้นมีวิธีการที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภทของทรัพยากร และอารยธรรมที่ผู้เล่นเลือก

ในการรวบรวมทรัพยากรอาหารของผู้เล่น ต้องทำการออกล่าสัตว์ป่าที่อยู่บริเวณใกล้เคียง, ทำฟาร์ม, เลี้ยงสัตว์, เก็บเกี่ยวผลไม้ป่าที่อยู่รอบๆฐานที่มั่น หรือใช้เรือออกหาปลาในแหล่งน้ำ กรณีของการเล่นแบบอารยธรรมกรีก ต้องใช้ยูนิต "วิลเลเจอร์" (อังกฤษ: Villager) หรือก็คือชาวบ้านเป็นผู้รวบรวมทรัพยากรอาหารที่หาได้บนแผ่นดิน ในขณะที่อารยธรรมอียิปต์ ต้องใช้ยูนิต "เลเบอเรอร์" (อังกฤษ: Laborer) หรือกลุ่มแรงงาน และอารยธรรมนอร์สใช้ยูนิต "แกธเธอเรอร์" (อังกฤษ: Gatherer) ซึ่งหมายถึงผู้รวบรวมทรัพยากร หรือ "ดวาร์ฟ" (อังกฤษ: Dwarf) ซึ่งก็คือคนแคระ แต่ไม่ว่าจะอารยธรรมใด ต่างก็ใช้ยูนิตเรือประมงในการหาอาหารโดยจับปลาในแหล่งน้ำ

การรวบรวมทรัพยากรไม้ ทำได้โดยการใช้ วิลเลเจอร์, เลเบอเรอร์ หรือ แกธเธอเรอร์และคนแคระ โค่นต้นไม้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง และใช้ยูนิตประเภทเดียวกันในการรวบรวมทรัพยากรทองคำโดยการขุดแร่จากเหมืองธรรมชาติที่อยู่ในบริเวณต่างๆ นอกจากนี้การค้าขายยังเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ผู้เล่นสามารถใช้ประโยชน์เพื่อการรวบรวมทองคำได้เช่นกัน

ทรัพยากรประเภทสุดท้ายคือพรเทพเจ้า มีความพิเศษตรงที่เป็นทรัพยากรที่ไม่สามารถหาได้ทั่วไปในแผนที่ สำหรับการเล่นแบบอารยธรรมกรีก ผู้เล่นต้องใช้วิลเลเจอร์ สวดอ้อนวอนต่อพระเจ้าที่วิหารบูชาเทพ เพื่อเพิ่มระดับของพรเทพเจ้า ในขณะที่การเล่นแบบอารยธรรมอียิปต์ ผู้เล่นสามารถเพิ่มระดับพรเทพเจ้าได้โดยการสร้างเทวรูปขึ้นเพื่อบูชา และอารยธรรมนอร์ส ผู้เล่นจะได้พรเทพเจ้าก็ต่อเมื่อมียูนิตเกิดการปะทะกับข้าศึก หรือสัตว์ป่า หรือมีการสร้างวีรบุรุษเท่านั้น

ทรัพยากรทั้งหมดภายในเกมยกเว้นพรเทพเจ้า ผู้เล่นสามารถทำการแลกเปลี่ยนระหว่างกันได้ ณ ตลาดที่ผู้เล่นสร้างขึ้น


ยูนิตต่างๆ แก้

ยูนิตต่างๆ ในเกม เอจ ออฟ มีโธโลยี หมายถึงหน่วยต่างๆ ของเกมที่ไม่ใช่สิ่งก่อสร้าง ซึ่งผู้เล่นสามารถทำการควบคุมสั่งการต่างๆได้ อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือยูนิตทางเศรษฐกิจ และยูนิตทางการรบ โดยการที่ผู้เล่นเลือกอารยธรรมต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งเลือกบูชาเทพเจ้าองค์ต่างๆ ที่ไม่เหมือนกัน ก็ส่งผลให้มีความสามารถในการสร้างและใช้ยูนิตประเภทต่างๆ ได้ไม่เท่ากันด้วย ทั้งนี้ผู้เล่นแต่ละคนสามารถสร้างยูนิตได้ในจำนวนจำกัดเท่านั้น โดยต้องไม่เกินขีดจำกัดจำนวนประชากรสูงสุดที่ผู้เล่นสามารถมีได้ กรณีที่ผู้เล่นต้องการสร้างยูนิตเพิ่ม จำเป็นต้องเพิ่มขีดจำกัดดังกล่าวซึ่งสามารถทำได้ 3 วิธี โดยวิธีแรกคือการสร้างบ้านเพิ่ม ส่วนวิธีที่สองคือการสร้างฐานที่มั่นที่เรียกว่า "ทาวน์ เซ็นเตอร์" (อังกฤษ: Town Center) เพิ่ม และวิธีสุดท้าย คือทำการพัฒนาความสามารถให้บ้านแต่ละหลังและฐานที่มั่นรองรับจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้น

ยูนิตทางเศรษฐกิจ แก้

ยูนิตทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ยูนิตวิลเลเจอร์, เลเบอเรอร์, แกธเธอเรอร์, ดวาร์ฟ, เรือประมง, เกวียนเทียมวัว, ขบวนคาราวานสินค้า และฝูงสัตว์เลี้ยง โดยเรือประมงเป็นยูนิตใช้สำหรับการหาอาหารโดยการจับปลาในแหล่งน้ำ ในขณะที่ เกวียนเทียมวัว ทำหน้าที่เป็นแหล่งเก็บทรัพยากรแบบบเคลื่อนที่ได้ ส่วนขบวนคาราวานสินค้า ใช้สำหรับการเดินขบวนระหว่างตลาดและฐานที่มั่นเพื่อเพิ่มทรัพยากรประเภททองคำ และกลุ่มฝูงแกะที่ยูนิตของผู้เล่นไปพบเจอ ก็ถือเป็นยูนิตที่ผู้เล่นไม่สามารถสร้างขึ้นมาเองได้ แต่สามารถสั่งต้อนมาสำหรับการรวบรวมอาหารได้ ส่วนยูนิตจำพวกที่เหลือ มีหน้าที่ในการสร้างสิ่งปลูกสร้าง, ซ่อมแซมสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับความเสียหาย และรวบรวมทรัพยากรประเภทต่างๆ

ยูนิตทางการรบ แก้

ยูนิตทางการรบ สามารถแบ่งแยกย่อยได้อีกเป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ยูนิตวีรบุรุษ, ยูนิตทหาร, ยูนิตสัตว์อสูร, ยูนิตเครื่องจักรโจมตี และยูนิตเรือรบ ทั้งนี้ความสัมพันธ์ของยูนิตประเภทต่างๆ เมื่อเปรียบเทียบกัน ต่างมีข้อได้เปรียบ, เสียเปรียบ ในลักษณะคล้ายกับเกมเป่ายิ้งฉุบ เพื่อให้เกิดความสมดุลมากที่สุด จากแนวคิดนี้การเล่นที่ดี จึงต้องมีการเตรียมยูนิตที่เหมาะสำหรับรับมือกับยูนิตคู่ต่อสู้ด้วย

    • ยูนิตวีรบุรุษ (อังกฤษ: Hero Unit) : เป็นยูนิตที่สร้างได้จำกัดจำนวนชนิดละ 1 ยูนิตเท่านั้น สามารถเอาชนะยูนิตสัตว์อสูรได้อย่างง่ายดาย ทั้งยังสามารถต่อสู้กับยูนิตทหารทั่วไปได้อย่างดี นอกจากนี้ยูนิตประเภทนี้เป็นประเภทเดียวที่สามารถทำการรวบรวมวัตถุบูชาเทพเจ้าที่เรียกว่า "รีลิค" (อังกฤษ: Relic) เพื่อนำไปเก็บไว้ที่วิหารบูชาเทพเจ้า ซึ่งจะทำให้ได้รับความสามารถพิเศษต่างๆ โดยความสามารถพิเศษดังกล่าวแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของวัตถุบูชาเทพเจ้านั้นๆ อนึ่งยูนิตประเภทนี้มีทั้งที่โจมตีในระยะประชิด และโจมตีระยะไกล ทั้งยังสามารถคืนชีพได้เมื่อตายระหว่างทำการรบ อย่างไรก็ตามข้อเสียที่สำคัญของยูนิตประเภทนี้ คือมีราคาแพง และถูกจำกัดจำนวนในการสร้างอีกด้วย
    • ยูนิตทหาร (อังกฤษ: Soldier Unit) : เป็นยูนิตทางทหารขั้นพื้นฐาน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อยๆ คือ ยูนิตทหารโจมตีระยะประชิด (อังกฤษ: Infantry) ซึ่งโดยปรกติเหมาะสำหรับการต่อสู้กับกลุ่มทหารม้า, ยูนิตทหารโจมตีระยะไกล (อังกฤษ: Archery) เหมาะสำหรับต่อสู้กับกลุ่มทหารโจมตีระยะประชิด และยูนิตทหารม้า (อังกฤษ: Cavalry) ซึ่งเหมาะสำหรับการต่อสู้กับกลุ่มทหารโจมตีระยะไกล อย่างไรก็ตามมียูนิตทหารบางประเภทที่อยู่นอกเหนือจากกฎพื้นฐานดังกล่าว ซึ่งผู้เล่นจะสามารถสร้างได้เมื่อทำการพัฒนาอารยธรรมของตนเข้าสู่ยุคที่เจริญมากขึ้น รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีเฉพาะสำหรับยูนิต อนึ่งยูนิตทหารนี้ยังรวมถึงม้าเร็ว (อังกฤษ: Scout) ที่ใช้ในการสำรวจแผนที่ด้วยเช่นกัน
    • ยูนิตสัตว์อสูร (อังกฤษ: Myth Unit) : เป็นยูนิตพิเศษที่ขึ้นอยู่กับเทพเจ้าที่ผู้เล่นเลือกบูชาโดยเฉพาะ มีทั้งแบบต่อสู้บนบก และในน้ำ หรือแม้กระทั่งยูนิตโจมตีทางอากาศ โดยทั่วไปยูนิตประเภทนี้แพ้ทางแก่ยูนิตวีรบุรุษ แต่สามารถจัดการกับยูนิตทหารได้เป็นอย่างดี หรือใช้ในการโจมตีสิ่งก่อสร้างก็สามารถสร้างความเสียหายได้มากเช่นกัน ซึ่งยูนิตสัตว์อสูรนี้มีหลากหลายชนิดและมาพร้อมกับความสามารถที่หลากหลายตามแต่ชนิดนั้นๆ บางชนิดสามารถฟื้นพลังชีวิตให้กับตนเองได้โดยการดูดกินทรัพยากร บางชนิดสามารถคืนชีพได้จากการรบ บางชนิดจะยิ่งแข็งแกร่งมากขึ้นเมื่อกำจัดยูนิตของศัตรูได้มากขึ้น นอกเหนือจากวัตถุประสงค์สำหรับการต่อสู้ ยูนิตสัตว์อสูรบางชนิดใช้ประโยชน์เพื่อการสำรวจพื้นที่ ในขณะบางชนิดใช้เพื่อการโดยสารเป็นพาหนะ อย่างไรก็ตามแม้จะเป็นยูนิตที่มีความแข็งแกร่ง แต่ยูนิตสัตว์อสูร มีราคาค่อนข้างแพง อีกทั้งยูนิตแต่ละตัวอาจมีขนาดเทียบเท่ากับประชากรมนุษย์สูงถึง 5 คน ซึ่งจะมีผลทำให้สร้างยูนิตประเภทอื่นๆ ได้ลดน้อยลง อันเนื่องจากข้อจำกัดทางประชากรนั่นเอง
    • ยูนิตเครื่องจักรโจมตี (อังกฤษ: Seige Weapon Unit) : ยูนิตประเภทนี้มีทั้งแบบที่โจมตีจากระยะไกล และแบบที่ต้องโจมตีในระยะประชิด ถือว่าเป็นยูนิตที่อ่อนแอมากหากต้องเผชิญหน้ากับยูนิตทหาร แม้กระนั้นเมื่อสู้กับยูนิตวีรบุรุษและยูนิตสัตว์อสรู กลุ่มเครื่องจักรโจมตีก็ยังถือว่าแพ้ทางอยู่ดี อย่างไรก็ตามยูนิตประเภทเครื่องจักรโจมตีนี้จะมีประสิทธิภาพเป็นอย่างยิ่งในการโจมตีทำลายสิ่งปลูกสร้างทุกชนิด ซึ่งถือว่าเป็นการตัดหนทางในการสร้างยูนิตทางการรบอื่นๆของคู่ต่อสู้ได้เป็นอย่างดี ข้อเสียอีกประการของยูนิตประเภทนี้คือส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ช้า ทำให้เป็นเป้าโจมตีของคู่ต่อสู้ได้ง่าย ในแง่ราคาของยูนิต แม้จะต่ำกว่าการสร้างยูนิตสัตว์อสูร และยูนิตวีรบุรุษ แต่ก็ถือว่าสูงกว่ายูนิตประเภททหารพอสมควร
    • ยูนิตเรือรบ (อังกฤษ: Naval Unit) : เป็นยูนิตสำหรับต่อสู้ในบริเวณที่เป็นผืนน้ำ แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้เป็น 4 กลุ่ม คือ เรือโดยสาร สำหรับลำเลียงยูนิตทางบกประเภทต่างๆ, เรือหัวค้อน โจมตีโดยการพุ่งชน เหมาะสำหรับจัดการเรือยิงอาวุธหนัก, เรือยิงอาวุธหนัก เหมาะสำหรับต่อสู้กับเรือยิงธนู และท้ายที่สุดคือเรือยิงธนู เหมาะสำหรับการโจมตีเรือหัวค้อน โดยกลุ่มเรือรบทั้งหมดยกเว้นเรือโดยสาร สามารถทำการต่อสู้กับยูนิตสัตว์อสูรทางน้ำ และโจมตียูนิตทางการรบหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ที่อยู่บนบกภายใต้ระยะการโจมตีอีกด้วย ข้อจำกัดที่สำคัญที่สุดของกลุ่มยูนิตเรือรบ คือไม่สามารถโจมตียูนิตอื่นๆ หรือสิ่งก่อสร้างอื่นใดที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินได้ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการเอาชนะการเล่น

--Horus | พูดคุย 14:34, 16 ตุลาคม 2553 (ICT)

เรื่องย่อ แก้

เริ่มเรื่องเปิดฉากที่นครแอตแลนติส จอมทัพเรือนักรบแห่งแอตแลนติสผู้มีนามว่า "อาร์กันโตส" (อังกฤษ: Arkantos) กำลังทำการบูชาขอพรจากเทพโพไซดอน ในขณะนั้นก็ได้มีกองเรือโจรสลัด นำโดยมิโนทอร์ที่มีชื่อว่า "กามอส" (อังกฤษ: Kamos) บุกเข้าโจมตีเมืองของชาวแอตแลนติส ภายหลังการสู้รบจนกองเรือโจรสลัดล่าถอยไป อาร์กันโตสก็ได้รับมอบหมายให้นำทัพไปช่วย "อากาเมมนอน" (อังกฤษ: Agamemnon) ทำศึกกรุงทรอย โดยมีเป้าหมายในการทลายกำแพงเข้าตีกรุงทรอย ภายหลังการต่อสู้กับเหล่ากองทัพชาวทรอย อาร์กันโตส ได้ต่อสู้เคียงข้างกับ "อาแจกซ์" (อังกฤษ: Ajax) และ "โอดีสซีอุส" (อังกฤษ: Odysseus) ในที่สุดพวกเขาจึงตัดสินใจสร้างหุ่นม้าไม้โทรจันทำกลลวงเข้าไปภายในกรุงทรอย จนสามารถเปิดประตูเมืองให้กองทัพใหญ่บุกเข้าโจมตีกรุงทรอย และได้ชัยชนะในที่สุด หลังเสร็จสิ้นการรบ อาแจกซ์ได้แนะให้อาร์กันโตส ล่องเรือไปยังไออ็อกโลส เพื่อไปพบกับเซนทอร์ที่ชื่อ "คีรอน" (อังกฤษ: Chiron) เพื่อให้ช่วยซ่อมเรือของอาร์กันโตสที่ได้รับความเสียหาย ทว่าเมื่อเดินทางไปถึงที่หมาย พวกเขากลับพบว่าคีรอนโดนกองกำลังไม่ทราบฝ่ายขังตัวไว้ ในขณะที่เมืองทั้งเมืองตกอยู่ภายใต้การโจมตีจากข้าศึก หลังจากที่อาร์กันโตสและอาแจกซ์สามารถช่วยคีรอนออกมาได้ และทำการป้องกันเมืองจากการโจมตีได้สำเร็จ คีรอนได้พาพวกเขามุ่งหน้าไปทางเหนือ เพื่อไปดูกลุ่มเชลยที่ยังโดนกักตัวโดย "การ์กาเรนซิส" (อังกฤษ: Gargarensis) นักรบยักษ์ตาเดียวผู้เป็นนายของกามอส ภาพที่เห็นคือพวกเชลยโดนสั่งให้ขุดอุโมงค์สำหรับเป็นทางเข้าสู่โลกใต้ภิภพ เมื่อการขุดทางเข้าสำเร็จ การ์กาเรนซิสก็เดินทางผ่านอุโมงค์ดังกล่าว กลุ่มของอาร์กันโตสจึงได้ติดตามการ์กาเรนซิสลงไปยังโลกใต้ภิภพและพบว่าการ์กาเรนซิสกำลังพยายามเปิดประตูยักษ์บานหนึ่งอยู่ เพื่อขัดขวางศัตรู พวกอาร์กันโตสจึงได้ทำลายเครื่องกระทุ้งที่ใช้สำหรับเปิดประตูบานนั้นเสีย แต่ก็กลับกลายเป็นว่าพวกเขาต้องติดอยู่ภายในอุโมงค์โลกใต้ภิภพแห่งนั้น อย่างไรก็ตาม ด้วยความช่วยเหลือของยมทูต พวกอาร์กันโตสก็ได้เดินทางไปพบกับวิหารเทพเจ้ากรีกที่อยู่ภายใต้พื้นดินแห่งนั้น และที่นั่นอาร์กันโตสได้พบว่าเทพเจ้าที่คอยช่วยเหลือเขา กลับกลายเป็นซูส หาใช่โพไซดอนที่เขาบูชามาแต่แรกเริ่มไม่ เพราะเมื่ออาร์กันโตสทำการสวดอ้อนวอนเทพเจ้านั้น เป็นซูสที่ช่วยบันดาลให้เกิดทางเดินขึ้นสู่โลกด้านบนทำให้พวกเขาหนีออกมาจากอุโมงค์แห่งนั้นได้

กระนั้นก็ตาม เมื่อขึ้นมายังโลกด้านบน พวกอาร์กันโตสกลับพบว่าพวกเขามาโผล่ยังดินแดนอียิปต์และได้พบกับ "อมันรา" (อังกฤษ: Amanra) พร้อมทั้งช่วยเธอต่อสู้กับเหล่าศัตรูภายใต้การชักใยของนักบวชชั่วที่ชื่อ "เคมซิท" (อังกฤษ: Kemsyt) ภายหลังการต่อสู้ อมันราได้เล่าให้พวกอาร์กันโตสฟังถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในดินแดนอียิปต์ เมื่อเทพโอซิริส ถูกสังหารโดยเทพเซ็ทผู้ให้การช่วยการ์กาเรนซิส อมันราต้องการที่จะคืนชีพให้กับเทพโอซิริสอีกครั้งเพื่อปราบเทพเซ็ทที่ชั่วร้าย โดยการรวบรวมชิ้นส่วนร่างกายของเทพโอซิริสซึ่งกระจัดกระจายอยู่ที่ต่างๆ ทั้งนี้เพื่อจะช่วย "เซ็ทนา" (อังกฤษ: Setna) ที่ถูกกักกุมตัวไว้โดยการ์กาเรนซิส พวกอาร์กันโตสตกลงที่จะร่วมมือกับอมันรา และได้แยกย้ายกันไปค้นหาชิ้นส่วนร่างกายของเทพโอซิริส ในระหว่างการค้นหานั้น อาร์กันโตสก็ได้รู้ความจริงเกี่ยวกับการ์กาเรนซิส เมื่อเทพเอเธนามาปรากฏตัวในความฝันของเขาและเล่าเรื่องที่การ์กาเรนซิสซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากเทพโพไซดอน พยายามที่จะปลดปล่อยไททันที่ชื่อว่าโครนอสออกมาจากขุมนรกทาร์ทารัส เพื่อรับพลังชีวิตอันเป็นอมตะ ในขณะเดียวกันอมันราก็สามารถแย่งชิงชิ้นส่วนร่างของเทพโอซิริสกลับมาจากเคมซิทได้ ด้านฝั่งคีรอนก็ได้ชิ้นส่วนอีกชิ้นจากต้นทามาริสก์ และชิ้นส่วนสุดท้าย อาร์กันโตสและอาแจกซ์ก็สามารถนำกลับมาได้จากการต่อสู้กับกามอสซึ่งตายในการต่อสู้ครั้งนี้ เมื่อรวบรวมชิ้นส่วนทั้งหมดของเทพโอซิริสได้แล้ว เทพโอซิริสจึงคืนชีพขึ้นมาและทำลายกองทัพของการ์กาเรนซิสจนแตกกระเจิงไปถึงเกาะทางเหนือของชาวนอร์ส พวกอาร์กันโตสจึงออกเดินทางอีกครั้งไปยังดินแดนดังกล่าวเพื่อติดตามไปกำจัดการ์กาเรนซิส ในระหว่างทางพวกเขาได้พบกับโอดีสซีอุส ผู้ต้องคำสาปของเซิร์ค จึงเข้าทำการช่วยเหลือจากซากเรือ และช่วยกันปลดปล่อยลูกเรือของโอดีสซีอุส ที่ต้องกลายเป็นหมูเพราะคำสาปนั้น

เมื่อพวกเขาทั้งหมดมาถึงดินแดนนอร์ส ก็ได้พบกับสองคนแคระที่ชื่อ "บรอคค์" (อังกฤษ: Brokk) และ "อีทริ" (อังกฤษ: Eitri) และช่วยพวกเขาขับไล่บรรดายักษ์ที่มารบกวน สองคนแคระจึงตอบแทนโดยการชี้นำทางไปยังโลกใต้ภิภพอีกครั้ง ต่อมาระหว่างการเดินทาง พวกอาร์กันโตสได้พบกับชายชราคนหนึ่งและได้รับธงผืนหนึ่งมาจากชายผู้นั้น โดยได้รับคำแนะนำมาว่าหากใช้ธงผืนนั้นแสดงให้ชาวนอร์สเห็น จะสามารถรวบรวมสมัครพรรคพวกเพิ่มได้ แต่แล้วเมื่อพวกเขาไปแสดงธงให้ผู้อื่นเห็นกลับกลายเป็นว่าโดนโจมตีจากกองกำลังเหล่านั้น ตอนนั้นเองพวกอาร์กันโตสจึงได้รู้ตัวว่านั่นเป็นกับดักที่เทพโลกิผู้ร่วมมือกับการ์กาเรนซิสปลอมตัวเป็นชายชรามาหลอกพวกเขานั่นเอง อย่างไรก็ตามพวกอาร์กันโตสก็รอดจากการต่อสู้มาได้ และด้วยความช่วยเหลือของ "เรกินลีฟ" (อังกฤษ: Reginleif) ผู้รับใช้เทพเจ้าโอดิน พวกเขาก็พบการ์กาเรนซิสและประตูสู่ทาร์ทารัสในที่สุด เมื่อพวกเขาเดินทางผ่านประตูนั้นเข้าไป ก็พบกับยักษ์แห่งไฟ เพื่อที่จะให้คนที่เหลือหนีไปได้ คีรอนตัดสินใจสละชีวิตตัวเองเพื่อหยุดยักษ์เอาไว้ ในขณะเดียวกันที่การ์กาเรนซิสกำลังพยายามเปิดประตูเพื่อปลดปล่อยโครโนส บรอคค์และอีทริ ก็ทำการซ่อมแซมค้อนของเทพเจ้าทอร์ซึ่งโดนทำลายโดยโลกิ ให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้งเพื่อจะได้ใช้มันหยุดยั้งแผนการของการ์กาเรนซิส จนกระทั่งในที่สุดอาร์กันโตสและพรรคพวกก็ติดตามการ์กาเรนซิสกลับขึ้นมายังแผ่นดินเบื้องบนอีกครั้ง โดยความช่วยเหลือของโอดีสซีอุส พวกเขาเผชิญหน้ากับการ์กาเรนซิสและจับตัวมาสังหารได้ในที่สุด

เมื่อเป้าหมายบรรลุ อาร์กันโตสจึงมุ่งหน้ากลับยังนครแอตแลนติส แต่ทว่าระหว่างที่กำลังแล่นเรืออยู่นั้น อาร์กันโตสก็พบว่าหัวของการ์กาเรนซิสที่เขาตัดมานั้น แท้จริงแล้วคือหัวของเคมซิท เป็นอีกครั้งหนึ่งที่อาร์กันโตสโดนเล่นงานโดยเทพโลกิ แท้จริงการ์กาเรนซิสยังคงมีชีวิตและกำลังพยายามเปิดประตูบานสุดท้ายสู่ทาร์ทารัสที่นครแอตแลนติสนั่นเอง เมื่ออาร์กันโตสเดินทางกลับมาถึงนครแอตแลนติส จึงเปิดฉากต่อสู้กับการ์กาเรนซิสอีกครั้ง ณ วิหารแห่งเทพโพไซดอน ด้วยพลังที่ซูสประทานให้ทำให้อาร์กันโตสมีชัยเหนือการ์กาเรนซิสในที่สุด แม้กระทั่งเทพโพไซดอนที่พยายามจะขัดขวางอาร์กันโตสจนถึงที่สุด จะพยายามสู้กับเขาก็ไม่อาจเอาชนะได้ ทว่าในท้ายที่สุดภายหลังการต่อสู้อันยาวนานและรุนแรง นครแอตแลนติสก็พังทลาย แผ่นดินจมหายลงในมหาสมุทร แม้ผู้คนชาวแอตแลนติสที่เหลือจะแล่นเรือหนีจากจุดจบนี้ไปได้ แต่อาร์กันโตสนั้นไม่ ทว่าอย่างไรก็ตามแม้อาร์กันโตสจะไม่สามารถหนีจากนครแอตแลนติสได้ทัน เอเธนาก็ยังช่วยเขาเอาไว้ได้และประทานชีวิตอมตะให้แก่เขาในที่สุด

กลับไปที่หน้า "เอจออฟมีโธโลจี"