พูดคุย:จังหวัดภูเก็ตในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566

ความคิดเห็นล่าสุดเมื่อ: 11 เดือนที่ผ่านมา โดย Ooooooòojkddff ในหัวข้อ การพิจารณาที่นั่งเดิม และที่นั่งใหม่

การพิจารณาที่นั่งเดิม และที่นั่งใหม่ แก้

ผมขอใช้โอกาสนี้ในการเสนอความเห็นต่อการพิจารณาที่นั่งเดิม และที่ใหม่ของทั้งจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดอื่นๆครับ

การพิจารณาความต่อเนื่องของเขตเลือกตั้งเดิมต้องยึดจำนวนประชากรภายในเขตเลือกตั้งเป็นหลักในการพิจารณา เพราะการแบ่งเขตเลือกตั้งใช้เกณฑ์จำนวนประชากรในการแบ่งเขตเลือกตั้งมาโดยตลอด (ใช้จำนวนประชากรเฉพาะที่มีสัญชาติไทยตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งล่าสุด) การพิจารณาโดยหาผ่านการหาสัดส่วนจำนวนประชากรคงเหลือในเขตเลือกตั้งที่มากจะสามารถสะท้อนความต่อเนื่องของเขตเลือกตั้งเดิมได้ดีที่สุด ในขณะเดียวกัน การใช้ตัวบุคคลในการพิจารณาเขตเลือกตั้งเดิมเป็นสิ่งที่มีอคติ เพราะบางครั้งตัวบุคคลสามารถเลือกไปลงเลือกตั้งในเขตอื่นๆที่ตนคิดว่าได้เปรียบ หรือด้วยเหตุผลทางการเมืองอื่นๆ ทั้งๆที่มีสัดส่วนประชากรในพื้นที่เดิมน้อยกว่า

ผมได้ทำGG Sheet การเปรียบเทียบเขตเลือกตั้งกรณีของภูเก็ตไว้ตามลิงก์นี้ครับ[1]

หากท่านใดมีความเห็นต่อประเด็นนี้อย่างไร สามารถแสดงความเห็น หรือซักถามได้ครับ ขอบคุณครับ Ooooooòojkddff (คุย) 12:09, 30 มิถุนายน 2566 (+07)ตอบกลับ

@Iamike @Potapt พวกคุณมีความเห็นอย่างไรบ้างครับ Ooooooòojkddff (คุย) 12:12, 30 มิถุนายน 2566 (+07)ตอบกลับ
@Ooooooòojkddff: หมายถึงตรงจุดไหนในบทความครับ ลองยกตัวอย่างเปรียบเทียบการแก้ไขมาหน่อย --Potapt (คุย) 17:48, 30 มิถุนายน 2566 (+07)ตอบกลับ
โดยเหตุที่จังหวัดภูเก็ตได้รับการจัดสรรเขตเลือกตั้งเพิ่มขึ้นจาก 2 เป็น 3 เขตเลือกตั้ง ทำให้เกิดเขตเลือกตั้งเพิ่ม และในทุกตารางผลการเลือกตั้งจะมีการระบุถึงสถานะของพรรคที่ชนะว่า รักษาที่นั่ง/ได้ที่นั่งจาก…/ชนะที่นั่ง (เขตใหม่) ทั้งหมดทำให้เราต้องมาพิจารณาถึงความต่อเนื่องของเขตเลือกตั้งเพื่อให้สามารถระบุสถานะของแต่ละเขตเลือกตั้งให้ชัดเจนที่สุด ว่าเขตใดเป็นเขตเดิมของพรรคใด เขตคือเขตใหม่
ก่อนหน้านี้ผมได้พิมพ์ระบุสถานะตามที่ผมเสนอไป แต่พบว่ามีผู้แก้ไขสิ่งนี้โดยใช้ตัวส.ส.ชุดที่แล้วเป็นเกณฑ์
เขตที่เป็นจุดปัญหาคือเขตที่ 1 และ 2 โดยเขตที่ 1 มีสัดส่วนจำนวนประชากรคงเหลือของเขตที่ 1 ในปี 62 ที่ 59.79% ทว่าส.ส.เดิมเลือกที่จะลงสมัครในเขต 2 ซึ่งเมื่อมีการเปรียบเทียบความต่อเนื่องของเขตเลือกตั้งตามใน GG Sheet จะมีสถานะเป็นเขตใหม่ จากการนำพื้นที่ที่มีประชากรส่วนน้อยจากเขตที่ 1 และ 2 ในปี 62 มีรวมกัน
ดังนั้น ช่องแสดงสถานะท้ายตารางผลการเลือกตั้งของ เขตที่ 1 และ 2 ในปี 66 จะเป็นดังนี้ครับ
เขต 1: ก้าวไกล ได้ที่นั่งจาก พลังประชารัฐ [กล่องฯ: ได้ที่นั่งจาก]
เขต 2: ก้าวไกล ชนะที่นั่ง (เขตใหม่) [กล่องฯ: เขตใหม่] Ooooooòojkddff (คุย) 16:42, 1 กรกฎาคม 2566 (+07)ตอบกลับ
แล้วได้เทียบตำบลในเขตเลือกตั้งคราวก่อนกับตำบลในเขตเลือกตั้งปัจจุบันด้วยหรือเปล่าครับ --Potapt (คุย) 21:07, 1 กรกฎาคม 2566 (+07)ตอบกลับ
เทียบครับ ตามไฟล์ที่ผมส่งมาเลยครับ เปิดไฟล์ได้หรือไม่ครับ Ooooooòojkddff (คุย) 08:03, 2 กรกฎาคม 2566 (+07)ตอบกลับ
ได้ครับ ดูแล้ว ส่วนตัวผมเห็นด้วยกับหลักการของคุณ แต่คุณเก็บกวาดให้ครบทุกจังหวัดหรือทุกครั้งไหวใช่ไหมครับ --Potapt (คุย) 08:31, 2 กรกฎาคม 2566 (+07)ตอบกลับ
ตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างการคำนวณให้ครบทุกจังหวัด และทำย้อนหลังด้วยครับเพื่อความเป็นเอกภาพครับ แต่จะช้าเนื่องจากจะต้องคำนวณจำนวนประชากรที่มีสัญชาติตามเกณฑ์ที่กกต. กำหนดใหม่สำหรับของการเลือกตั้งครั้งล่าสุดครับ ส่วนที่จะมีการทำตารางออกเผยแพร่หรือไม่ อาจจะไม่ครบทุกจังหวัด (ไม่ทำจังหวัดที่มีเขตเลือกตั้งเท่าเดิม และไม่เปลี่ยนแปลงมาก) ผมจะทำตารางออกเผยแพร่เฉพาะจังหวัดที่มีการแก้กันไปมาครับ หรือในกรณีที่มีผู้สนใจครับ
ก่อนหน้านี้ผมทำของกรณีกรุงเทพฯ ออกเผยแพร่มาแล้ว เพื่อประกอบการพูดคุยกับ Editor ผู้หนึ่ง สามารถดูได้ในหน้าอภิปรายของการเลือกตั้งกรุงเทพฯได้เลยครับพูดคุย:กรุงเทพมหานครในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 Ooooooòojkddff (คุย) 11:30, 2 กรกฎาคม 2566 (+07)ตอบกลับ
@Iamike คุณมีความเห็นอย่างไรบ้างครับ Ooooooòojkddff (คุย) 11:53, 2 กรกฎาคม 2566 (+07)ตอบกลับ
กลับไปที่หน้า "จังหวัดภูเก็ตในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566"