พีร์ บุนนาค เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี[1] 3 สมัย เป็นนักไฮด์ปาร์คที่มีบทบาททางการเมืองในช่วง พ.ศ. 2500 ผู้อภิปรายนายกรัฐมนตรี (จอมพล ป.พิบูลสงคราม) จนนำไปสู่การรัฐประหาร

พีร์ บุนนาค
ข้อมูลส่วนบุคคล
พรรคการเมืองพรรคพลังประชาชน
คู่สมรสมัลลิกา บุนนาค

ประวัติ แก้

พีร์ บุนนาค เป็นลูกหลานสายสกุลบุนนาค สายสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) เป็นหลานปู่ของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) ซึ่งเป็นผู้เก็บภาษีร้อยชักสาม หรือสมัยนี้คือกรมศุลกากร รวมไปถึงเป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการคนแรก หรือ ศึกษาธิการในปัจจุบัน นายพีร์ สมรสกับนางมัลลิกา บุนนาค (สกุลเดิม นานากุล)[2]

นายพีร์ มีชื่อเสียงมาจากการไฮปาร์คท้องสนามหลวง[3] ในช่วงปี พ.ศ. 2489 จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี หลังจากได้เดินทางไปเยือนนานาประเทศในช่วงปี พ.ศ. 2498 และเกิดความประทับใจในมุมนักพูด ที่สวนสาธารณะไฮด์ปาร์ค กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ที่เปิดโอกาสให้มีผู้ปราศรัยโจมตีการทำงานของรัฐบาลได้อย่างอิสระ เมื่อกลับมาจึงได้เปิดโอกาสให้กระทำเช่นนั้นที่ท้องสนามหลวง[4] จึงเกิดการปราศรัยครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2498 โดยโจมตีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น และได้ขยายแนวร่วมและการเคลื่อนไหวขึ้นเป็นลำดับ โดยเรียกร้องให้ยกเลิก ส.ส. ประเภทที่ 2 โดยอ้างว่าไม่เป็นประชาธิปไตย และมีการเดินขบวนที่ถนนราชดำเนินและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในปลายปีเดียวกัน จนถูกจับ ผู้ที่ถูกจับคุมขังจึงประท้วงด้วยการอดอาหาร ดาวไฮปาร์คสมัยนั้นได้แก่ พีร์ บุนนาค เทพ โชตินุชิต แคล้ว นรปติ หรือ ทองอยู่ พุฒพัฒน์ (ผู้เสนอสร้างอนุสาวรีย์พระเจ้าตาก)

นายพีร์ ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ในนามพรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค และได้รับเลือกตั้ง[5] เป็น 2 ส.ส.ของพรรค และได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 ในนามพรรคสหภูมิ

เขามีบทบาทโดดเด่นอย่างมาก จนถูกขนานนามว่า "ส.ส.ปากตะไกร" โดยนายพีร์ได้โจมตีพรรคประชาธิปัตย์พาดพิงเบื้องสูงในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2500[6] กล่าวหาจอมพล ป. อย่างรุนแรงว่าบริหารราชการโดยไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยได้ จนเกิดการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพพระมหากษัตริย์[7] และเป็นเหตุให้เกิดการรัฐประหารโดยจอมพลสฤษดิ์ยึดอำนาจจากรัฐบาลจอมพล ป. ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 ถึงปี พ.ศ. 2511 นายพีร์จึงกลับมาทำงานการเมืองโดยรับตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาชน[8] ของเลียง ไชยกาล ในปี พ.ศ. 2511-2514 ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง และได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 ในนามพรรคพลังประชาชน และได้เข้าร่วมรัฐบาลกับหม่อมราชวงศ์คุกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งพรรคพลังประชาชน 2 ที่นั่ง ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม (บุญคุ้ม จันทรศรีสุริยวงศ์) หัวหน้าพรรค

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. กระทู้ถามที่ ส. ๓๑/๒๕๐๐ ของ นายพีร์ บุนนาค สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรี เรื่อง โจรผู้ร้ายในจังหวัดสุพรรณบุรี
  2. "ชมรมสายสกุลบุนนาค". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-20. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
  3. “ไฮด์ปาร์ค” สภาประชาชนกลางสนามหลวง เสียไปคนละสลึงจึงได้มา! หมาได้กินอาหารในจานจากทำเนียบ!!
  4. Rose, Saul. Socialism in Southern Asia. London: Oxford University Press, 1959. p. 181
  5. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
  6. รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยสามัญ(ครั้งแรก) และสมัยสามัญ ชุดที่ 2 พ.ศ. 2500 , (พระนคร : โรงพิมพ์รวมมิตรไทย, 2506) , หน้า 1016. และไทยน้อยและกมล จันทรสร , วอเตอร์ลูของจอมพลแปลก , (พระนคร : บริษัท แพร่ พิทยา และบริษัทโ อเดียนสโตร์, 2503 )
  7. ผลพระคุณ ธ รักษา : พัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทย (87)
  8. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคประชาชน)
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๒๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๗๖, ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙