ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดมหาสารคาม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ggkonkaen (คุย | ส่วนร่วม)
ประวัติศาสตร์
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Ggkonkaen (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ประวัติศาสตร์: ประวัติศาสตร์
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 70:
ต่อมาฝ่ายพระยาเมืองแสนเห็นว่า เจ้าราชครูหลวงมีผู้ติดตามเเละเคารพนับถือเป็นจำนวนมาก คิดเกรงกลัวไปเองว่าท่านจะนำศิษย์ซ่องสุมที่จะแย่งชิงอำนาจไปจากตน จึงคิดที่จะกำจัดทิ้ง แต่ทางเจ้าราชครูหลวงโพนเสม็ดรู้ตัวเสียก่อน จึงนำลูกศิษย์ลูกหาเเละผู้ศรัทธากว่า 3000 ชีวิต ลี้ภัยหนีลงใต้ ระหว่างทางก็มีผู้คนมาสมัครขอเข้าร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก เมื่อเดินไปถึงเขตเเดนเมืองบันทายเพชร์ ซึ่งเป็นดินแดนของอาณาจักร์เขมร เมื่อข่าวไปถึงหูกษัตริย์เขมร กษัตริย์เขมรจึงมีการสั่งให้กลุ่มเจ้าราชครูหลวงจ่ายค่าทำเนียม ครัวละ 2 ตำลึง จึงจะสามารถไปตั้งถิ่นฐานที่นั้นได้ เจ้าราชครูหลวงจึงเห็นว่า เป็นการเดือดร้อนเเก่ผู้ติดตาม อีกทั้งยังเป็นการขูดเลือดขูดเนื้อมากจนเกินไป ท่านจึงสั่งอพยพขึ้นไปตอนเหนือ จนถึงบริเวณเมืองเก่าทางตอนใต้ของอาณาจักร์ล้านช้าง ซึ่งเคยรุ่งเรืองถึงขีดสุดจนถึงขั้นเคยเป็นศูนย์กลางของเขมรโบราณในช่วงยุคเจนละมาก่อน นามว่า “เมืองเศรษฐปุระ” จนผ่านหลายยุคหลายสมัย จนมีนามเมืองว่า “เมืองนครกาละจำบากนาคบุรีศรี” ในการเดินทางอพยพลี้ภัยลงมายังดินเเดนลาวใต้จนถึงถิ่นเมืองเก่าเเห่งนี้นี้เอง เจ้าราชครูหลวงโพนเสม็กมีความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาอาศัยศิษย์เอก อย่าง เจ้าแก้วมงคล เป็นแม่กองใหญ่ และจารย์หวด เป็น รองแม่กอง คอยควบคุมดูแลบริวารเเละไพร่พลของท่านมาตลอดทาง
ภายหลังการมาถึงของกลุ่มเจ้าราชครูหลวงโพนเสม็ด นางเเพง นางเภา คู่เเม่ลูก ผู้ครองเมืองอยู่ขณะนั้น ก็มีความเลื่อมใสศรัทธาต่อเจ้าราชครูหลวง จึงพากันอาราธนาเจ้าราชครูหลวงให้มาปกครองเมืองเเทนพวกตนโดยให้ท่านได้ใช้หลักธรรมค้ำจุนเหล่าชาวเมือง ต่อมาเมื่อเจ้าองค์หล่อเติบโตขึ้นได้ไปพำนักที่เเดนญวน ภายหลังได้กองกำลังสนับสนุนกลับไปยึดเมืองเวียงจันทน์คืน ได้เป็นผลสำเร็จ ประมาณปีพ.ศ. 2245 เเล้วทรงจับพระยาเมืองแสนสำเร็จโทษ เจ้าองค์หล่อจึงได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์อาณาจักร์ล้านช้างสืบต่อมา
ต่อมาในปี พ.ศ. 2252 เกิดเหตุวุ่นวายขึ้นที่นครกาละจำบากนาคบุรีศรี เจ้าราชครูหลวงพยายามจัดการปัญหาด้วยวิธีละมุนละม่อมโดยใช้หลักการทางศาสนาเเต่กลับไม่เป็นผล ท่านจึงส่งจารย์จันทร์ให้ไปอัญเชิญเจ้าหน่อกษัตริย์ซึ่งอยู่ที่ตำบลงิ้วพันลำน้ำโสมสนุก ให้ลงมาปกครองเมืองนครกาละจำบากนาคบุรีศรี อภิเสกขึ้นเป็นกษัตริย์อย่างเป็นทางการ เจ้าราชครูหลวงถวายพระนามท่านว่า “พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร” และได้เปลี่ยนนามเมือง ว่า “นครจำปาศักดิ์นัคบุรีศรี” เเละให้ชื่ออาณาจักร์คือ “อาณาจักร์ล้านช้างจำปาศักดิ์” เป็นเอกเทศต่างหากจากเวียงจันทน์ มีกษัตริย์เอกราช ปกครองด้วยระบอบการปกครองเช่นกับอาณาจักร์ล้านช้างโบราณ ซึ่งใช้ระบบอาญาสี่ หลังจากท่านได้เป็นกษัตริย์ได้ไม่นานก็สามารถปราบปรามปัญหาความวุ่นวายลงได้อย่างง่ายดาย โดยการช่วยของเจ้าจารย์แก้ว(เจ้าเเก้วมงคล)เป็นกำลังสำคัญในการปราบปรามปัญหาความวุ่นวายภายในอาณาจักร์จนเป็นผลสำเร็จ ภายหลังอาณาจักร์สงบสุขเรียบร้อยเเล้ว เพื่อสร้างความมั่นคงเเละความเข้มเเข็งของอาณาจักร์ พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร จึงขยายอำนาจโดยการส่งเหล่าบรรดาขุนนางเเละพระญาติไปสร้างเมืองขึ้นใหม่เเละปกครองเมืองนั้นๆ โดย ให้จารย์หวดไปสร้างเมือเมืองโขง ให้เจ้าจันทร์สุริยวงศ์ (นับว่าเป็นน้องเจ้าจารย์แก้ว และเป็นบรรพบุรุษของสายเจ้าเมืองมุกดาหาร) ไปรักษาเมืองตะโปน เมืองพิน เมืองนอง ส่วนเจ้าจารย์แก้วหรือเจ้าแก้วมงคลให้ไปสร้างเมืองท่งศรีภูมิ (ปัจจุบันคือสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด) โดยให้จารย์แก้วเป็นเจ้าผู้ครองเมืองเสมอกษัตริย์ประเทศราช มีอำนาจสิทธิ์ขาดจัดราชการบริหารบ้านเมืองตามแบบอาญาสี่เช่นเดียวกับนครจำปาศักดิ์ทุกประการและมีการตรากฎหมายหรืออาณาจักร์หลักคำไว้ใช้ในการปกครองบ้านเมืองของตนเอง (พระนามของเจ้าเเก้วมงคลภายหลังมีการได้นำมาใช้เป็นชื่อเจ้าเมือง คือ “รัตนวงษา”) และแต่งตั้งให้เจ้ามืดคำดลเป็นเจ้าอุปราช ต่อมา เจ้าแก้วมงคลผู้ครองเมืองท่งศรีภูมิได้ถึงเเก่พิราลัย ในปีพ.ศ.2268 มีพระโอรสรวม 3 ท่าน คือ 1) เจ้าองค์หล่อหน่อคำ (หลานเจ้านครน่าน) เกิดแต่พระชายาท่านแรกซึ่งเป็นเจ้าหญิงนครน่าน เมื่อครั้ง พระเจ้าวิชัยหรือศรีวิชัย กษัตริย์ล้านช้าง พระองค์ที่ 30 ได้ส่งพระราชโอรส ก็คือ เจ้าแก้วมงคล ไปเกี่ยวดองกับกษัตริย์นครน่าน เพื่อกระชับอำนาจระหว่างทั้ง 2 นครรัฐ ต่อมาเจ้าองค์หล่อหน่อคำได้ไปปกครองนครน่าน และได้เปลี่ยนพระนามเมื่อครั้งได้ครองเมืองน่าน ภายหลังเกิดภัยการเมืองถูกพระยาเมืองแสนยึดอำนาจพระเจ้าวิชัยพร้อมด้วยเจ้าแก้วมงคลและเจ้าจันทร์สุริยวงศ์ จึงลี้ภัยไปพึ่งเจ้าราชครูหลวงโพนสเม็กและออกผนวช พร้อมทั้งพากันเปลี่ยนพระนามเพื่อหลีกเลี่ยงฝ่ายพระยาเมืองแสนจากการถูกปองร้ายหรือถูกตามลอบปลงพระชนม์ ซึ่งเนื้อความที่เกี่ยวข้องกับเจ้าองค์หล่อหน่อคำ มีการระบุใน "พงศาวดารภาคอีสาน ฉะบับของ พระยาขัติยวงษา (เหลา ณร้อยเอ็จ)" หรือพระยาขัติยวงศา เอกาธิกสตานันท์ ผู้สำเร็จราชการเมืองร้อยเอ็จ เชื้อสายเจ้าเมืองร้อยเอ็ดซึ่งสืบเชื้อสายมาเเต่เจ้าจารย์เเก้ว โดยเเต่เดิม ท่านได้เขียนมอบถึงหลวงจรูญชวนะพัฒน์ ข้าหลวงธรรมการ มณฑลอิสาน อุบลฯ พิมพ์ครั้งแรกในงานปลงศพนางศรีสุภา (โต เอี่ยมศิริ) มารดาของหลวงจรูญชวนะพัฒน์ ณ เชิงบรมบรรพต วัดสระเกศ ปีมะเส็ง พ.ศ. 2472 ได้กล่าวถึง สระสี่แจ่ง แฮ้งสี่ตัว แม่หญิงเอาผัว พ่อชายออกลูก ไว้ว่า ".........ครั้นต่อมา เจ้าองค์หล่อหน่อคำ ซึ่งเป็นบุตรจารแก้ว หลานเจ้าเมืองน่าน พาไพร่พลมาสืบหาบิดา ซึ่งรู้ข่าวว่าบิดามาเป็นเจ้าเมือง อยู่ริมสระสี่แจ่ง แฮ้งสี่ตัว แม่หญิงเอาผัว พ่อชายออกลูก ครั้นมาถึงเขตต์เมืองทุ่ง ตั้งค่ายอยู่ระหว่างปากเสียวน้อย ซึ่งเรียกว่าวังหม่านจนบัดนี้นั้น เจ้าองค์หล่อจับได้เพี้ยบุตรตะพานบ้านโนนสูง กวนหมื่นหน้าบ้านเบน ซึ่งยกทัพออกมาต่อสู้กันนอกเมือง เมื่อได้ตัวแม่ทัพสองคนนี้แล้ว จึงซักไล่ไต่ถามหาสระสี่แจง แฮ้งสี่ตัว แม่หญิงเอาผัว พ่อชายออกลูก แม่ทัพทั้งสองได้แจ้งความให้เจ้าองค์หล่อหน่อคำทราบตลอดแต่ต้นจนถึงปลาย เจ้าอค์หล่อหน่อคำจึงได้ทราบว่าเป็นเมืองบิดาของตน แล้วปล่อยให้แม่ทัพสองคนเข้าไปบอกแก่ท้าวมืดน้องชายให้ทราบทุกประการโดยแน่นอนแล้ว ท้าวมืดรู้ว่าพี่ชายแห่งตน จึงได้แต่งให้แสนท้าวออกไปอัญเชิญเจ้าองค์หล่อหน่อคำให้เข้ามายังเมืองทุ่ง แล้วจัดการรับรองให้เป็นเกียรติยศอันดี แล้วท้าวมืดพร้อมกับเจ้าองค์หล่อหน่อคำ จัดการปลงศพจารแก้วผู้เป็นบิดาตามประเพณีผู้ครองบ้านเมืองมาแต่ก่อน เสร็จแล้วเจ้าองค์หล่อหน่อคำก็ลาท้าวมืดน้องชายกลับคืนไปเมืองน่านตามเดิม........." จึงสรุปได้ดังนี้จากประโยคที่ว่า “สระสี่แจ่ง แฮ้งสี่ตัว แม่หญิงเอาผัว พ่อชายออกลูก” เป็นการกล่าวถึงสภาพทางภูมิศาสตร์ของท้องถิ่นเมืองท่งตามกุศโลบายวิธีทางภาษาของชาวลาว-อีสาน 2) เจ้ามืดดำดล หรือ ท้าวมืด เกิดแต่พระชายาท่านที่ 2 ชาวเวียงจันทน์ 3) เจ้าสุทนต์มณี หรือท้าวทนต์ เกิดแต่พระชายาท่านที่ 2 ชาวเวียงจันทน์ หลังจากการพิราลัยของเจ้าแก้วมงคล เจ้ามืดดำดลจึงได้ขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองเมืองแทนพระบิดา ส่วนเจ้าสุทนต์มณีเป็นเจ้าอุปราช ปกครองเมืองท่ง ต่อมา เจ้ามืดดำดลผู้พี่ถึงแก่พิราลัยลง เจ้าสุทนต์มณีผู้น้อง จึงได้เป็นเจ้าเมืองท่งสืบต่อแทน ต่อมาในปีพ.ศ 2308 เจ้าเซียง พระโอรสองค์โตของเจ้ามืด เป็นเจ้าอุปราช และให้เจ้าสูนพระโอรสองค์รองของเจ้ามืด เป็นราชวงศ์ ซึ่งทั้งคู่ล้วนเป็นหลานชายของเจ้าทนต์ ทั้งคู่ต่างมีความอิจฉาเจ้าอาว์ที่ได้เป็นเจ้าเมืองและร่วมมือกันนำเอาทองคำแท่งไปขอสวามิภักดิ์ต่อ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ กษัตริย์อยุธยาพระองค์สุดท้าย เพื่อขอกองทัพจากอยุธยาให้ไปช่วยยึดเมืองท่งจากเจ้าอาว์ของพวกตน พระเจ้าเอกทัศ จึงโปรดเกล้าส่ง พระยาพรหม พระยากรมท่า ออกไปรวบรวมกำลังพลจากหัวเมืองขึ้นใกล้บริเวณ(เมืองท่ง) ของกรุงศรีอยุธยา เมื่อรวบรวมกำลังพลได้แล้วจึงเข้าไปสมทบกับกองทัพของเจ้าเซียงและเจ้าสูน เพื่อที่จะยึดเมืองจากเจ้าทนต์ ทางฝ่ายเจ้าทนต์เจ้าเมืองท่ง ขณะนั้น เมื่อทราบข่าวว่าหลานร่วมมือกับกองทัพอยุธยาจะเข้ามาตีเมืองท่ง เจ้าทนต์เมื่อเห็นว่ากำลังของพวกตนไม่น่าจะพอสู้ได้ จึงได้พาไพร่พลของตนอพยพหลบหนีออกจากเมือง ไปซ่อนตัวที่บ้านดงเมืองจอก(ในพื้นที่ของอำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ในปัจจุบัน)ซึ่งขณะนั้นเป็นเขตแดนของเมืองท่ง ต่อมาฝ่ายเจ้าเซียงและทัพอยุธยาสามารถบุกเข้ายึดเมืองท่งได้อย่างง่ายดาย (เจ้าเมืองหนีไปแล้ว) ภายหลังจึงมีใบบอกตั้งให้เจ้าเซียงเป็นเจ้าผู้ครองเมือง ท่านที่ 4 และเจ้าสูนเป็นเจ้าอุปราช ครองเมืองท่งสืบต่อมา เมืองท่งศรีภูมิจึงกลายมาเป็นเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักร์กรุงศรีอยุธยา และส่งบรรณาการแก่อยุธยา และตัดขาดจากอาอาณาจักร์ล้านช้างจำปาศักดิ์มานับแต่บัดนั้น เมื่อเรียบร้อยแล้ว พระยาพรหม พระยากรมท่า จึงตั้งสำนักที่ทุ่งสนามโนนกระเบาซึ่งอยู่ในท้องที่เมืองท่ง เพื่อคอยสังเกตการณ์เจ้าเซียงและเจ้าทนต์ 2 อาว์หลาน ต่อมา ทัพพม่าราชวงศ์คองบอง สามารถตีกรุงศรีอยุธยาแตก อาณาจักรอยุธยาจึงเสียกรุง ในปี พ.ศ. 2310
ยุครัฐอิสระ และภายใต้อาณาจักร์กรุงธนบุรี
หลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่า ในปีพ.ศ. 2310 ส่งผลให้เมืองท่งศรีภูมิ จึงกลายเป็น รัฐอิสระ อย่างน้อย 7 เดือน เนื่องจากพม่ารุกรานมาไม่ถึงถิ่นเมืองท่ง พม่ารุกรานเพียงแต่ทางฝั่งเมืองหลวง อย่างกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น และเนื่องจากการล่มสลายของอาณาจักร์กรุงศรีอยุธยา เมืองขึ้นที่สำคัญต่างๆซึ่งเคยขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา ต่างล้วนแยกตนเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกันและกัน จึงเกิดเป็นก๊กต่างๆหรือชุมนุมขึ้น ได้แก่ ชุมนุมเจ้าพิมายชุมนุมเจ้าพระฝาง ชุมนุมพระยาตาก(เป็นก๊กที่แข็งแกร่งที่สุด) ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก และชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช ซึ่งก๊กต่างๆเหล่านี้(ยกเว้นชุมนุมพระยาตาก) ต่างพยายามแข็งเมืองต่อกลุ่มอำนาจใหม่ที่แข็งแกร่งของพระยาตาก ซึ่งเป็นกลุ่มอำนาจที่พยายามจะรวบรวมชาติขึ้นใหม่ให้เป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียวอีกครั้ง ณ.เวลานี้เมืองท่งศรีภูมิ จึงเปรียบเหมือนเป็นอีกรัฐหรืออีกประเทศหนึ่งที่มีอิสรภาพอย่างโดดเดี่ยวไม่ได้ขึ้นตรงกับรัฐอื่นรัฐใด เจ้าเซียงจึงเป็นเจ้าผู้ครองรัฐอิสระซึ่งมีอำนาจในการบริหารจัดการและปกครองบ้านเมือง-ประชาชนของตนเองได้อย่างเต็มที่ และมีการตรากฎหมายไว้ใช้ในรัฐของตน ซึ่งเรียกว่า "อาณาจักร์หลักคำเมืองสุวรรณภูมิ" ซึ่งถูกตราขึ้นมาครั้งแรกโดยเจ้าสุทนต์มณี เจ้าเมืองท่งคนที่ 3 ในปีพ.ศ. 2307 โดยดัดแปลงมาจากคัมภีร์โบราณธรรมศาสตร์หลวง กฎหมายล้านช้างโบราณ ซึ่งถูกตราขึ้นโดยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช มหาราชแห่งอาณาจักร์ล้านช้าง จึงบอกได้ว่าตั้งแต่สร้างเมืองท่งศรีภูมิในปีพ.ศ. 2256 ในยุคเจ้าจารย์แก้ว จนถึงปีพ.ศ. 2307 มีการใช้กฎหมายล้านช้างโบราณอย่างคำภีร์โบราณธรรมศาสตร์หลวงในการปกครองบ้านเมือง และจึงมีการตราเป็นรูปแบบของตัวเองอย่างเป็นทางการหลังจากปีพ.ศ. 2307 เป็นต้นมา ซึ่งอาณาจักร์หลักคำเมืองสุวรรณภูมินี้เองยังเป็นต้นแบบของหลักคำเมืองร้อยเอ็ดหรือกฎหมายของเมืองร้อยเอ็ดในเวลาต่อมา โดยหลักคำเมืองสุวรรณภูมิมีการใช้งานและมีความสำคัญมาโดยตลอดจนถึงยุคร.5 เมื่อยุบเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมืองจึงมีการเลิกใช้อาณาจักร์หลักคำและหันมาใช้กฎหมายจากส่วนกลางแทน ในระหว่างปี พ.ศ. 2310-2311 รัฐท่งศรีภูมิในขณะนั้นจึงมีฐานะเทียบเท่ารัฐเอกราชอื่นๆทุกประการ และต่อมาเมืองท่งได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับก๊กพิมาย เพื่อหาพันธมิตรและกำลังสนับสนุนมาคานอำนาจและป้องกันปัญหาเมื่อหากถูกรุกรานจากข้าศึกหรือศัตรูเก่า โดยเฉพาะกลุ่มเจ้าอาว์หรือกลุ่มเจ้าสุทนต์มณีที่ยังคงฝักใฝ่และจงรักภักดีกับพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารแห่งนครจำปาสักซึ่งยังคงที่จะซ่องสุมกำลังและรอคอยโอกาศเพื่อที่จะทวง(ยึด)เมืองคืน นอกจากนี้ก็อาจยังมีกลุ่มจากทางอาณาจักร์ล้านช้างจำปาศักดิ์โดยตรงและอาณาจักร์ล้านเวียงจันทน์ของพระเจ้าสิริบุญสารที่ควรระแวดระวังเป็นพิเศษ ซึ่งแต่เดิมก็มีปัญหากันมาตั้งแต่ครั้งบรรพกาล ซึ่งอาจจะสบโอกาสแว้งมารุกรานและบีบบังคับให้เมืองท่งกลับไปขึ้นต่ออำนาจอาณาจักร์ของตน ในเวลาเมื่อใดไม่ทราบก็เป็นได้ (ซึ่งในเวลาต่อมา ประมาณประมาณปีพ.ศ. 2314 ทางกรุงเวียงจันทน์ได้ร่วมมือกับกองทัพพม่าคองบองจากเชียงใหม่ ทำลายเมืองหนองบัวลำภู และสังหารพระตาซึ่งเป็นเสนาบดีเก่าของเวียงจันทน์และมีปัญหาความบาดหมางกันมาก่อนตายคาสนามรบ) ถือว่าเป็นความฉลาดหลักแหลมของเจ้าผู้ครองเมืองอย่างเจ้าเซียงในการป้องกันและบริหารจัดการบ้านเมืองให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุข จึงทำให้ในเวลาตลอดเกือบกว่า 1 ปี เมืองท่งศรีภูมิรอดพ้นจากภัยข้าศึกศัตรูรอบข้างที่อาจจะเข้ามารุกราน จนกระทั่ง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สามารถกู้กรุงสำเร็จ และทำลายก๊กพิมายหรือชุมนุมพิมายและเมืองพิมาย จับตัวกรมหมื่นเทพพิพิธ เจ้าเมืองพิมาย ซึ่งเป็นเจ้าชายอยุธยา เชื้อกษัตริย์อยุธยา ได้ พระยาตากจึงเกลี้ยกล่อมให้กรมหมื่นเทพพิพิธสวามิภักดิ์แก่ตน แต่กรมหมื่นเทพพิพิธไม่ยอมสวามิภักดิ์จึงถูกพระยาตากสำเร็จโทษ(ประหารชีวิต) ต่อมาไม่นานพระยาตากสามารถรวบรวมก๊กต่างๆที่กระจัดกระจายให้กลับมารวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้เป็นผลสำเร็จ และสถาปนาอาณาจักร์ขึ้นใหม่นามว่า "อาณาจักร์กรุงธนบุรี" และสถาปนาตนเองเป็นพระมหากษัตริย์ซึ่งมีพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" และในปีเดียวกันนั้น หลังจากเมืองท่งศรีภูมิ เป็น อิสระ ได้ไม่นาน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้สถาปนาอาณาจักรธนบุรี เสร็จสิ้นแล้ว จึงรับสั่งให้เมืองประเทศราชทุกเมือง ที่เคยสวามิภักดิ์ ต่อ อาณาจักรอยุธยา ให้อยู่ภายใต้อำนาจดังเดิม เจ้าเซียง หรือ เจ้าเซียง จึงได้สวามิภักดิ์ขอเป็นเมืองประเทศราช ดังเดิม ต่อมา พระยาพรหม พระยากรมท่า ได้ปรึกษากับเจ้าเซียงเจ้าเมืองท่ง ได้ความว่า ที่ตั้งของเมืองท่งศรัภูมิเดิม มีน้ำกัดเซาะ และมีปัญหาน้ำท่วมเกือบทุกปี อันเนื่องมาจากที่ตั้งเมืองใกล้ลำน้ำเสียวมากเกินไป จึงเป็นการดีถ้าหากมีการย้ายที่ตั้งเมืองไปยังดงเท้าสาร(ที่ตั้งที่ทำการอำเภอสุวรรณภูมิ ในปัจจุบัน) เนื่องจากพื้นที่บริเวณนั้นเป็นดินเนินสูง ปลอดภัยจากภัยพิบัติน้ำท่วม จึงมีใบบอกขอโปรดเกล้าให้ย้ายที่ตั้งเมืองใหม่ พระเจ้าตากจึงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ตามดังนั้น และได้พระราชทานนามเมืองใหม่ ว่า “เมืองสุวรรณภูมิราชบุรินทร์ประเทศราช” พร้อมทั้งสถาปนาพระยศ ให้แก่เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ อย่าง เจ้าเซียง เป็นที่ "พระรัตนวงษา" และให้ใช้พระนามดังกล่าวแก่เจ้าเมืองสุวรรณภูมิทุกท่านที่ได้สืบต่อเป็นเจ้าเมืองสืบต่อไป (ซึ่งพระยศนี้หมายถึง ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากเจ้าแก้วมงคล ผู้เป็นปฐมราชวงศ์เจ้าผู้ครองเมืองท่งศรีภูมิ พระองค์แรก) ส่วนทางฝั่งเจ้าสุทนต์มณีซึ่งยังคงมีความจงรักภักดีต่อกษัตริย์ล้านช้างจำปาสักอยู่เนืองๆ นับตั้งแต่หลังพ่ายแพ้สงครามและเสียเมืองท่งให้แก่หลานของตนจึงยังคงกบดานอยู่แถวบริเวณบ้านดงเมืองจอก(บริเวณ ตำบลบ้านดู่ อำเภออาจสามมารถ จังหวัดร้อยเอ็ด) ซึ่งยังอยู่ในอาณาเขตของเมืองท่งศรีภูมิ ผ่านเลยจากยุคอยุธยาตอนปลาย ยุครัฐอิสระ จนถึงยุคกรุงธนบุรี ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2308 - พ.ศ. 2318 รวมระยะเวลากว่า 10 ปี