ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สังเวชนียสถาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
{{สถานที่สำคัญในพุทธภูมิ}}
 
'''สังเวชนียสถาน''' (อ่านว่า สัง-เว-ชะ-นี-ยะ-สะ-ถาน) แปลว่า ''สถานที่อันเป็นที่ตั้งแห่งความ[[สังเวช]]'' เป็นคำที่ใช้เรียกสถานที่เกี่ยวเนื่องกับ[[พระพุทธเจ้า]]โดยเฉพาะ
 
'''สังเวชนียสถาน''' หมายถึงสถานที่ที่ทำให้เกิดความรู้สึกระลึกถึงพระพุทธเจ้า เกิดความแช่มชื่น เบิกบาน เกิดแรงบันดาลใจที่จะทำความดี เมื่อได้ไปพบเห็น
 
'''สังเวชนียสถาน''' มี 4 แห่ง คือ
# [[ลุมพินีวัน|สถานที่ประสูติ]]
# [[พุทธคยา|สถานที่ตรัสรู้]]
# [[สารนาถ|สถานที่แสดงปฐมเทศนา]]
# [[กุสินารา|สถานที่ปรินิพพาน]]
 
'''สังเวชนียสถาน''' 4 แห่งนี้ ท่านว่าเป็นสถานที่ควรไปเคารพสักการะ ควรไปแสวงบุญ เพื่อให้เกิดความ[[สังเวช]]และเกิดพุทธานุสติ อันจักนำมาซึ่งบุญกุศลและความปลาบปลื้มแช่มชื่นใจ จากเนื้อความในมหาปรินิพพานสูตร แสดงให้เห็นว่าสังเวชนียสถานทั้งสี่นี้ได้เกิดขึ้นโดยคำแนะนำของพระพุทธองค์ ที่ได้ตรัสว่า '''ผู้ใดระลึกถึงพระองค์ พึงจาริกไปยังสังเวชนียสถานทั้งสี่นี้''' <ref name="มหาปรินิพพานสูตร">พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค '''มหาปรินิพพานสูตร'''. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก <[http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=3316&Z=3915&pagebreak=0]>. เข้าถึงเมื่อ 10-7-53</ref>
 
ต่อมาภายหลังจึงเกิดการจาริกไปยังสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปาฏิหาริย์เพิ่มขึ้นอีก 4 แห่ง นั่นคือ<ref>รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. พระพุทธปฏิมาสยาม. กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพรส, 2553. หน้า 8</ref>
# [[สังกัสสะ|สถานที่เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์]]
# [[สาวัตถี|สถานที่แสดงยมกปาฏิหาริย์]]
# [[ราชคฤห์|สถานที่ทรมานช้างนาฬคีรี]]
# [[เวสาลี|สถานที่ทรมานพญาวานร]]
 
==สถานที่สำคัญในสังเวชนียสถาน==
=== สถานที่เนื่องด้วยการประสูติ (ลุมพินีวัน หรือที่ชาวอินเดียเรียกว่า รุมมินเด) ===