ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เม็กกาโลดอน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 9:
ขนาดของเม็กกาโลดอน อาจมีความยาวประมาณ 20–22 เมตร (มากกว่า 60 ฟุต) ฟันของเม็กกาโลดอน มีความยาวประมาณ 21 [[เซนติเมตร]] พบที่[[รัฐนอร์ทแคโรไลนา]] และมีขนาดกรามใหญ่ถึง 2 เมตร นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเม็กกาโลดอนที่ยังอ่อน จะอาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเล และตัวใหญ่จะออกหากินตามทะเลเปิดและก้นมหาสมุทร โดยสามารถว่ายน้ำและโจมตีเหยื่อได้อย่างรวดเร็ว
 
== การสูญพันธุ์และการอ้างว่ามีการพบเห็น ==
ปัจจุบัน เม็กกาโลดอนได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้วราว 2 ล้านปีก่อน คาดว่าอาจเป็นเพราะ วาฬเริ่มอพยพสู่เขตน้ำเย็น ซึ่งเม็กกาโลดอนอาศัยอยู่ได้แค่เขตน้ำอุ่นเท่านั้น มันไม่สามารถเพิ่มอุณหภูมิในร่างกายได้เหมือน ปลาฉลามขาว จึงไม่มีอาหารขนาดใหญ่พอสำหรับมัน จึงเป็นสาเหตุให้เม็กกาโลดอนเริ่มสูญพันธุ์ไปจนหมด แต่ยังเหลือปลาที่มีความใกล้เคียงกันที่สุดก็คือ ปลาฉลามขาว ความใหญ่และน่ากลัวของเม็กกาโลดอนทำให้มีผู้นำไปสร้างเป็นนวนิยายและภาพยนตร์หลายต่อหลายเรื่อง เช่น ''[[Shark Attack 3: Megalodon]]'' ในปี [[ค.ศ. 2002]], นวนิยายเรื่อง ''Megalodon เขี้ยวมหึ...สึนามิ'' นวนิยายแนววิทยาศาสตร์สยองขวัญ โดย ดร.[[ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์]] นักเขียนและนัก[[สมุทรศาสตร์]]ชาวไทย ในปี ค.ศ. 2005 หรือสารคดีทางโทรทัศน์เรื่อง ''[[Megalodon: The Monster Shark Lives]]'' เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2013 ทาง[[Discovery Channel|ช่องดิสคัฟเวอรี]] <ref>{{cite web| url=http://www.huffingtonpost.com/2013/08/05/shark-week-megalodon-monster-shark-video_n_3706120.html?utm_hp_ref=green&ir=Green |title=Shark Week 'Megalodon: The Monster Shark Lives' Tries To Prove Existence Of Prehistoric Shark (VIDEO) |publisher=Huff Post Green |date=5 August 2013 |access-date=11 August 2013}}</ref>
 
อย่างไรก็ดี ในปี [[ค.ศ. 1933]] มีชาย[[ชาวอเมริกัน]]คนหนึ่งอ้างว่า เขาได้พบเห็นปลาฉลามตัวหนึ่งที่มีขนาดใหญ่กว่าปลาฉลามปกติทั่วไปหลายเท่า โดยพบที่[[มหาสมุทรแปซิฟิก]]นอกชายฝั่งของ[[สหรัฐอเมริกา]] เขาอ้างว่าเฉพาะหัวส่วนของมันมีขนาดใหญ่ราว 10 [[ฟุต]]<ref name=my>{{IMDb title|0439949|Mystery Hunters (TV Series 2002– )}}</ref>
 
อนึ่ง เมื่อไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้ติดตั้งกล้องน้ำลึกเพื่อบันทึกภาพการกินเหยื่อของฉลาม และพบฉลามตัวหนึ่งที่มีขนาดใหญ่มาก โดยที่นักวิทยาศาสตร์ไม่รู้ว่า มันคือปลาฉลามชนิดไหน แต่อาจมีความเป็นไปได้ว่า คือ เม็กกาโลดอน (แต่มีผู้สันนิษฐานว่า คือ [[ปลาฉลามสลีปเปอร์แปซิฟิก]] (''Somniosus pacificus'') ซึ่งโตเต็มที่ยาวได้ 7 เมตร)
 
== อ้างอิง ==