ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปัญญาประดิษฐ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 7421817 สร้างโดย 49.48.244.185 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 3:
{{AI}}
 
'''ปัญญาประดิษฐ์''' (Artificial Intelligence
'''ปัญญาประดิษฐ์''' (Artificial Intelligence) หรือ '''เอไอ''' (AI) หมายถึง[[ความฉลาด]]เทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต ปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งในด้าน[[วิทยาการคอมพิวเตอร์]] และ[[วิศวกรรม]]เป็นหลัก แต่ยังรวมถึงศาสตร์ในด้านอื่น ๆ อย่าง[[จิตวิทยา]] [[ปรัชญา]] หรือ[[ชีววิทยา]] ซึ่งสาขาปัญญาประดิษฐ์เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการการคิด [[การกระทำ]] [[การให้เหตุผล]] [[การปรับตัว]] หรือ[[การอนุมาน]] และการทำงานของ[[สมอง]] แม้ว่าดังเดิมนั้นเป็นสาขาหลักในวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่แนวคิดหลาย ๆ อย่างในศาสตร์นี้ได้มาจากการปรับปรุงเพิ่มเติมจากศาสตร์อื่นๆ เช่น
* [[การเรียนรู้ของเครื่อง]] นั้นมีเทคนิคการเรียนรู้ที่เรียกว่า ''[[การเรียนรู้ต้นไม้ตัดสินใจ]]'' ซึ่งประยุกต์เอาเทคนิคการ[[อุปนัย]]ของ [[จอห์น สจวร์ต มิลล์]] [[นักปรัชญา]]ชื่อดังของ[[ประเทศอังกฤษ|อังกฤษ]] มาใช้
* [[เครือข่ายประสาทเทียม]]ก็นำเอาแนวคิดของการทำงานของสมองของมนุษย์ มาใช้ในการแก้ปัญหา[[การแบ่งประเภท]]ของข้อมูล และแก้ปัญหาอื่นๆ ทาง[[สถิติศาสตร์|สถิติ]] เช่น [[การวิเคราะห์ความถดถอย]]หรือ [[การปรับเส้นโค้ง]]
 
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปัจจุบันวงการปัญญาประดิษฐ์ มีการพัฒนาส่วนใหญ่โดย[[นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์]] อีกทั้งวิชาปัญญาประดิษฐ์ ก็ต้องเรียนที่ภาควิชาคอมพิวเตอร์ของคณะ[[วิทยาศาสตร์]]หรือคณะ[[วิศวกรรมศาสตร์]] เราจึงถือเอาง่าย ๆ ว่า ศาสตร์นี้เป็นสาขาของวิทยาการคอมพิวเตอร์นั่นเอง
 
หนังสืออ้างอิงที่ดีและทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน คือของ Russell and Norvig, 2003<ref>Stuart J. Russell, Peter Norvig (2003) "Artificial Intelligence: A Modern Approach" (2nd Edition), Prentice Hall, New Jersey, ISBN 0-13-790395-2.</ref> ผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเล่มนี้
 
== ประวัติ ==
 
แนวคิดเรื่องเครื่องจักรที่คิดได้และสิ่งมีชีวิตเทียมนั้นมีมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ เช่นหุ่นยนต์[[ทาลอส]]แห่ง[[ครีต]] อันเป็นหุ่นยนต์ทองแดงของเทพ[[ฮิฟีสตัส]] แหล่งอารยธรรมใหญ่ ๆ ของโลกมักจะเชื่อเรื่องหุ่นยนต์ที่มีความคล้ายกับมนุษย์ เช่น ในอียิปต์และกรีซ ต่อมา ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 และ 20 สิ่งมีชีวิตเทียมเริ่มปรากฏอย่างแพร่หลายในนิยายวิทยาศาสตร์ เช่น [[แฟรงเกนสไตน์]]ของ[[แมรี เชลลีย์]] หรือ [[R.U.R.]]ของ[[กาเรล ชาเปก]] แนวคิดเหล่านี้ผ่านการอภิปรายมาอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในแง่ของความหวัง ความกลัว หรือความกังวลด้านศีลธรรมเนื่องจากการมีอยู่ของปัญญาประดิษฐ์
 
กลไกหรือการให้[[เหตุผล]]อย่างมีแบบแผน ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณ การศึกษาด้านตรรกศาสตร์นำไปสู่การคิดค้นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ดิจิตอลที่โปรแกรมได้โดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์ของ[[แอลัน ทัวริง]]และคนอื่นๆ [[ทฤษฎีการคำนวณ]]ของทัวริงชี้ว่า เครื่องจักรที่รู้จักการสลับตัวเลขระหว่าง 0 กับ 1 สามารถเข้าใจนิรนัยทางคณิตศาสตร์ได้ หลังจากนั้น การค้นพบทางด้าน[[ประสาทวิทยา]] [[ทฤษฎีสารสนเทศ]] และไซเบอร์เนติกส์ รวมทั้งทฤษฎีการคำนวณของทัวริง ได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มเริ่มสนใจพิจารณาความเป็นไปได้ของการสร้าง '''สมองอิเล็กทรอนิกส์''' ขึ้นมาอย่างจริงจัง
 
สาขาปัญญาประดิษฐ์นั้นเริ่มก่อตั้งขึ้นในที่ประชุมวิชาการที่[[วิทยาลัยดาร์ตมัธ]] สหรัฐอเมริกาในช่วงหน้าร้อน [[ค.ศ. 1956]]<ref name="Dartmouth conference">
[[Dartmouth conference]]:
* {{Harvnb|McCorduck|2004|pp=111–136}}
* {{Harvnb|Crevier|1993|pp=47–49}}, who writes "the conference is generally recognized as the official birthdate of the new science."
* {{Harvnb|Russell|Norvig|2003|p=17}}, who call the conference "the birth of artificial intelligence."
* {{Harvnb|NRC|1999|pp=200–201}}
</ref> โดยผู้ร่วมในการประชุมครั้งนั้น ได้แก่ [[จอห์น แม็กคาร์ธีย์]] [[มาร์วิน มินสกี]] [[อัลเลน นิวเวลล์]] [[อาเธอร์ ซามูเอล]] และเฮอร์เบิร์ต ไซมอน ที่ได้กลายมาเป็นผู้นำทางสาขาปัญญาประดิษฐ์ในอีกหลายสิบปีต่อมา นักวิทยาศาสตร์และนักศึกษาของพวกเขาเหล่านี้เขียนโปรแกรมที่หลายคนทึ่ง ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ที่สามารถเอาชนะคนเล่นหมากรุก แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับคำด้วยพีชคณิต พิสูจน์ทฤษฎีทางตรรกวิทยา หรือแม้กระทั่งพูดภาษาอังกฤษได้ ผู้ก่อตั้งสาขาปัญญาประดิษฐ์กลุ่มนี้เชื่อมั่นในอนาคตของเทคโนโลยีใหม่นี้มาก โดย[[เฮอร์เบิร์ต ไซมอน]]คาดว่าจะมีเครื่องจักรที่สามารถทำงานทุกอย่างได้เหมือนมนุษย์ภายใน 20 ปีข้างหน้า และ[[มาร์วิน มินสกี]]ก็เห็นพ้องโดยการเขียนว่า "เพียงชั่วอายุคน ปัญหาของการสร้างความฉลาดเทียมจะถูกแก้ไขอย่างยั่งยืน"
 
อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้กลับไม่ได้พิจารณาถึงความยากของปัญหาที่จะพบมากนัก ในปี ค.ศ. 1974 เซอร์ เจมส์ ไลท์ฮิลล์ ได้เขียนวิพากษ์วิจารณ์สาขาปัญญาประดิษฐ์ ประกอบกับมีแรงกดดันจากสภาคองเกรสของสหรัฐฯให้ไปให้เงินสนับสนุนโครงการมีผลผลิตออกมาเป็นรูปธรรมมากกว่า ดังนั้น รัฐบาลสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรจึงได้ตัดงิบประมาณการวิจัยที่ไร้ทิศทางของสาขาปัญญาประดิษฐไป จนเป็นยุคที่เรียกว่า หน้าหนาวของปัญญาประดิษฐ์ (AI winter) กินเวลาหลายปี ซึ่งโครงการด้านปัญญาประดิษฐ์แต่ละโครงการนั้นหาเงินทุนสนับสนุนยากมาก
 
ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 งานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก ด้วยระบบที่ชื่อว่า [[ระบบผู้เชี่ยวชาญ]] อันเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการหาคำตอบ อธิบายความไม่ชัดเจน ซึ่งปกตินั้นจะใช้ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาตอบคำถามนั้น ในปี ค.ศ. 1985 ตลาดของปัญญาประดิษฐ์ทะยานขึ้นไปแตะระดับ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะเดียวกัน โครงการคอมพิวเตอร์รุ่นที่ 5 ของญี่ปุ่นก็ได้จุดประกายให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรหันมาให้เงินทุนสนับสนุนงานวิจัยในสาขาปัญญาประดิษฐ์อีกครั้ง
 
ในทศวรรษ 1990 และช่วงต้นศตวรรษที่ 21 ปัญญาประดิษฐ์ประสบความสำเร็จอย่างสูงแม้ว่าจะมีหลายอย่างที่อยู่เบื้องหลัง มีการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในด้านการขนส่ง [[การทำเหมืองข้อมูล]] [[การวินิจฉัยทางการแพทย์]] และในอีกหลายสาขาหลายอุตสาหกรรม ความสำเร็จของปัญญาประดิษฐ์นั้นได้รับการผลักดันมาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเรื่องของความเร็วของคอมพิวเตอร์ที่มีการประมวลผลที่เร็วขึ้น (ตามกฎของมัวร์) การให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาย่อยบางปัญหา การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างปัญญาประดิษฐ์กับสาขาอื่นๆที่ทำงานอยู่กับปัญญาที่คล้าย ๆ กัน ตลอดจนความมุ่งมั่นของนักวิจัยที่ใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่มีหลักการ
 
เมื่อวันที่ [[11 พฤษภาคม]] [[ค.ศ. 1997]] เครื่อง[[ดีปบลู]]ของบริษัท[[ไอบีเอ็ม]] กลายมาเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่สามารถเล่นหมากรุกเอาชนะ แกรี คาสปารอฟ แชมป์โลกในขณะนั้นได้ และในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 เครื่อง[[วัตสัน]]ของบริษัท[[ไอบีเอ็ม]]ก็สามารถเอาชนะแชมป์รายการตอบคำถาม[[จีโอพาร์ดี]]ได้แบบขาดลอย นอกจากนี้ เครื่องเล่นเกมอย่าง Kinect ก็ใช้เทคโนโลยีของปัญญาประดิษฐ์ มาใช้ในการสร้างส่วนติดต่อกับผู้ใช้ผ่านทางการเคลื่อนไหวร่างกายใน 3 มิติเช่นกัน
 
== นิยามของปัญญาประดิษฐ์ ==
[[ไฟล์:HONDA ASIMO.jpg|thumb|หุ่นยนต์ของฮอนด้า ที่รู้จักดีในด้านปัญญาประดิษฐ์]]