ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 7063250 สร้างโดย 49.49.244.230 (พูดคุย)
Bnbnbnbnbnbnbnbn (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขผิดปกติในบทความคัดสรร/คุณภาพ การแก้ไขแบบเห็นภาพ
บรรทัด 21:
| signature = Singnature of Ananda Mahidol.png
}}
'''พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร''' ([[20 กันยายน]] [[พ.ศ. 2468]] – [[9 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2489]]) เป็นพระโอรสใน[[สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์]] (ภายหลังดำรงพระอิสริยยศเป็น[[สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก]]) และหม่อมสังวาลย์ (ภายหลังดำรงพระยศเป็น[[สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี]]) มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระชนกชนนีอีก 2 พระองค์ ได้แก่ [[สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์]] และ[[สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช]] (ภายหลังทรงขึ้นครองราชสมบัติเป็น[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]])
 
55555
พระองค์เสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 8 แห่ง[[ราชวงศ์จักรี]] เมื่อวันที่ [[2 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2477]] ขณะที่มีพระชนมายุเพียง 8 พรรษาและประทับอยู่ที่[[ประเทศสวิตเซอร์แลนด์]] ดังนั้น จึงมีการแต่งตั้ง[[ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ประเทศไทย)#ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8|คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์]]เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินจนกว่าพระองค์จะทรงบรรลุนิติภาวะ
 
พระองค์เสด็จนิวัติพระนครครั้งแรกภายหลังทรงราชย์เมื่อวันที่ [[15 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2481]] และครั้งที่สองเมื่อวันที่ [[5 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2488]] ก่อนกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อที่[[ประเทศสวิตเซอร์แลนด์]]เพียง 4 วัน พระองค์เสด็จสวรรคตด้วยทรงต้องพระแสง[[ปืน]]เมื่อวันที่ [[9 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2489]] ณ ห้องพระบรรทม [[พระที่นั่งบรมพิมาน]] ภายใน[[พระบรมมหาราชวัง]] รวมระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติทั้งสิ้น 12 ปี
 
== พระราชประวัติ ==
[[ไฟล์:Mahidols-1938.jpg|250px|thumb|left| (ด้านหน้า จากขวามาซ้าย) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช; [[สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี]] และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ทรงฉายระหว่างการเสด็จนิวัติพระนครเมื่อปี พ.ศ. 2481 (ภาพฝีพระหัตถ์ของ[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร]])]]
{{พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี}}
 
=== ขณะทรงพระเยาว์ ===
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเป็นพระโอรสใน[[สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก]] กับ [[สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี]] เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ตรงกับวันที่ [[20 กันยายน]] [[พ.ศ. 2468]] ณ เมือง[[ไฮเดลแบร์ก]] [[สาธารณรัฐไวมาร์]] (ปัจจุบันคือ[[ประเทศเยอรมนี]]) ขณะที่สมเด็จพระราชบิดาทรงศึกษาการแพทย์ที่[[ประเทศเยอรมัน]] โดยได้รับพระราชทานพระนามจาก[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ว่า '''หม่อมเจ้าอานันทมหิดล มหิดล''' หลังจากนั้น [[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงสถาปนาขึ้นเป็น '''พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล''' <ref name="หนังสือ">วุฒิชัย มูลศิลป์ และคณะ, พระมหากษัตริย์แห่ง[[กรุงรัตนโกสินทร์]], อัลฟ่า มิเล็นเนียม, ISBN 974-91048-5-4 </ref><ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2470/A/253.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า], เล่ม 44, ตอน 0ก, 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470, หน้า253</ref> พระมารดาออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า ''นันท'' <ref name="เจ้านายเล็กๆ">สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา, ''เจ้านายเล็กๆ - ยุวกษัตริย์'', ซิลค์เวอร์ม บุคส์, พิมพ์ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2549, 450 หน้า, ISBN 974-7047-55-1
</ref> พระองค์ทรงมีสมเด็จพระเชษฐภคินี 1 พระองค์ ได้แก่ [[สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์]] และสมเด็จพระอนุชา 1 พระองค์ คือ [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]
 
เมื่อทรงพระเยาว์ได้ตามเสด็จสมเด็จพระราชบิดาและสมเด็จพระราชชนนีไปยังประเทศต่าง ๆ ได้แก่ [[ประเทศฝรั่งเศส]] [[ประเทศสวิตเซอร์แลนด์]] และ[[สหรัฐอเมริกา]] ซึ่งสมเด็จพระราชบิดาทรงเข้าศึกษาวิชา[[แพทยศาสตร์]] ณ [[มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด]] [[สหรัฐอเมริกา]] ในระหว่างปี พ.ศ. 2469 - 2471 แล้วจึงเสด็จกลับประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อพระชนมายุได้ 3 พรรษา ประทับ ณ [[วังสระปทุม]] ในระหว่างนั้นสมเด็จพระราชบิดาทรงพระประชวรและสิ้นพระชนม์ ดังนั้น พระองค์จึงอยู่ในความดูแลของสมเด็จพระราชชนนีเพียงพระองค์เดียว <ref name="มูลนิธิอานันทมหิดล"/>
 
พระองค์ทรงเริ่ม[[การศึกษา]]ชั้นต้นที่[[โรงเรียนมาแตร์เดอี]] และเข้าศึกษาต่อที่[[โรงเรียนเทพศิรินทร์]] หลังจาก[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475|เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475]] นั้น [[สมเด็จพระราชชนนี]]ได้ขอพระราชทานพระราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการที่จะทรงนำพระโอรสและพระธิดาไปประทับที่เมือง[[โลซาน]] [[ประเทศสวิตเซอร์แลนด์]] โดยพระองค์ได้เข้าศึกษาต่อที่[[โรงเรียนมีเรมองต์]] ต่อมาย้ายไปศึกษาที่[[โรงเรียนนูแวลเดอลา]] ซูวิสโรมองต์ และทรงศึกษาภาษาไทย ณ ที่ประทับ โดยมีพระอาจารย์ตามเสด็จไปจากกรุงเทพ<ref>อ. วิโรจน์ ไตรเพียร, 9 รัชกาลแห่งราชวงศ์จักรี, สำนักพิมพ์ คลังศึกษา,2543,หน้า 108-116</ref>
 
=== การขึ้นทรงราชย์ ===
[[ไฟล์:รัชกาลที่8.jpg|thumb|left|พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเมื่อยังทรงพระเยาว์]]
วันที่ [[2 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2477]] พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ และมิได้ทรงสมมติเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่งเป็นรัชทายาท ดังนั้น คณะรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรจึงได้อัญเชิญเสด็จพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลที่มีพระชันษาเพียง 9 ปี ซึ่งเป็นเจ้านายเชื้อพระบรมวงศ์พระองค์ที่ 1 ในลำดับพระราชสันตติวงศ์แห่งกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. 2467 ขึ้นทรงราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล สืบพระราชสันตติวงศ์ต่อไปตั้งแต่วันที่ [[2 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2477]]<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2477/A/1330.PDF ประกาศ สภาผู้แทนราษฎรรับทราบในการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติและลงมติเห็นชอบในการอัญเชิญ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ขึ้นทรงราชย์], เล่ม 51, ตอน 0ก, 7 มีนาคม พ.ศ. 2477, หน้า 1330 </ref> และได้รับการเฉลิมพระนามเมื่อวันที่ [[25 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2477]] ว่า '''สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล'''<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2477/A/1407.PDF ประกาศ เรื่อง เฉลิมพระนามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว], เล่ม 51, ตอน 0ก, 25 มีนาคม พ.ศ. 2477, หน้า 1407 </ref><ref>คำว่า "พระบาท" นั้น ใช้นำหน้า "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" ที่ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว จาก [http://story.thaimail.com/5may/5_2.html วันฉัตรมงคล เว็บไซต์ Thaimail]</ref>
 
ในขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุ 8 พรรษา และยังคงประทับอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จึงต้องมี[[ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์#ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8|ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์]]เพื่อบริหารราชการแผ่นดินแทนจนกว่าจะทรงบรรลุนิติภาวะ ได้แก่ [[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าออศคาร์นุทิศ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์]] [[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา]] และ [[เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)]] <ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2477/A/1332.PDF ประกาศพิเศษ เรื่อง ตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์], เล่ม 51, ตอน 0ก, 7 มีนาคม พ.ศ. 2477, หน้า 1332 </ref>
 
เมื่อวันที่ [[12 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2478]] พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์สิ้นพระชนม์ สภาผู้แทนราษฎรจึงได้แต่งตั้งให้นายพลเอก [[เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน)]] เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2478/A/1260.PDF ประกาศ ตั้งซ่อมคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และตั้งประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ใหม่], เล่ม 52, ตอน 0ก, 21 สิงหาคม พ.ศ. 2478, หน้า 1260</ref> และเมื่อเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ถึงแก่อสัญญกรรม จึงมีการแต่งตั้งให้[[ปรีดี พนมยงค์|นายปรีดี พนมยงค์]] เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แทน<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2484/A/1821.PDF ประกาศตั้งซ่อมคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม)], เล่ม 58, ตอน 0ก, 16 ธันวาคม พ.ศ. 2484, หน้า 1821</ref> หลังจากนั้น เมื่อเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน) ถึงแก่อสัญญกรรม รวมทั้ง พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง นายปรีดี พนมยงค์ จึงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพียงผู้เดียว <ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2487/A/045/730.PDF ประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร เรื่องตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ], เล่ม 61, ตอน 45ก, 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487, หน้า 730</ref> จนกว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จกลับสู่พระนคร<ref name="เล่ม 62">ราชกิจจานุเบกษา,[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2488/A/052/559.PDF ประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์], เล่ม 62, ตอน 52ก, 20 กันยายน พ.ศ. 2488, หน้า 559 </ref>
 
=== การเสด็จนิวัติพระนคร ===
[[ไฟล์:Ananda Mahidol and Louis Mountbatten in 19 January 1946.jpg|thumb|250px|พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลกับ[[หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน]] เมื่อวันที่ [[19 มกราคม]] [[พ.ศ. 2489]]]]
รัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัติ[[พระนคร]] เมื่อปลายปี [[พ.ศ. 2477]] เพื่อประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก แต่เนื่องจากพระพลานามัยของพระองค์ไม่สมบูรณ์จึงได้เลื่อนกำหนดออกไปก่อน และได้กราบบังคมทูลอัญเชิญเสด็จฯ อีกครั้งในปี [[พ.ศ. 2478]] แต่ก็ทรงติดขัดเรื่องพระพลานามัยอีกเช่นกัน หลังจากนั้น รัฐบาลได้ส่งพลโท พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร ([[ม.ร.ว.สิทธิ์ สุทัศน์]]) ไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชชนนีที่[[โลซาน]] [[ประเทศสวิตเซอร์แลนด์]] เพื่อทูลอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัติพระนครอีกครั้งในปี [[พ.ศ. 2479]] อย่างไรก็ตาม ในระหว่างเตรียมการเสด็จนิวัติพระนครนั้น ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่ คณะรัฐบาลใหม่จึงขอเลื่อนการรับเสด็จออกไปอย่างไม่มีกำหนด<ref name="ศิลปากร">ศิลปากร,กรม, พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล, กรุงเทพฯ, โรงพิมพ์ บริษัท ส.ศิลป์ (2521) จำกัด, 2529 ISBN 974-7925-81-8</ref>
 
หลังจากนั้น รัฐบาลได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จนิวัติพระนครอีกครั้ง ในครั้งนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พร้อมด้วย สมเด็จพระราชชนนี, สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินจากเมืองโลซานที่ประทับโดยทางรถไฟมายังเมืองมาเชลล์ เพื่อประทับเรือเมโอเนีย ในการเสด็จพระราชดำเนินกลับสู่ประเทศไทย และเมื่อวันที่ [[15 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2481]] เรือพระที่นั่งได้เทียบจอดทอดสมอที่[[เกาะสีชัง]] รัฐบาลได้จัด[[เรือหลวงศรีอยุธยา]]ออกไปรับเสด็จมายัง[[จังหวัดสมุทรปราการ]] ณ ที่นั้น สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ได้เสด็จไปคอยรับพระราชนัดดาและพระสุนิสาด้วย หลังจากนั้น จึงได้เสด็จโดยเรือหลวงศรีอยุธยาเข้าสู่[[กรุงเทพมหานคร]] และประทับที่[[พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน]] ซึ่งนับเป็นการเสด็จนิวัติประเทศไทยเป็นครั้งแรกหลังจากเสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ ทรงใช้เวลาอยู่ใน[[ประเทศไทย]]เป็นระยะเวลาประมาณ 2 เดือน จึงได้เสด็จพระราชดำเนินกลับไปศึกษาต่อที่[[ประเทศสวิตเซอร์แลนด์]]<ref name="ศิลปากร"/>
 
เมื่อ[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]สงบลง พระองค์จึงเสด็จนิวัติพระนครอีกครั้ง พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช แต่สมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา มิได้ตามเสด็จด้วย เมื่อวันที่ [[5 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2488]] ซึ่งการเสด็จนิวัติประเทศในครั้งนี้ ทางราชการได้จัด[[พระที่นั่งบรมพิมาน]] ภายใน[[พระบรมมหาราชวัง]]เป็นที่ประทับ และเนื่องจากพระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว จึงสามารถบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่ต้องมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดินอีกต่อไป<ref name="เล่ม 62"/>
 
=== สวรรคต ===
{{บทความหลัก|การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล}}
[[ไฟล์:พระเมรุมาศ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล.gif|thumb|left|พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล]]
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงตั้งพระทัยจะทรงศึกษาปริญญาเอก สาขา[[นิติศาสตร์]] [[มหาวิทยาลัยโลซาน]] ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์จนเรียบร้อยแล้วจึงจะเสด็จนิวัติพระนครเป็นการถาวรและทรงเข้ารับการบรมราชาภิเษกในภายหลัง แต่พระองค์ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อนด้วยพระแสงปืนในวันที่ [[9 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2489]] เวลาประมาณ 9 นาฬิกา ณ ห้องพระบรรทม [[พระที่นั่งบรมพิมาน]] ภายใน[[พระบรมมหาราชวัง]] ก่อนกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพียง 4 วัน ในชั้นต้นทางราชการได้มีการแถลงข่าวสาเหตุการสวรรคตว่าเป็นอุบัติเหตุจากพระแสงปืนลั่น<ref>ราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2489/A/039/1.PDF ข่าวราชการ], เล่ม 63, ตอน 39, 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489, หน้า 1</ref> แต่การสอบสวนในภายหลังกลับพบสาเหตุว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์<ref>ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม. (ม.ป.ป.). [http://elib.coj.go.th/Article/d1_7_5.pdf ''คำพิพากษาศาลฎีกาคดีสวรรคต.''] [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2555.</ref>
 
หลังจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต ได้อัญเชิญพระบรมศพมาประดิษฐาน ณ [[พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท]] [[พระบรมมหาราชวัง]] และจัดให้มีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในระหว่างวันที่ [[28 มีนาคม|28]]-[[29 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2493]] ณ [[พระเมรุมาศ]] [[ท้องสนามหลวง]] วันรุ่งขึ้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินเก็บพระบรมอัฐิ และอัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิประดิษฐานที่บุษบกเหนือพระแท่นแว่นฟ้าทองภายใน[[พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท]] มุขตะวันตก และจัดให้มีการพระราชกุศลพระบรมอัฐิขึ้น หลังจากนั้น ได้อัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐาน ณ พระวิมานชั้นบน [[พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท]]
 
วันที่ [[4 เมษายน]] [[พ.ศ. 2493]] สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินอัญเชิญพระผอบพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ไปยัง[[วัดสุทัศน์เทพวราราม]] และอัญเชิญพระบรมราชสริรางคารบรรจุลงในหีบ พร้อมทั้งเคลื่อนหีบพระบรมราชสรีรางคารเข้าสู่พระพุทธบัลลังก์ พระศรีศากยมุนี พระประธานในพระวิหารหลวง วัดสุทัศน์เทพวราราม<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2493/D/016/1261.PDF กำหนดการ ที่ 4/2493 ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลสยามินทราธิราช ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง พ.ศ. 2493], เล่ม 67, ตอน 16ง, 21 มีนาคม พ.ศ. 2493, หน้า 1261</ref>
 
== การเฉลิมพระปรมาภิไธย ==
{| class="toc" style="float:right; border:2px solid #fefefe; font-size:95%;"
|-
| colspan = "2" style="text-align:center; background:#eef;"|'''นายกรัฐมนตรีไทยในรัชกาล (พ.ศ. 2477-2489) '''
|- style="background:#eef; text-align:center;"
|'''ปี'''
|'''นายกรัฐมนตรี''' (พรรค)
|-
|2476</small>
| style = "background:pink;"|[[พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)]] ([[คณะราษฎร]]) [[ไฟล์:Phraya Pahol.jpg|right|40px]]
|-
|2481</small>
| style = "background:pink;"|[[แปลก พิบูลสงคราม]] ([[คณะราษฎร]]) [[ไฟล์:Ppiboon.jpg|right|40px]]
|-
|2487</small>
| style = "background:pink;"|[[ควง อภัยวงศ์]] ([[คณะราษฎร]]) [[ไฟล์:Khuang Aphaiwong.jpg|right|40px]]
|-
|2488 (ส.ค.)</small>
| style = "background:pink;"|[[ทวี บุณยเกตุ]] ([[คณะราษฎร]]) [[ไฟล์:Thavi Boonyaket.jpg|right|40px]]
|-
|2488 (ก.ย.)</small>
| style = "background:pink;"|[[หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช]] ([[อิสระ (นักการเมือง)|อิสระ]]) [[ไฟล์:Senipramoj Cropped.jpg|right|40px]]
|-
|2489 (ม.ค.)</small>
| style = "background:pink;"|[[ควง อภัยวงศ์]] ([[คณะราษฎร]]) [[ไฟล์:Khuang Aphaiwong.jpg|right|40px]]
|-
|2489 (มี.ค.)</small>
| style = "background:pink;"|[[ปรีดี พนมยงค์]] ([[คณะราษฎร]]) [[ไฟล์:Pridi Panomyong (Scholar).jpg|right|40px]]
|}
เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ไม่ได้ทรงประกอบการ[[พระราชพิธีบรมราชาภิเษก]]ตามโบราณราชประเพณี ดังนั้น เพื่อเป็นการเฉลิมพระบรมขัติยราชอิสสริยยศ รวมทั้งยังได้ถวาย[[เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งประเทศไทย|เครื่องราชกกุธภัณฑ์]]บางองค์ เช่น [[นพปฎลเศวตฉัตร]] ซึ่งใช้ในการกางกั้นพระบรมศพและพระบรมอัฐิต่อไป ในวันที่ [[11 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2489]] คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จึงได้มีการประกาศเฉลิม[[พระปรมาภิไธย]]สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลขึ้นเป็น ''พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร์ สยามินทราธิราช พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย''<ref> ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2489/A/054/439.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ เฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล], เล่ม 63, ตอน 54ก, 13 สิงหาคม พ.ศ. 2489, หน้า 439 </ref>
 
หลังจากนั้น เมื่อวันที่ [[8 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2539]] ในวโรกาส[[พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช 2539|พระราชพิธีฉลองทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี]] พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เฉลิมพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เป็นพระปรมาภิไธยอันวิเศษตามแบบแผนโบราณราชประเพณีว่า
 
''พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จุฬาลงกรณราชปรียวรนัดดา มหิตลานเรศวรางกูร ไอศูรยสันตติวงศวิสุทธ์ วรุตมขัตติยศักตอรรคอุดม จักรีบรมราชวงศนิวิฐ ทศพิธราชธรรมอุกฤษฎนิบุณ อดุลยกฤษฎาภินิหารรังสฤษฎ์ สุสาธิตบูรพาธิการ ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ ธัญอรรคลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมงคประณตบาทบงกชยุคล อเนกนิกรชนสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สรรพรัฐทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรัตน สรณารักษ์วิศิษฎศักตอัครนเรศรามาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร'' <ref> ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/B/011/1.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ เฉลิมพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล], เล่ม 113, ตอน 11ข, 8 มิถุนายน พ.ศ. 2539, หน้า 1 </ref>
 
นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขานพระปรมาภิไธยอย่างมัธยมว่า ''พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล สกลไพศาล มหารัษฎธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร'' และอย่างสังเขปว่า ''พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร''
 
== พระราชลัญจกรประจำพระองค์ ==
[[ไฟล์:Privy Seal of King Rama VIII (Ananda Mahidol).svg|thumb|left|180px|พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 8]]
ในปี [[พ.ศ. 2481]] คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ให้[[สำนักพระราชวัง]]จัดสร้างพระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลขึ้น ซึ่ง[[เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล)]] สมุหพระราชวัง ได้ปรับปรุงพระราชลัญจกรรูป[[พระโพธิสัตว์]]สวนดุสิต ที่เคยใช้ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] มาใช้เป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์ โดยการสร้างพระราชลัญจกรนั้น ใช้แนวคิดจากพระบรมนามาภิไธยก่อนทรงราชย์ นั่นคือ "อานันทมหิดล" ซึ่งหมายถึง เป็นที่ยินดีแก่แผ่นดิน ดังนั้น จึงได้ใช้รูปพระโพธิสัตว์ ซึ่งมีหมายความเดียวกันว่า เป็นความยินดีและเป็นเดชยิ่งในพื้นพิภพ มาเป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์
 
พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 8 นั้น เป็นตรางา ลักษณะกลมศูนย์กลางกว้าง 7 เซนติเมตร มีรูปพระโพธิสัตว์ประทับอยู่เหนือบัลลังก์ดอกบัว พระบาทขวาห้อยอยู่เหนือบัวบาน ซึ่งหมายถึง แผ่นดิน พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวตูม มีเรือนแก้วอยู่ด้านหลังแถบรัศมี ซึ่งมีข้อแตกต่างจากพระราชลัญจกรที่ใช้ในรัชกาลที่ 5 คือ มีการเพิ่มรูปฉัตรตั้งไว้ข้างแท่นที่ประทับของพระโพธิสัตว์ <ref>[http://se-ed.net/kingrama8/logo.html พระราชลัญจกร รัชกาลที่ 8] จากเว็บไซต์ Debsirin History Networks </ref>
 
== พระราชกรณียกิจ ==
[[ไฟล์:King Ananda Mahidol and Prince Bhumibol Adulyadej.jpg|thumb|right|200px|พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พร้อมด้วย[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช]] เสด็จเยี่ยม[[ชาวไทยเชื้อสายจีน]]เป็นครั้งแรก ณ [[ถนนเยาวราช|สำเพ็ง]] [[จังหวัดพระนคร|พระนคร]] เมื่อ [[พ.ศ. 2489]]]]
=== การปกครอง ===
พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในวันที่ [[9 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2489]] และเปิดประชุมสภาผู้แทนในวันที่ [[1 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2489]] นอกจากนี้ ยังเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่าง ๆ และทรงเยี่ยม[[ชาวไทยเชื้อสายจีน]]เป็นครั้งแรก ณ [[สำเพ็ง]] [[พระนคร]] พร้อมด้วย [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช]] เมื่อวันที่ [[3 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2489]] ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดความขัดแย้งกันระหว่างชาวไทยและชาวไทยเชื้อสายจีนจนเกือบเกิดสงครามกลางเมือง เมื่อพระองค์ทรงทราบเรื่อง มีพระราชดำริว่า หากปล่อยความขุ่นข้องบาดหมางไว้เช่นนี้ จะเป็นผลร้ายตลอดไป จึงทรงตัดสินพระทัยเสด็จพระราชดำเนินสำเพ็ง ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง และพระองค์ทรงพระราชดำเนินด้วยพระบาทเป็นระยะประมาณ 3 กิโลเมตร การเสด็จพระราชดำเนินสำเพ็งในครั้งนี้จึงเป็นการประสานรอยร้าวที่เกิดขึ้นให้หมดไป
 
=== การศาสนา ===
ในการเสด็จนิวัติพระนครครั้งแรกนั้น พระองค์ได้ประกอบพิธีทรงปฏิญาณตนเป็น[[พุทธมามกะ]] ท่ามกลางมณฑลสงฆ์ในพระอุโบสถ[[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม]]เมื่อวันที่ [[19 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2481]] นอกจากนี้ ยังเสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการพระพุทธรูปในพระอารามที่สำคัญ เช่น [[วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร]] [[วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร]] [[วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร]] [[วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร]] [[วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร]] และ[[วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร]] โดยเฉพาะที่[[วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร]]นั้น พระองค์เคยมีพระราชดำรัสกล่าวว่า "ที่นี่สงบเงียบน่าอยู่จริง" ดังนั้น เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต จึงได้นำพระบรมราชสรีรางคารของพระองค์มาประดิษฐาน ณ วัดแห่งนี้<ref name="ศิลปากร"/>
 
พระองค์ยังทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าจะผนวชในพระพุทธศาสนา โดยได้มีพระราชหัตเลขาถึง[[สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์]] เมื่อวันที่ [[19 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2489]] ทรงขอสังฆราชานุเคราะห์ในการศึกษาตำราทางพระพุทธศาสนาเพื่อใช้ในการเตรียมพระองค์ในการที่จะอุปสมบท แต่ก็มิได้ผนวชตามที่ตั้งพระราชหฤทัยไว้<ref name="ศิลปากร"/> นอกจากนี้ยังได้พระราชทานพระราชทรัพย์บำรุงวัดวาอาราม กับพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แก่ศาสนาอื่นตามสมควร<ref>ชาลี เอี่ยมกระสินธุ์,ในหลวงอานันท์กับคดีลอบปลงพระชนม์, สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น,2520</ref>
 
=== การศึกษา ===
 
[[ไฟล์:MDCUK81.JPG|260px|thumbnail|right|พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 8 ในคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]
ในการเสด็จนิวัติพระนครในครั้งที่ 2 พระองค์ทรงได้ประกอบพระราชกรณียกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของประเทศ โดยเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรกิจการของ[[หอสมุดแห่งชาติ]] รวมทั้ง เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยม[[สถานศึกษา]]หลายแห่ง เช่น [[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] [[โรงเรียนเทพศิรินทร์]] ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ทรงศึกษาขณะทรงพระเยาว์ นอกจากนี้ พระองค์ยังได้เสด็จพระราชดำเนิน[[พิธีพระราชทานปริญญาบัตร|พระราชทานปริญญาบัตร]]เป็นครั้งแรกของพระองค์ ณ หอประชุม[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] เมื่อวันที่ [[13 เมษายน]] [[พ.ศ. 2489]] <ref>[http://www.chula.ac.th/chula/th/about/king_Ananda_mahidol_th.html จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล]{{Dead link|date=April 2017}}</ref> และอีกครั้งที่ หอประชุมราชแพทยาลัย ศิริราชพยาบาล [[มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์]] เมื่อวันที่ [[23 เมษายน]] พ.ศ. 2489 โดยในการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งนี้ มีพระราชปรารภให้มีการผลิต[[แพทย์]]เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชน โรงเรียนแพทย์แห่งที่ 2 จึงได้ถือกำเนิดขึ้นที่[[โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์]] ซึ่งในปัจจุบัน คือ [[คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]<ref name="มูลนิธิอานันทมหิดล">|publisher=Kanchanapisek.or.th |date= |accessdate=2017-04-20}} {{cite web|url=http://kanchanapisek.or.th/kp11/intro/index.th.html |title=มูลนิธิอานันทมหิดล : ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ |language={{th icon}}</ref>
 
หลังจากนั้น ในวันที่ [[5 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2489]] พระองค์ทรงหว่านข้าว ณ แปลงสาธิต ของ[[มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]] ซึ่งถือเป็นพระราชกรณียกิจสุดท้าย ก่อนเสด็จสวรรคต<ref> [http://www.rakbankerd.com/01_jam/thaiinfor/country_info/index.html?topic_id=262&db_file= พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล]{{dead link|date=May 2017}} จาก เว็บไซต์รากฐานไทย ฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาประเทศ</ref>
 
== พระบรมราชานุสาวรีย์ ==
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลได้ทรงปฏิบัติพระราชกิจสำคัญน้อยใหญ่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น จึงมีการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ เช่น
[[ไฟล์:Rama8watsuthat0609.jpg|thumb|right|200px|พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร]]
[[ไฟล์:Rama8debsirinschool.jpg|200px|thumbnail|right|พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์]]
 
; พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
วัดสุทัศนเทพวรารามถือเป็น[[วัดประจำรัชกาล]]ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เนื่องจากเป็นสถานที่ที่ประดิษฐานพระบรมราชสรีรางคารของพระองค์ ดังนั้น จึงมีการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้น ณ บริเวณลานประทักษิณ ชั้นล่างมุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พระวิหารหลวง พระบรมรูปหล่อด้วยสำริด ขนาดเท่าพระองค์จริง ทรงฉลองพระองค์ชุดจอมทัพ ประทับยืน ประดิษฐานบนแท่นหินอ่อนยกพื้นสูง มีแผ่นทองเหลืองจารึกเกี่ยวกับกำหนดการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ เบื้องหลังเป็นแผ่นหินอ่อนวงโค้ง ประดิษฐาน[[พระปรมาภิไธย#พระปรมาภิไธยย่อ|พระปรมาภิไธยย่อ]] "อปร" ภายใต้[[พระมหาพิชัยมงกุฎ]]<ref>[http://www.watsuthat.thai2learn.com/rama8.php พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 8] จาก เว็บไซต์วัดสุทัศนเทพวราราม</ref>
 
; พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษา ณ [[โรงเรียนเทพศิรินทร์]] เมื่อปี พ.ศ. 2475 เลขประจำพระองค์ 2329 หลังจากนั้นอีกเพียง 2 ปี พระองค์เจ้าอานันทมหิดลก็ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ครองสิริราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ องค์ที่ 8 แห่ง[[ราชวงศ์จักรี]] พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงมีความผูกพันกับ โรงเรียนเทพศิรินทร์มาโดยตลอด มีพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมแก่ โรงเรียนเทพศิรินทร์ สมาคมนักเรียนเก่าฯ ตลอดจนมวลหมู่ลูกแม่รำเพยทุกคน ซึ่ง พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ มีขนาดเท่าพระองค์จริง ทรงฉลองพระองค์ชุดจอมทัพ ประทับยืน เช่นเดียวกับ พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ [[วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร]] ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ ด้วยพระองค์เอง
 
; พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย
[[โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย]]ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่งแสนบาท สร้างอาคารเรียน 2 ชั้น 1 หลัง หอประชุม 1 หลังพร้อมบ้านพักครูอีก 20 หลัง และในวันที่ 19 กรกฎาคม 2519 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช [[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ]] และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์เสด็จมาเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 8
 
; พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ โรงพยาบาลอานันทมหิดล
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการสร้างโรงพยาบาลใน[[จังหวัดลพบุรี]] และพระราชทานนามโรงพยาบาลแห่งนี้ว่า [[โรงพยาบาลอานันทมหิดล]]<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2480/D/159.PDF แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินสร้างโรงพยาบาลที่จังหวัดลพบุรี], เล่ม 54, ตอน 0ง, 19 เมษายน พ.ศ. 2480, หน้า 149</ref> หลังจากการสร้างแล้วเสร็จ พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดโรงพยาบาลแห่งนี้เมื่อวันที่ [[6 มกราคม]] [[พ.ศ. 2481]] ดังนั้น คณะกรรมการโรงพยาบาลจึงได้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ประดิษฐาน ณ หน้าตึกอำนวยการของโรงพยาบาล
 
; พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลมีพระราชปรารภต่อรัฐบาลในสมัยนั้น เรื่องการผลิตแพทย์เพิ่มให้เพียงพอต่อประชาชน อันเป็นจุดกำเนิดโรงเรียนแพทย์แห่งที่ 2 ของประเทศ ซึ่งปัจจุบัน คือ [[คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ คณะกรรมการบริหารสมาคมศิษย์เก่าแพทย์จุฬาลงกรณ์ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ[[โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์]] สภากาชาดไทย จึงได้ติดต่อให้ [[ไข่มุก ชูโต|คุณไข่มุกด์ ชูโต]] เป็นผู้ออกแบบปั้นพระบรมราชานุสาวรีย์ โดย[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์แท่นประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ เมื่อวันที่ [[9 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2528]] และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ เมื่อวันที่ [[30 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2529]] พระบรมรูปหล่อด้วยส่วนผสมของทองเหลืองและทองแดง มีขนาดหนึ่งเท่าครึ่งของพระองค์จริง ประทับนั่งเหนือพระเก้าอี้ ผินพระพักตร์ไปทางเบื้องขวาเล็กน้อย ประดิษฐาน ณ ลานหน้าอาคาร '''อานันทมหิดล''' ภายใน[[โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์]]<ref>[http://www.mdcualumni.com/th/kingRama8.php พระรูป ร.8]{{dead link|date=May 2017}} จากเว็บไซต์ สมาคมศิษย์เก่าแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์</ref>
 
; พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ สวนหลวงพระราม 8
[[สวนหลวงพระราม 8]] เป็น[[สวนสาธารณะ]]เนื้อที่ประมาณ 35 ไร่ ติด[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] บริเวณเชิง[[สะพานพระราม 8]] [[เขตบางพลัด]] [[ฝั่งธนบุรี]] ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชว่า "สวนหลวงพระราม 8" ณ สวนแห่งนี้ มีพระบรมราชานุสาวรีย์ที่ทาง[[กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)|กรุงเทพมหานคร]] สร้างร่วมกับกรมศิลปากร ความสูงขนาด 3 เท่าของพระองค์จริง คือ ประมาณ 5.4 เมตร พระอิริยาบถทรงยืน ประดิษฐานบนแท่นที่ความสูงระดับเดียวกันกับราวสะพานพระราม 8 เพื่อเป็นสิริมงคลแก่สวนแห่งนี้ด้วย นอกจากนั้น บริเวณอาคารเฉลิมพระเกียรติข้างใต้พระบรมราชานุสาวรีย์ยังจัดให้มีห้องรวบรวมพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจขององค์รัชกาลที่ 8 เพื่อให้ประชาชนที่สนใจพระราชประวัติเข้าไปศึกษาค้นคว้าเรื่องราว<ref>[http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9520000146148 ทอดน่อง รับลม ชมวิวที่ "สวนหลวงพระราม 8"] จากเว็บไซต์ เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์</ref> พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และ[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี]] เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และสวนหลวงพระราม 8 อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน [[พ.ศ. 2555]]<ref>[http://www.dailynews.co.th/politics/118420 เตรียมพร้อมสวนหลวงพระราม 8 รับเสด็จ"ในหลวง"]จากเว็บไซต์ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์</ref>
 
== พระบรมราชานุสรณ์ ==
; [[มูลนิธิอานันทมหิดล]]
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกองทุนอานันทมหิดลขึ้นเมื่อปี [[พ.ศ. 2498]] เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระองค์มีพระราชดำริที่จะพระราชทานทุนให้[[นักศึกษา]]ผู้มีความสามารถยอดเยี่ยม ไปศึกษาต่อให้ถึงระดับความรู้ชั้นสูงสุดยังประเทศที่พัฒนาแล้ว เพื่อนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาประเทศชาติและช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ หลังจากนั้น ได้จัดตั้งขึ้นเป็น '''มูลนิธิอานันทมหิดล''' เมื่อวันที่ [[3 เมษายน]] [[พ.ศ. 2502]] เดิมทุนนี้จะพระราชทานให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ แต่เมื่อความต้องการผู้เชี่ยวชาญในสาขาอื่น ๆ มีเพิ่มมากขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทุนในสาขาอื่น ๆ ปัจจุบัน การพระราชทานทุนนั้นสามารถแบ่งออกเป็นแผนกต่าง ๆ ได้ ดังนี้ แผนก[[แพทยศาสตร์]] แผนก[[วิทยาศาสตร์]] แผนก[[วิศวกรรมศาสตร์]] แผนก[[เกษตรศาสตร์]] แผนก[[ธรรมศาสตร์]] แผนก[[อักษรศาสตร์]] แผนก[[ทันตแพทยศาสตร์]] และแผนก[[สัตวแพทยศาสตร์]] <ref name="มูลนิธิอานันทมหิดล"/>
 
; มูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
[[ไฟล์:Statue of King Rama VIII in front of the Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Thailand.jpg|thumb|300px|อาคารอานันทมหิดล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]
 
สืบเนื่องจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินมาทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ณ วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร เป็นประจำ จึงได้พระราชทานพระราชทรัพย์เพื่อเป็นทุนสำหรับบูรณปฏิสังขรณ์วัด และส่งเสริมการศึกษาของพระสงฆ์และสามเณรคณะกรรมการจึงได้จัดตั้งเป็น มูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์ ขึ้นตั้งแต่วันที่ [[20 กันยายน]] [[พ.ศ. 2518]] ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล<ref name="ศิลปากร"/><ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2518/D/241/2997.PDF ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้อำนาจจัดตั้ง "มูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์" เป็นนิติบุคคล], เล่ม 92, ตอน 241ง, 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518, หน้า 2997 </ref>
 
; อาคาร "อปร" และอาคารอานันทมหิดล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สืบเนื่องจากความไม่เพียงพอของแพทย์ รัฐบาลจึงมีนโยบายให้คณะแพทยศาสตร์ทุกแห่งผลิตแพทย์เพิ่ม [[คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]จึงได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างตึกใหม่ เพื่อรองรับจำนวนนิสิตแพทย์ที่เพิ่มขึ้นอีกกว่า 90 คนต่อปี โดยได้รับอนุมัติงบประมาณแผ่นดินประจำปี 2536 และในวันที่ [[5 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2539]] จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทำหนังสือขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญอักษร[[พระปรมาภิไธย]] "อปร" มาเป็นชื่ออาคาร เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ซึ่งได้พระราชทานกำเนิดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักราชเลขาธิการได้มีหนังสือลงวันที่ [[19 เมษายน]] [[พ.ศ. 2539]] พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญอักษรพระปรมาภิไธย "อปร" เป็นชื่ออาคาร เมื่อดำเนินการก่อสร้างเสร็จสิ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี]]เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีเปิดอาคารเมื่อวันเสาร์ที่ [[20 กันยายน]] [[พ.ศ. 2546]] ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของรัชกาลที่ 8 อาคารดังกล่าวเป็นย่อมุม 8 มุม สูง 19 ชั้น บนยอดอาคารประดับอักษรพระปรมาภิไธย "อปร" ตั้งอยู่ริม[[ถนนราชดำริ]]<ref>[http://www.mdcu.net/opr.htm อาคาร "อปร" คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]</ref> นอกจากนี้ ภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ยังมีอาคารอานันทมหิดลอีกด้วย
 
; วันอานันทมหิดล
ตรงกับวันที่ 9 มิถุนายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสด็จสวรรคต [[คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]ได้ดำริจัดงานเป็นประจำทุกปี ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านซึ่งได้สร้างคุณูปการด่อวงการแพทย์และการศึกษา
 
ในวันอานันทมหิดล มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วย พิธีถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรของนิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์, พิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ณ อาคารวชิรญาณวงศ์ [[โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์]], การจัดทำเข็มกลัดที่ระลึก, การจัดการแข่งขันตอบปัญหาวิชาการชีววิทยาและวิทยาศาสตร์การแพทย์ ชิงโล่พระราชทาน, การจัดงานเสวนาเนื่องสัปดาห์วันอานันทมหิดล และกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์อื่น ๆ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล
 
== พระอิสริยยศและพระเกียรติยศ ==
{{ดูเพิ่มที่|รายชื่อพระอิสริยยศและพระเกียรติยศในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล}}
 
=== พระอิสริยยศ ===
{{กล่องข้อมูล พระยศ
| พระนาม = <small>พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล</small>
| ธงพระยศ = King's Standard of Thailand.svg
| ตราประจำพระองค์ = Privy Seal of King Rama VIII (Ananda Mahidol).svg
| การทูล = ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
| การแทนตน = ข้าพระพุทธเจ้า
| การขานรับ = พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ
}}
 
* '''หม่อมเจ้าอานันทมหิดล มหิดล'''
* '''พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล''' (20 กันยายน พ.ศ. 2468 - 2 มีนาคม พ.ศ. 2477)
* '''สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล''' (2 มีนาคม พ.ศ. 2477 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2477)
* '''สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล''' (25 มีนาคม พ.ศ. 2477 - 11 สิงหาคม พ.ศ. 2489)
* '''พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร์ สยามินทราธิราช''' (11 สิงหาคม พ.ศ. 2489 - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2539)
* '''พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร''' ( 8 มิถุนายน พ.ศ. 2539 - เป็นต้นไป)
 
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทานก่อนที่จะขึ้นครองราชย์สมบัติมีดังนี้
* [[ไฟล์:Order of the Royal House of Chakri (Thailand) ribbon.JPG|60px]] [[เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์]] (ม.จ.ก.)
* [[ไฟล์:Order of the Nine Gems.JPG|60px]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์]] (น.ร.)
* [[ไฟล์:Order of Chula Chom Klao - Special Class (Thailand) ribbon.png|60px]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า]] ชั้นที่ 1 [[ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ]] (ป.จ.ว.)
* [[ไฟล์:Order of the White Elephant - Special Class (Thailand) ribbon.png|60px]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก]] ชั้น[[มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก]] (ม.ป.ช.)
* [[ไฟล์:Order of the Crown of Thailand - Special Class (Thailand) ribbon.png|60px]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย]] ชั้น[[มหาวชิรมงกุฎ]] (ม.ว.ม.)
* [[ไฟล์:King Rama VII Royal Cypher Medal (Thailand) ribbon.png|60px|border]] [[เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7]] ชั้นที่ 1 (ป.ป.ร.1)
* [[ไฟล์:King_Rama_IV_Royal_Cypher_Medal_(Thailand)_ribbon.png|60px|border]] [[เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8]] ชั้นที่ 1 (อ.ป.ร.1)
 
== พงศาวลี ==
{{ahnentafel top|width=100%|พงศาวลีของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร}}
{{ahnentafel-compact5
| style = font-size: 90%; line-height: 110%;
| border = 1
| boxstyle = padding-top: 0; padding-bottom: 0;
| boxstyle_1 = background-color: #fcc;
| boxstyle_2 = background-color: #fb9;
| boxstyle_3 = background-color: #ffc;
| boxstyle_4 = background-color: #bfc;
| boxstyle_5 = background-color: #9fe;
| 1 = 1. '''พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร'''
| 2 = 2. [[สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก]]
| 3 = 3. [[สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี]]
| 4 = 4. [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]
| 5 = 5. [[สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า]]
| 6 = 6. ชู ชูกระมล
| 7 = 7. คำ ชูกระมล
| 8 = 8. (=10) [[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]
| 9 = 9. [[สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี]]
| 10 = 10. (=8) [[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]
| 11 = 11. [[สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา]]
| 12 = 12. ชุ่ม ชูกระมล
| 13 = 13.
| 14 = 14.
| 15 = 15. ผา
| 16 = 16. (=20) [[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]]
| 17 = 17. (=21) [[สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี]]
| 18 = 18. [[สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์]]
| 19 = 19. [[หม่อมน้อย ศิริวงศ์ ณ อยุธยา]]
| 20 = 20. (=16) [[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]]
| 21 = 21. (=17) [[สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี]]
| 22 = 22. [[หลวงอาสาสำแดง (แตง)|หลวงอาสาสำแดง (แตง สุจริตกุล)]]
| 23 = 23. [[ท้าวสุจริตธำรง (นาค)|ท้าวสุจริตธำรง (นาค สุจริตกุล)]]
| 24 =
| 25 =
| 26 =
| 27 =
| 28 =
| 29 =
| 30 =
| 31 =
}}</center>
{{ahnentafel bottom}}
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง|2}}
 
== ดูเพิ่ม ==
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Rama VIII|พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร}}
{{วิกิคำคม}}
{{Wikisource|ประกาศนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๗ มีนาคม ๒๔๗๗|ประกาศนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 7 มีนาคม 2477 (พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ทรงราชย์สืบราชสมบัติ)}}
{{วิกิซอร์ซ | 1 = คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๕๔๔/๒๔๙๗ | 2 = คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1544/2497}}
* [[รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย]]
* [[การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล]]
* [[ราชสกุลวงศ์ในราชวงศ์จักรี]]
* [[วันอานันทมหิดล]].
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://se-ed.net/kingrama8/ เฉลิมพระเกียรติยศพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ] จาก Debsirin History Networks
* [http://kanchanapisek.or.th/kp11/index.th.html มูลนิธิอานันทมหิดล]
* [http://www.anandamahidolfoundation.or.th/ ชมรมผู้รับพระราชทานทุนอานันทมหิดล]
{{เริ่มกล่อง}}
{{สืบตำแหน่ง
| สี1 = #FFCC00
| สี2 =
| สี3 = #FFCC00
| รูปภาพ = King's Standard of Thailand.svg
| ตำแหน่ง = [[พระมหากษัตริย์ไทย]]
| จำนวนตำแหน่ง =
| ก่อนหน้า = [[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]
| จำนวนก่อนหน้า =
| ถัดไป = [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]
| จำนวนถัดไป =
| ช่วงเวลา = [[2 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2477]] - [[9 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2489]]
}}
{{จบกล่อง}}
 
{{พระมหากษัตริย์ไทย}}
 
{{เรียงลำดับ|อานันทมหิดล}}
{{อายุขัย|2468|2489}}
[[หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์จักรี]]
[[หมวดหมู่:ราชสกุลมหิดล]]