ตับเต่าแม่โถ

ตับเต่าแม่โถ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Stephania crebra)[1] เป็นพืชเลื้อยล้มลุกอายุหลายปีในสกุลสบู่เลือด ของวงศ์บอระเพ็ด มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้รับการอธิบาระบุชนิดครั้งแรกในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2531 โดย L.L. Forman เป็นหนึ่งใน 15 ชนิดที่เป็นพืชเฉพาะถิ่นของสกุลสบู่เลือดที่พบในภาคเหนือของประเทศไทยโดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่ มีลักษณะคล้ายตับเต่า (Stephania reticulata) แต่ตับเต่าแม่โถ (S. crebra) มีดอกที่ใหญ่กว่า ในขณะที่มีผลเดี่ยวที่มีเอนโดคาร์ปที่เล็กกว่า[2]

ตับเต่าแม่โถ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: อย่าลืมละหมาดกับเณรน้ำ
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
อันดับ: พวงแก้วกุดั่น
วงศ์: บอระเพ็ด
สกุล: สบู่เลือด
Forman
สปีชีส์: Stephania crebra
ชื่อทวินาม
Stephania crebra
Forman

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นพืชเลื้อยใช้ลำต้นเกี่ยวพันต้นไม้อื่น ไม่มีเนื้อไม้ หัวใต้ดิน บางครั้งอยู่เหนือพื้นดิน กิ่งก้านเป็นเกลียวเล็กน้อย

ก้านใบยาวมาก ใบรูปสามเหลี่ยม (deltoid) ปลายใบแหลม ก้านใบอยู่กลางใบ (peltate) ขอบใบเรียบ ใบบาง หลังใบมีสีเขียวออกสีนวล ใบยาว 12–17 ซม. (4.7–6.7 นิ้ว) และกว้าง 9–16 ซม. (3.5–6.3 นิ้ว)

ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็กมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน กลีบดอกสีเหลืองอ่อน เกสรตัวผู้สีเข้ม ล้อมเกสรตัวเมียอยู่กลางดอก

ผลเดี่ยว ผิวเรียบ

การแพร่กระจายและถิ่นที่อยู่

มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นพืชเฉพาะถิ่นของประเทศไทย พบในภาคเหนือของประเทศไทยโดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่ [3]

อ้างอิง

  1. "Stephania crebra Forman | Plants of the World Online | Kew Science". Plants of the World Online (ภาษาอังกฤษ).
  2. Forman, L. L. (1988). "A Synopsis of Thai Menispermaceae". Kew Bulletin. Royal Botanic Gardens, Kew. 43 (3): 369–407. doi:10.2307/4118970. JSTOR 4118970.
  3. Threatened Plants in Thailand.--Bangkok : Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation, 2017. 224 p. ISBN 978-616-316-334-9