พิมศิริ ศิริแก้ว

ร้อยโทหญิง พิมศิริ ศิริแก้ว ชื่อเล่น แต้ว เป็นนักกีฬายกน้ำหนักทีมชาติไทย เจ้าของเหรียญเงินยกน้ำหนัก รุ่นน้อยกว่า 58 กิโลกรัม ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2012กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ณ กรุงรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล

พิมศิริ ศิริแก้ว
ต.ภ.
ไฟล์:พิมศิริ ศิริแก้ว.jpg
ข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อเล่นแต้ว
สัญชาติไทย
เกิด25 เมษายน พ.ศ. 2533 (34 ปี)
ประเทศไทย อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย
ส่วนสูง1.49 m (4 ft 10 12 in)
น้ำหนัก61 กก.
กีฬา
กีฬายกน้ำหนัก
สโมสรโรงเรียนกีฬาเทศบาลนครนครราชสีมา

พิมศิริ เกิดเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2533 ที่อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น เป็นบุตรของคำปุ่น และอมรรัตน์ ศิริแก้ว ในวัยเด็กเข้าศึกษาที่โรงเรียนบ้านเขวา และโรงเรียนมัญจาศึกษา ต่อมาเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนกีฬาจังหวัดชลบุรี และสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี ตามลำดับ แต่เดิมเธอเริ่มเล่นกีฬาด้วยการเป็นนักวิ่งระยะสั้น กระทั่งว่าที่ร้อยตรีศักดิ์ชัย ธิตะจารี เห็นแววจึงเรียกมาทดสอบเป็นนักยกน้ำหนัก

เส้นทางอาชีพ แก้

พิมศิริ ติดทีมชาติครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2549 พ.ศ. 2551 เธอได้รับเหรียญทอง จากการแข่งขันยกน้ำหนักเยาวชนชิงชนะเลิศแห่งโลก รุ่นน้อยกว่า 58 กิโลมกรัม ปีถัดมาด้วยวัย 19 ปี เธอเข้าร่วมการแข่งขันยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งโลกเป็นครั้งแรก และได้อันดับที่ 5 จากรายการนี้ ปีเดียวกันพิมศิริคว้าอันดับที่ 2 ในการแข่งขันซีเกมส์ ที่ประเทศลาว โดยพ่ายนักย้กน้ำหนักจากอินโดนีเซีย

ปี พ.ศ. 2554 พิมศิริลงแข่งในรายการยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย โดยต้องปะทะกับคู่แข่งอย่างประภาวดี เจริญรัตนธารากุล ที่เพิ่งออกจากแคมป์เก็บตัวทีมชาติ ผลปรากฏว่าพิมศิริสามารถคว้าเหรียญทองได้ และทำลายสถิติประเทศไทยท่าคลีนแอนด์เจิร์ก และน้ำหนักรวม ของวันดี คำเอี่ยม ลงได้ที่น้ำหนัก 136 และ 237 กิโลกรัมตามลำดับ ปลายปีเดียวกันเธอเข้าร่วมการแข่งขันยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งโลก และได้รับเหรียญรางวัลเป็นครั้งแรก คือเหรียญทองแดง

ในปี พ.ศ. 2555 พิมศิริ เป็น 1 ใน 4 นักยกน้ำหนักหญิงไทย ที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ในการยกท่าสแตตซ์ เธอทำผลงานได้ไม่ดีนัก ยกติดเพียงครั้งเดียวคือในครั้งแรก ที่น้ำหนัก 100 กิโลกรัม เป็นอันดับ 10 จากผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด แต่ในท่าคลีนแอนด์เจิร์ก เธอสามารถยกได้ถึง 136 กิโลกรัม ทำให้ขยับขึ้นมาเป็นอันดับสอง และคว้าเหรียญเงินในที่สุด โดยถือเป็นเหรียญรางวัลแรกของไทยในการแข่งขันครั้งนี้[1] หลังเสร็จสิ้นการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก พิมศิริทำผลงานได้ไม่ดีหนักในรายหารถัดมา โดยคว้าเหรียญทองแดง ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก พ.ศ. 2556 พร้อมกับมีอาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ หลังจากนั้นพิมศิริได้ย้ายขึ้นไปทำการแข่งขันในรุ่นน้อยกว่า 63 กิโลกรัม และคว้าเหรียญทองในการแข่งขันซีเกมส์ 2013

ถัดมาในปี พ.ศ. 2557 พิมศิริสามารถทำลายสถิติประเทศไทย ท่าคลีนแอนด์เจิร์กของปวีณา ทองสุก ลงได้ในการแข่งขันยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย โดยยกได้ 143 กฺโลกรัม แม้เธอจะสามารถทำสถิติได้ดีขึ้น แต่ในการแข่งขันระดับนานาชาติ พิมศิริยังไม่สามารถสร้างผลงานที่ดีได้ โดยเธอไม่สามารถคว้าเหรียญรางวัลใดๆได้จากการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2014 และยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งโลก โดยได้เพียงอันดับ 5 จากทั้งสองรายการ

สถิติการแข่งขัน แก้

พิมศิริมีสถิติการแข่งขันยกน้ำหนักดังนี้[2]

การแข่งขัน รุ่น สแนตซ์ คลีนแอนด์เจิร์ก รวม
2551 เยาวชนชิงชนะเลิศแห่งโลก 58 กก. 87 90 91   112 116 120   211  
2552 ชิงชนะเลิศแห่งโลก 58 กก. 85 90 93 5 115 120 120 5 205 5
2552 ซีเกมส์ 58 กก. 93 - 115 - 208  
2553 เยาวชนชิงชนะเลิศแห่งโลก 58 กก. 90 90 92   115 120 121   210  
2553 ชิงชนะเลิศแห่งโลก 58 กก. 89 92 92 15 115 118 120 8 205 8
2553 เอเชียนเกมส์ 58 กก. 90 93 97 - 118 123 128 - 220 4
2554 ชิงชนะเลิศแห่งโลก 58 กก. 95 99 102 5 123 129 131   230  
2554 ซีเกมส์ 63 กก. 98 - 131 - 229  
2555 ชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย 58 กก. 96 100 102   125 129 131   231  
2555 โอลิมปิกฤดูร้อน 58 กก. 100 103 103 - 131 136 140 236  
2556 กีฬามหาวิทยาลัยโลก 58 กก. 95 98 99 - 131 125 - - 216  
2556 ซีเกมส์ 63 กก. 95 95 99 - 120 126 132 - 231  
2557 เอเชียนเกมส์ 63 กก. 103 106 108 - 134 139 139 - 242 5
2557 ชิงชนะเลิศแห่งโลก 63 กก. 102 105 108 8 133 137 138 4 246 5

ภายในประเทศ แก้

การแข่งขัน รุ่น สแนตซ์ คลีนแอนด์เจิร์ก รวม
2554[3] ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย 58 กก. 95 101 105   123 130 136   237  
2555[4] กีฬาแห่งชาติ (ประเทศไทย) 63 กก. 98 102 102   127 132 136   234  

สถิติสูงสุด แก้

รางวัลที่ได้รับ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้