พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งตั้งอยู่ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ภายในจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่มีคุณค่าทางด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ และขนบธรรมเนียมประเพณี

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์
แผนที่
ก่อตั้ง24 มิถุนายน พ.ศ. 2497 (69 ปี)
(เปิดอย่างเป็นทางการ)
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 (62 ปี)
(จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ)
ที่ตั้งถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000
พิกัดภูมิศาสตร์14°58′19″N 102°05′50″E / 14.972061°N 102.097206°E / 14.972061; 102.097206
ภัณฑารักษ์ กรมศิลปากร
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ

ประวัติ แก้

ปี พ.ศ. 2470 สมเด็จพระมหาวีระวงศ์ (อ้วน ติสฺโล) ได้มอบโบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่รวบรวมไว้ ให้แก่กรมศิลปากร เพื่อจัดแสดง เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับมรดกศิปวัฒนธรรมของชาติ

ปี พ.ศ. 2497 กรมศิลปากร ได้สร้างอาคารจัดแสดงของพิพิธภัณฑสถานขึ้น และเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2497

ปี พ.ศ. 2504 กรมศิลปากร ประกาศจัดตั้ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ เพื่อถวายเกียรติแด่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์[1]

สิ่งของที่จัดแสดง แก้

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ ได้จัดแสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ ที่มีคุณค่าทางด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ ขนบธรรมเนียมประเพณี หลากหลายสมัย คือ

  • สมัยก่อนประวัติศาสตร์
  • สมัยทวารวดี
  • สมัยลพบุรี
  • สมัยอยุธยา
  • สมัยรัตนโกสินทร์

โบราณวัตถุที่จัดแสดง เป็นของที่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ได้รวบรวมไว้ และมอบให้กรมศิลปากร ส่วนหนึ่งได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี การขุดแต่ง บูรณะ โบราณสถาน และยังมีสิ่งของที่ประชาชนได้มอบไว้ให้พิพิธภัณฑ์ด้วย[2]

อ้างอิง แก้

  1. ราชกิจจานุเบกษา. เข้าถึงได้จาก: [1] ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดสถานที่ เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. เล่มที่ 78 ตอนที่ 94 หน้า 2350 .เมื่อ 14 พฤศจิกายน 2504
  2. "การจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์".