พิธีสารนาโงยะว่าด้วยการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างยุติธรรมและเท่าเทียมเพื่ออนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ หรือที่รู้จักกันในชื่อ พิธีสารนาโงยะว่าด้วยการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรและการแบ่งปันผลประโยชน์ (อังกฤษ: Nagoya Protocol on Access and Benefit Sharing) เป็นความตกลงเพิ่มเติมใน ค.ศ. 2010 ต่ออนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity; CBD) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการทำให้วัตถุประสงค์หนึ่งจากสามของอนุสัญญาดังกล่าวนั้นเป็นผลสำเร็จ กล่าวคือการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมและเสมอภาคอันเกิดจากการใช้แหล่งทรัพยากรพันธุกรรมโดยการอนุรักษ์และใช้ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน พิธีสารนาโงยะกำหนดพันธะสภาพของประเทศที่ลงนามในการวางมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรม การแบ่งปันผลประโยชน์ และการร่วมมือต่อพิธีสาร

พิธีสารนาโงยะ
พิธีสารนาโงยะว่าด้วยการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างยุติธรรมและเท่าเทียมเพื่ออนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
  ประเทศที่ลงนาม
  ประเทศที่ลงนามโดยไม่มีเจตนาให้สัตยาบัน
  ประเทศที่ไม่ได้ลงนามแต่เป็นสมาชิกของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
  ประเทศที่ไม่ได้ลงนามและไม่ได้เป็นสมาชิกของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
นอกจากสมาชิกรัฐที่หลากหลาย สหภาพยุโรปยังเป็นสมาชิกของพิธีสารด้วย (ไม่ได้อยู่ในแผนภาพ)
ประเภทสิ่งแวดล้อม
วันลงนาม29 ตุลาคม ค.ศ. 2010
ที่ลงนามนาโงยะ, ประเทศญี่ปุ่น
วันมีผล12 ตุลาคม ค.ศ. 2014
เงื่อนไข50 รัฐให้สัตยาบันต่ออนุสัญญา
ผู้ลงนาม92
ภาคี128
ผู้เก็บรักษาเลขาธิการสหประชาชาติ
ภาษาอาหรับ, จีนแมนดาริน, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, รัสเซีย และสเปน

พิธีสารนาโงยะมีมติเห็นชอบในวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 2010 ในนาโงยะ ประเทศญี่ปุ่น และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 2014 จนถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 2020 มี 128 กว่าภาคีรวมถึงรัฐสมาชิกสหประชาชาติ 127 รัฐ และสหภาพยุโรปที่ให้สัตยาบันต่อพิธีสารฯ

มีการแสดงข้อกังวลว่าการเพิ่มความเป็นอำมาตยาธิปไตย และการตรากฎหมายอาจสร้างความเสียหายในการควบคุมดูแล การอนุรักษ์และการรวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพ, ในการตอบโต้ต่อโรคติดเชื้ออย่างเป็นสากล และการวิจัย[1][2]

เป้าหมายและขอบเขต แก้

พิธีสารนาโงยะมีผลต่อแหล่งทรัพยากรพันธุกรรมที่อยู่ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้แหล่งทรัพยากรนั้น พิธีสารฯ ยังครอบคลุมถึงความรู้ตามธรรมเนียมประเพณีซึ่งเกี่ยวเนื่องกับแหล่งทรัพยากรพันธุกรรมที่อยู่ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและผลประโยชน์ที่ได้จากความรู้ดังกล่าวด้วย

เป้าหมายของพิธีสารฯ คือการริเริ่มทำให้วัตถุประสงค์หนึ่งจากสามของอนุสัญญาดังกล่าวนั้นเป็นผลสำเร็จ กล่าวคือการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมและเสมอภาคอันเกิดจากการใช้แหล่งทรัพยากรพันธุกรรมโดยการอนุรักษ์และใช้ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน[3]

การเห็นชอบและการให้สัตยาบัน แก้

พิธีสารนาโงยะมีมติเห็นชอบในวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 2010 ในนาโงยะ, ประเทศญี่ปุ่น ที่การประชุมภาคีครั้งที่ 10 จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 18 ถึง 29 ตุลาคม ค.ศ. 2010[4] และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 2014

จนถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 2020 มี 128 กว่าภาคีรวมถึงรัฐสมาชิกสหประชาชาติ 127 รัฐ และสหภาพยุโรปที่ให้สัตยาบันต่อพิธีสารฯ[5]

พันธสภาพ แก้

พิธีสารนาโงยะสร้างข้อผูกมัดต่อประเทศที่ลงนามในการวางมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรม การแบ่งปันผลประโยชน์ และการร่วมมือต่อพิธีสาร

ข้อผูกมัดด้านการเข้าถึงแหล่งทรัพยากร แก้

มาตรการระดับภายในประเทศมีจุดมุ่งหมายใน:

  • การสร้างความแน่นอน, ความชัดเจน, และความโปร่งใส
  • การกำหนดกฎเกณฑ์และระเบียบวิธีการที่ยุติธรรมและไม่ถือพลการ ในการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรม
  • การวางกฎและขั้นตอนที่ชัดเจนสำหรับคำยินยอมที่แจ้งล่วงหน้าและข้อกำหนดที่ตกลงร่วมกันไว้
  • การออกเอกสารอนุญาตหรือเอกสารเทียบเท่าในเวลาเข้าถึง
  • การมอบการประกันใบอนุญาตหรือสิ่งอื่นที่เทียบ
  • การสร้างเงื่อนไขเพื่อส่งเสริมและกระตุ้นงานวิจัยที่เกื้อกูลต่อการอนุรักษ์และการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
  • การให้ความสนใจต่อข้อเท็จจริงทั้งปวงแก่ กรณีของเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหรือที่ใกล้จะเกิดขึ้นซึ่งคุกคามหรือทำลายสุขภาพมนุษย์ สัตว์ หรือพืช
  • การพิจารณาความสำคัญของทรัพยากรพันธุกรรมเพื่ออาหารและการเกษตรเพื่อความปลอดภัยทางอาหาร

ข้อผูกมัดด้านการแบ่งปันผลประโยชน์ แก้

มาตรการระดับภายในประเทศด้านการแบ่งปันผลประโยชน์มีจุดมุ่งหมายในการมอบการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ยุติธรรมและเท่าเทียมเพื่ออนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพกับภาคีที่ลงนามซึ่งมอบทรัพยากรพันธุกรรมดังกล่าว การใช้ทรัพยากรนั้นรวมถึงการวิจัยและการพัฒนาองค์ประกอบทางพันธุกรรมหรือทางชีวเคมีของทรัพยากรพันธุกรรม, การประยุกต์ใช้ในภายหลัง และการทำให้เป็นธุรกิจ (commercialization) การแบ่งปันนั้นเป็นเรื่องของข้อกำหนดที่ตกลงร่วมกันไว้แล้ว และผลประโยชน์นั้นอาจเกี่ยวข้องกับเงินหรือไม่ก็ได้ เช่น ค่าสิทธิ (royalties) และการแบ่งปันผลการวิจัย

ข้อผูกมัดด้านการร่วมมือ แก้

ข้อผูกมัดจำเพาะในการพัฒนาด้านการร่วมมือผ่านการตรากฎหมายในระดับประเทศหรือการออกข้อบังคับควบคุมของภาคีในการมอบทรัพยากรพันธุกรรม และข้อผูกมัดด้านสัญญาที่สะท้อนในข้อกำหนดที่ตกลงร่วมกันไว้นั้นเป็นสาระสำคัญของพิธีสารนาโงยะ

สมาชิกภาคีจะต้อง:

  • วางมาตรการว่าทรัพยากรพันธุกรรมจะต้องใช้และเข้าถึงภายในขอบเขตอำนาจศาลโดยสอดคล้องกับคำยินยอมที่แจ้งล่วงหน้าและข้อกำหนดที่ตกลงร่วมกันไว้ได้ถูกกำหนดซึ่งถูกร้องขอโดยสมาชิกภาคีอื่น
  • ร่วมมือในคดีที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดข้อกำหนดของสมาชิกภาคีอื่น
  • ส่งเสริมข้อบังคับในสัญญาว่าด้วยการยุติข้อพิพาทในข้อกำหนดที่ตกลงร่วมกันไว้
  • ให้ความมั่นใจในโอกาสอันเปิดรับการขอความช่วยเหลือภายใต้กลไกกฎหมายเมื่อเกิดข้อพิพาทจากข้อตกลงร่วม (Mutually Agreed Terms; MAT)
  • วางมาตรการเกี่ยวกับการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม
  • ควบคุมการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมหลังจากที่ออกจากประเทศโดยการกำหนดจุดตรวจปฏิบัติงานในทุก ๆ ห่วงโซ: การวิจัย, การพัฒนา, การคิดค้น, การก่อนการทำให้เป็นธุรกิจ (pre-commercialization) หรือ การทำให้เป็นธุรกิจ

ข้อวิจารณ์ แก้

อย่างไรก็ตาม มีข้อกังวลว่าการเพิ่มความเป็นอำมาตยาธิปไตย และการตรากฎหมายอาจสร้างความเสียหายในการควบคุมดูแลโดยภาพรวม การอนุรักษ์และการรวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพ, ในการตอบโต้ต่อโรคติดเชื้ออย่างเป็นสากล และการวิจัย[6][2][7]

นักวิทยาศาสตร์หลายคนได้แสดงข้อกังวลต่อพิธีสารถึงการเพิ่มขึ้นของข้อบังคับที่เข้มงวดและการมีขั้นตอนมากเกินไปจะขัดขวางการป้องกันโรคและการอนุรักษ์[1] อีกทั้งการคุกคามนักวิทยาศาสตร์ด้วยการกักขังจะส่งผลอย่างมากต่อการวิจัยต่อไป[6][7] นักวิจัยและสถาบันความหลากหลายทางชีวภาพไม่ใช่เชิงพาณิชย์อย่างพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ (Natural History Museum) กังวลว่าการเปิดกิจการพิพิธภัณฑ์สัตว์และพืชทะเลต่อไปและการแลกเปลี่ยนระหว่างสถาบันจะทำได้ยากขึ้น[2]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Prathapan, K. Divakaran; Pethiyagoda, Rohan; Bawa, Kamaljit S.; Raven, Peter H.; Rajan, Priyadarsanan Dharma (2018). "When the cure kills—CBD limits biodiversity research". Science. 360 (6396): 1405–1406. Bibcode:2018Sci...360.1405P. doi:10.1126/science.aat9844. PMID 29954970. S2CID 206667464. สืบค้นเมื่อ 2018-11-28.
  2. 2.0 2.1 2.2 Watanabe, Myrna E. (June 2015). "The Nagoya Protocol on Access and Benefit Sharing—International treaty poses challenges for biological collections". BioScience. pp. 543–550. doi:10.1093/biosci/biv056.[ลิงก์เสีย]
  3. "Nagoya Protocol". 9 June 2015.
  4. "Strategic Plan for Biodiversity 2011-2020, including Aichi Biodiversity Targets". Convention on Biological Diversity. 21 January 2020. สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
  5. "Parties to the Nagoya Protocol". Convention on Biological Diversity. 1 January 1970. สืบค้นเมื่อ 10 December 2020.
  6. 6.0 6.1 Cressey, Daniel (2014). "Biopiracy ban stirs red-tape fears". Nature. 514 (7520): 14–15. Bibcode:2014Natur.514...14C. doi:10.1038/514014a. PMID 25279894. S2CID 4457904.
  7. 7.0 7.1 "A plea for open science on Zika". www.sciencemag.org. สืบค้นเมื่อ 2016-04-02.

หนังสืออ่านเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้