พาหุสัจจะ (บาลี: พาหุสฺสจฺจ, จาก พหุสฺสุต + -ณฺย ปัจจัยในภาวตัทธิต) แปลว่า ความเป็นผู้ได้สดับตรับฟังมาก หมายถึงการได้ศึกษาเล่าเรียนมาก การมีความรู้ประสบการณ์มาก เรียกบุคคลผู้มีภาวะอย่างนั้นว่าพหูสูต คือผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมากมาก ผู้มีความรู้มาก ผู้คงแก่เรียน นักปราชญ์ หนังสือบางฉบับเรียกว่า "หัวใจนักปราชญ์"

พาหุสัจจะ เกิดจากการศึกษา และการศึกษาที่ดีเกิดจากการศึกษา ๔ แบบ คือ ศึกษาด้วยการฟัง ด้วยการคิด ด้วยการสอบถาม และด้วยการจดจำบันทึก

มีคาถาบทหนึ่งที่ถือว่าเป็น หัวใจนักปราชญ์ คือ "สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กถํ โส ปณฺฑิโต ภเว" แปลว่า ผู้ปราศจาก สุ จิ ปุ ลิ จะเป็นบัณฑิตได้อย่างไร

สุ ย่อมาจาก สุต (จาก สุ ธาตุ) แปลว่า ฟัง, ได้ยิน
จิ ย่อมาจาก จินฺต (จาก จินฺตฺ ธาตุ) แปลว่า คิด
ปุ ย่อมาจาก ปุจฺฉา (จาก ปุจฺฉฺ ธาตุ) แปลว่า ถาม
ลิ ย่อมาจาก ลิขิต (จาก ลิขฺ ธาตุ) แปลว่า จด, เขียน

อ้างอิง แก้