พลเอก พัลลภ ปิ่นมณี อดีตที่ปรึกษาพรรคเพื่อไทย อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)[1] อดีตรองผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ฝ่ายการเมือง และอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

พัลลภ ปิ่นมณี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 (87 ปี)
พรรคการเมืองพรรคเพื่อไทย
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
จปร.7
ศิษย์เก่าโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
อาชีพนายทหาร
นักการเมือง
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองทัพบก
ประจำการพ.ศ. 2508 - พ.ศ. 2539
ยศ พลเอก
ผ่านศึกสงครามเวียดนาม
สงครามกลางเมืองลาว

ประวัติ แก้

พัลลภ เกิดเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 ที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม มีชื่อเดิมว่า อำนาจ ปิ่นมณี สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร แล้วเข้าศึกษาต่อโรงเรียนเตรียมนายร้อยทหารบก รุ่นที่ 14 และจบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.7 รุ่นเดียวกับ พล.ต. จำลอง ศรีเมือง, พล.ต. มนูญกฤต รูปขจร, พ.อ.(พิเศษ) ประจักษ์ สว่างจิตร) และโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 49

ภารกิจในประเทศลาว และเวียดนาม แก้

ปี พ.ศ. 2508 พล.อ. พัลลภ สมัครเข้าเป็นหัวหน้าชุดสตาร์ทีมหรือที่เรียกว่า Special Force เข้าไปปฏิบัติการลับในประเทศลาว และโดยได้เป็นหัวหน้าทีมภารกิจนอกราชการ ลอบสังหารและภารกิจกองโจรในสงครามเวียดนาม โดยในทีมมี 6 คน ทุกคนต้องลาออกจากราชการก่อน ภารกิจคือซุ่มยิงนายทหาร วางระเบิดเส้นทางลำเลียง ตัดกำลังข้าศึกทุกรูปแบบ ร่วมกับทหารลาว ในการโจมตีเวียดนาม

รวมทั้งสงครามปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในประเทศลาวด้วย[2]

ก่อการปฏิวัติและรัฐประหาร แก้

ในปี พ.ศ. 2524 ในเหตุการณ์กบฏเมษาฮาวาย พล.อ.พัลลภ ในตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 19 อำเภอตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี (จังหวัดสระแก้วในปัจจุบัน) เป็นผู้นำกำลังรถถังกว่า 100 คัน และทหาร 4 กองพัน คือ 3 กองพันทหารราบ และ 1 กองพันทหารปืนใหญ่ จาก อำเภออรัญประเทศ มุ่งหน้าสู่กรุงเทพมหานคร เพื่อยึดอำนาจรัฐบาล พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ แต่ไม่สำเร็จ สุดท้ายต้องลี้ภัยไปต่างประเทศ หนีไปอยู่ประเทศลาว ถูกจับขังคุกอยู่นาน 2 เดือน ก่อนที่กลับเข้ารับราชการอีกครั้งในปี พ.ศ. 2530

นอกจากนี้แล้วในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พล.อ.พัลลภให้สัมภาษณ์ยอมรับว่าเป็นผู้นำในการเผาสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้งเอง รวมทั้งยังเคยไล่ล่าเอาชีวิต พล.อ. อาทิตย์ กำลังเอก ในยุคที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกด้วย เพราะ พล.อ.พัลลภอ้างว่า พล.อ.อาทิตย์รู้เห็นเป็นใจให้นายทหารรุ่น จปร.5 กลั่นแกล้งตนเอง[3]

และในการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 นั้น พล.อ.พัลลภ เป็นบุคคลหนึ่งที่ทางคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ติดต่อเพื่อให้เป็นที่ปรึกษาด้วยในคืนวันก่อการ ที่กองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนิน[4]

กรณีกรือเซะ แก้

ในเหตุการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ที่มัสยิดกรือเซะเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2547 ที่ทางทหารไทยได้สังหารผู้ก่อความไม่สงบที่หลบไปซ่อนอยู่ในมัสยิดเสียชีวิตทั้งหมด 33 ศพนั้น พล.อ.พัลลภ ในฐานะผู้อำนวยการเหตุการณ์ครั้งนั้นถูกมองว่ากระทำการรุนแรงเกินกว่าเหตุ ซึ่งต่อมาทาง พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ได้ออกมาแสดงท่าทีปกป้องการทำหน้าที่ครั้งนี้ของ พล.อ.พัลลภ และได้ให้ฉายา พล.อ.พัลลภ ว่า "แมคอาเทอร์เมืองไทย"[5][6] ซึ่งคำว่าแมกอาเธอร์ เป็นนามสกุลของจอมพล ดักลาส แมกอาร์เธอร์ ซึ่งเป็นจอมพลแห่งกองทัพฟิลิปปินส์ และเป็นเสนาธิการทหารบกสหรัฐ

กรณีคาร์บอมบ์ แก้

ในวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทยเมื่อช่วงกลางปี พ.ศ. 2549 ในกรณีคาร์บอมบ์รถยนต์ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549 รถคันหนึ่งซึ่งขนวัตถุระเบิดกว่า 67 กิโลกรัมได้หยุดบริเวณใกล้ที่พักของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในเขตธนบุรี โดยมี ร.ท. ธวัชชัย กลิ่นชะนะ อดีตคนขับรถส่วนตัวของเขาเป็นพลขับ โดยการสืบสวนของตำรวจพบว่า รถคนดังกล่าวได้ออกจากสำนักงานใหญ่ของ กอ.รมน. เมื่อเช้าวันเดียวกัน[7]

พล.อ. พัลลภ ปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว และกล่าวว่า "ถ้าผมทำ นายกฯ หนีไม่พ้นผมหรอก..."[8][9] และกล่าวอ้างว่า "วัตถุระเบิดอยู่ระหว่างการขนส่ง ไม่ได้เก็บรวบรวมมาจุดระเบิด"[8] ในขณะที่ฝ่ายที่ต่อต้านรัฐบาลมองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นแผนสมคบคิดของรัฐบาล[10]

ร.ท. ธวัชชัย ถูกจับกุมตัว และพล.อ.พัลลภ ถูกปลดออกจากตำแหน่งในทันที ในภายหลังได้มีการจับกุมนายทหารเพิ่มอีก 5 นาย เนื่องจากสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง[11] แต่นายทหาร 3 นาย รวมทั้ง ร.ท. ธวัชชัย ถูกปล่อยตัว ภายหลังการก่อรัฐประหารในเดือนกันยายน[12]

ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ศาลทหารมีคำสั่ง ลงโทษ[13]

  • พ.อ. มนัส สุขประเสริฐ และพ.อ. สุรพล สุประดิษฐ์ จำคุก 6 ปี
  • ร.ท. ธวัชชัย กลิ่นชะนะ จำคุก 4 ปี 6 เดือน

โดย จ.ส.อ. ชาคริต จันทระ เป็นพยานในคดีนี้

บทบาทในวิกฤตการณ์การเมือง แก้

บทบาทของ พล.อ. พัลลภ ปิ่นมณี ในวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548 - 2553 นั้น แบ่งออกได้เป็น 2 ช่วง ช่วงแรกในระหว่างที่ทางกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยชุมนุมกันอยู่ในทำเนียบรัฐบาล เมื่อกลางปี พ.ศ. 2551 นั้น หลังจากที่ทางกลุ่มพันธมิตรฯได้บุกยึดทำเนียบรัฐบาลแล้วในวันที่ 26 สิงหาคม มีความเป็นไปได้ว่า พล.ต. จำลอง ศรีเมือง แกนนำของพันธมิตรฯอาจถูกจับ ซึ่งในกรณีนี้ พล.อ. พัลลภได้กล่าวไว้ว่า หาก พล.ต. จำลอง ถูกจับเมื่อใด ตนจะขอเป็นแกนนำรุ่นที่ 2 เอง โดยทั้งหมดนี้มิได้เคยสัญญากันมาก่อน แต่เป็นสัญญาใจระหว่างเพื่อน[14]

แต่หลังจากนั้นมา พล.อ.พัลลภก็มีท่าทีเปลี่ยนไป โดยหันไปสนับสนุนฝ่าย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร มีข่าวคราวว่าได้เดินทางไปพบ พ.ต.ท. ทักษิณ ที่ต่างประเทศหลายต่อหลายครั้ง รวมทั้งได้เข้าสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย

ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 พล.อ.พัลลภ ได้เปิดแถลงข่าวว่า จะขอจัดตั้งกองทัพประชาชนเพื่อประชาธิปไตยขึ้นต่อสู้ แทนที่จะเป็นกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน โดยจะให้ พล.อ.ชวลิต เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด แต่ว่าแนวคิดนี้ได้ถูกปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงจากสังคมหรือแม้แต่ฝ่ายแนวร่วมของนปก.เองก็ตาม เช่น นายจตุพร พรหมพันธุ์ หรือ นายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นเหตุให้ พล.อ.พัลลภมีวิวาทะกับนายจตุพร และได้ประกาศขอยุติบทบาทในส่วนนี้ไป[15]

ในเดือน มีนาคม พ.ศ. 2557 เขามีบทบาทในการนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ เปิดรับสมัครสมาชิกเป็นการ์ดอาสาสมัครพิทักษ์ประชาธิปไตยแห่งชาติ ใช้เคลื่อนไหวทางการเมืองในภาคอีสานที่ จ.มหาสารคาม[16]

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 34[17] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

ประวัติการทำงาน แก้

ราชการทหาร แก้

ตำแหน่งทางการเมือง แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้

  •   สหรัฐ :
    • พ.ศ. 2512 -   เมอริโทเรียส ยูนิท คอมมันเดเชิน (ทหารบก)

อ้างอิง แก้

  1. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 146/2554 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง
  2. ประวัติพลเอกพัลลภ ปิ่นมณี ตอนที่1[ลิงก์เสีย]
  3. "คิดแบบ พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี จาก"ลาว"ถึง"พฤษภาทมิฬ" และล่าสังหาร"พล.อ.อาทิตย์"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-01. สืบค้นเมื่อ 2010-02-18.
  4. ลับ ลวง พราง ปฏิวัติปราสาททราย โดย วาสนา นาน่วม (สำนักพิมพ์มติชน กรุงเทพมหานคร, เมษายน พ.ศ. 2551) ISBN 9789746038294
  5. "พัลลภ" ยัน ผมขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว!!
  6. ล้วงตับการเมืองสุดสัปดาห์-ความฝันของ“พัลลภ”
  7. The Nation. It is not a hoax : police spokesman เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
  8. 8.0 8.1 The Nation. 'If I was behind it, PM would be dead'.เก็บถาวร 2011-11-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
  9. The Nation. Army officer arrested in alleged car bomb attempt is Pallop's driver: police เก็บถาวร 2009-05-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
  10. The Nation. 'Car bomb' a govt ploy, ex-security chief alleges เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
  11. Jonathan Head. Thai arrests over Thaksin 'plot'. BBC. 7 September 2006
  12. The Nation. Car-bomb suspects get bail เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. 30 September 2006
  13. ศาลทหารยกฟ้องคดีคาร์บอมบ์ลอบฆ่าทักษิณ
  14. พัลลภเผยสัญญาใจพร้อมนำม็อบแทนหากจำลองถูกจับกุม
  15. ***พัลลภ*** ประกาศยุติบทบาท ยันกองทัพประชาชนดีกว่าเสื้อแดง!!
  16. ผ่าองค์กร'อพปช.'กำเนิด'แดงบ้านริมคลอง'[ลิงก์เสีย]
  17. เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๓๗ ง หน้า ๑, ๒๓ เมษายน ๒๕๑๓
  19. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๖๕ ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๑๕ เมษายน ๒๕๑๗
  20. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๖๗ หน้า ๒๐๒๓, ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๐

แหล่งข้อมูลอื่น แก้