พลเอก พร ธนะภูมิ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ และเป็นบิดาของนางเกสรา ณ ระนอง ภริยาของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี[2]

พร ธนะภูมิ
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523
นายกรัฐมนตรีพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523
นายกรัฐมนตรีพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ก่อนหน้าเสริมศักดิ์ เทพาคำ
ถัดไปพลตรี จำลอง ศรีเมือง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 พฤษภาคม พ.ศ. 2460[1]
เสียชีวิต24 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 (96 ปี)[1]
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสเรณี ธนะภูมิ

ประวัติ แก้

พร ธนะภูมิ เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2460 เข้าศึกษาที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ต่อจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อเป็นนักเรียนเทคนิคทหารบก เมื่อปี พ.ศ. 2477 ในปี พ.ศ. 2479 เข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยทหารบก ในปี พ.ศ. 2481 และโรงเรียนเสนาธิการทหารบก รุ่น 29

พร สมรสกับนางเรณี ธนะภูมิ มีบุตรคือ นางเกสรา ธนะภูมิ สมรสกับนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง[2]

การทำงาน แก้

พร ธนะภูมิ เข้ารับราชการทหารในตำแหน่งผู้บังคับหมวด กองพันทหารราบที่ 3 เมื่อปี พ.ศ. 2483 กระทั่งได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ในปี พ.ศ. 2519 และเป็นรองปลัดกระทรวงกลาโหมในปีเดียวกัน

พร ธนะภูมิ ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[3] และได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์) ในปี พ.ศ. 2520 ต่อมาเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2522[4] ควบคู่กับตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ต่อมาในปี พ.ศ. 2526 ได้เข้าร่วมเป็นกรรมการบริหารพรรคชาติประชาธิปไตย[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

เครื่องอิสริยาภรณ์สากล แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 หนังสืออนุสรณ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก พร ธนะภูมิ
  2. 2.0 2.1 บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง[ลิงก์เสีย]
  3. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  4. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-29.
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2526/A/171/86.PDF
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๑๗
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๒๑
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๕๗, ๒ พฤษภาคม ๒๔๘๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๗๒ ง หน้า ๑๑๘๔, ๒๔ พฤษภาคม ๒๔๙๘
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๕๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๑๔
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๑๐๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๑๕
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๙๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๐๖, ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๘
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๒๕ ง หน้า ๘๘๓, ๑๙ มีนาคม ๒๕๑๑
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญปฏิบัติงานสหประชาชาติ, เล่ม 70 ตอนที่ 21 หน้า 1392, 31 มีนาคม 2496
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, ตอน 75 เล่มที่ 76 หน้า 2707, 29 มีนาคม 2498

แหล่งข้อมูลอื่น แก้