พระไพศาล วิสาโล

พระอธิการไพศาล วิสาโล (วงศ์วรวิสิทธิ์) เป็นพระนักเผยแผ่ที่เป็นที่รู้จักดีรูปหนึ่งของเมืองไทยในปัจจุบัน ท่านเกิดเมื่อ พ.ศ. 2500 บรรพชาและอุปสมบทเป็นพระ เมื่อ พ.ศ. 2526 ปัจจุบันพระไพศาลเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ

พระอธิการไพศาล วิสาโล

(ไพศาล วิสาโล)
ส่วนบุคคล
เกิด10 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 (66 ปี)
นิกายมหานิกาย
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดป่าสุคะโต จังหวัดชัยภูมิ
อุปสมบท5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต

พระไพศาล เป็นพระนักวิชาการ นักคิดนักเขียนในบวรพระพุทธศาสนารุ่นใหม่ เป็นนักปฏิบัติธรรม และนักบรรยายธรรมที่ผลิตผลงานออกมาในรูปสื่อโทรทัศน์ และหนังสือออกมาอย่างสม่ำเสมอในยุคปัจจุบัน ท่านยังเป็นผู้ริเริ่มในการเตรียมตัวทางจิตวิญญาณก่อนตาย เพื่อให้ผู้ตายจากไปอย่างสงบ มีผลงานเผยแพร่ในสื่อหลายรูปแบบ

ประวัติ แก้

พระอธิการไพศาล วิสาโล นามเดิม ไพศาล วงศ์วรวิสิทธิ์ เป็นบุตรคนที่ ๔ ของนายก๊กกี๊ และนางกิมวา แซ่อุ่ย เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๐๐ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา ที่โรงพยาบาลหัวเฉียว ภูมิลำเนา คลองมหานาค อำเภอป้อมปราบ กรุงเทพมหานคร

พ.ศ. ๒๕๐๔-๒๕๐๕ การศึกษาระดับก่อนวัยเรียนที่โรงเรียนสตรีจุลนาค

พ.ศ. ๒๕๐๖-๒๕๑๗ การศึกษาระดับประถม และมัธยมศึกษา แผนกศิลปะ โรงเรียนอัสสัมชัญ

พ.ศ. ๒๕๑๘-๒๕๒๓ การศึกษาระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์

ระหว่างเรียนที่ธรรมศาสตร์ เคยเป็นสาราณียกรปาจารยสาร และเป็นเจ้าหน้าที่กลุ่มประสานงานศาสนาเพื่อสังคมตั้งแต่ปี ๒๕๑๙ จนถึงปี ๒๕๒๖ โดยมีบทบาทร่วมในแนวทางอหิงสาต่อเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ จนเป็นเหตุให้ถูกล้อมปราบภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และถูกคุมขังในเรือนจำเป็นเวลา ๓ วัน

อุปสมบทเมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๖ ณ วัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร เรียนกรรมฐานจากหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ วัดสนามใน ก่อนไปจำพรรษาแรก ณ วัดป่าสุคะโต อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ โดยศึกษาธรรมกับหลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ จนกระทั่งหลวงพ่อคำเขียนมรณภาพเมื่อปี ๒๕๕๗

ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต ซึ่งมีแนวปฏิบัติเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แบบหลวงพ่อเทียน จิตสุโภ ส่วนใหญ่ท่านพำนักอยู่ที่วัดป่ามหาวัน อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โดยจำพรรษาสลับระหว่างวัดป่าสุคะโต กับวัดป่ามหาวัน

งานหนังสือ แก้

  • งานเขียน พ.ศ. ๒๕๑๘ - ๒๕๕๕ จำนวน ๑๕๒ เล่ม
  • งานเขียนร่วม พ.ศ. ๒๕๓๐ - ๒๕๕๔ จำนวน ๒๔ เล่ม
  • งานแปล พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๕๐ จำนวน ๕ เล่ม
  • งานแปลร่วม พ.ศ. ๒๕๑๘ - ๒๕๓๕ จำนวน ๔ เล่ม
  • งานบรรณาธิกรณ์ พ.ศ. ๒๕๒๙ - ๒๕๔๙ จำนวน ๕ เล่ม
  • งานบรรณาธิกรณ์ร่วม พ.ศ. ๒๕๒๑ จำนวน ๒ เล่ม

งานศึกษา งานวิชาการและงานวิจัย แก้

  • พ.ศ. ๒๕๒๗ ปาฐกถาโกมลคีมทอง เรื่อง “แสวงหารากฐานของชีวิตในโลกแห่งกิจกรรม”
  • พ.ศ. ๒๕๓๗ งานวิจัยเรื่อง “ประวัติศาสตร์การบริโภคสุราในประเทศไทย” สนับสนุนโดย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
  • พ.ศ. ๒๕๓๗ ปาฐกถาปาจารยสาร เรื่อง “ด้วยพลังแห่งปัญญาและความรัก”
  • พ.ศ. ๒๕๔๖ งานวิจัยเรื่อง “พุทธศาสนาในอนาคต : แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต”
  • พ.ศ. ๒๕๔๗ ปาฐก ๑๔ ตุลา เรื่อง “ทางออกจากกับดักแห่งความรุนแรงในยุคทักษิณ”
  • พ.ศ. ๒๕๔๖ งานวิจัยเรื่อง “การจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธีในระบบการแพทย์และสาธารณสุข”
  • พ.ศ. ๒๕๕๐ ปาฐกถา เรื่อง “ความหวังและปัญหาท้าทายแนวทางสันติวิธีในปัจจุบัน” ในงานมหกรรมสันติวิธี ภาคใต้
  • พ.ศ. ๒๕๕๑ ปาฐกถานำในการประชุมประจำปีของสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เรื่อง “พุทธธรรม ศีลธรรม กับประชาธิปไตย”
  • พ.ศ. ๒๕๕๕ ปาฐกถาศาสตราจารย์อดุล วิเชียรเจริญ เรื่อง “ศิลปศาสตร์กับการพัฒนามนุษย์” ในวาระ ๕๐ ปีแห่งการก่อตั้งคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กิจกรรมและตำแหน่ง แก้

  • พ.ศ. ๒๕๑๘-๒๕๑๙ สาราณียกร วารสารปาจารยสาร
  • พ.ศ. ๒๕๑๙ จัดตั้งกลุ่มประสานงานศาสนาเพื่อสังคม (อดีต)
  • พ.ศ. ๒๕๑๙-๒๕๒๖ เจ้าหน้าที่กลุ่มประสานงานศาสนาเพื่อสังคม
  • พ.ศ. ๒๕๓๐-๒๕๓๑ อนุกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พ.ศ. ๒๕๓๔ ที่ปรึกษาชมรมเด็กรักนกรักษ์ธรรมชาติ จ.ชัยภูมิ
  • พ.ศ. ๒๕๓๕ กรรมการกลุ่มเสขิยธรรม
  • พ.ศ. ๒๕๓๘-๒๕๕๑ กรรมการสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พ.ศ. ๒๕๓๙ กรรมการมูลนิธิโกมลคีมทอง
  • พ.ศ. ๒๕๔๐ กรรมการมูลนิธิสุขภาพไทย
  • พ.ศ. ๒๕๔๒ จัดตั้งเครือข่ายพุทธิกา
  • พ.ศ. ๒๕๕๒-ปัจจุบัน ที่ปรึกษาโครงการส่งเสริมสุขภาวะทางปัญญา เครือข่ายพุทธิกา
  • พ.ศ. ๒๕๔๓-๒๕๔๕ วิทยากรโครงการเสริมสร้างทักษะแก่ผู้ปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมด้วยสันติวิธี
  • พ.ศ. ๒๕๔๓ จัดตั้งและดำเนินโครงการธรรมยาตราลุ่มน้ำลำปะทาว เพื่อฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติบนเทือกเขาภูแลนคา จังหวัดชัยภูมิ
  • พ.ศ. ๒๕๔๖ กรรมการที่ปรึกษามูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ
  • พ.ศ. ๒๕๔๕ กรรมการที่ปรึกษาโรงเรียนวรรณสว่างจิต
  • พ.ศ. ๒๕๔๗ วิทยากรหลักและที่ปรึกษา โครงการเผชิญความตายอย่างสงบ ของเครือข่ายพุทธิกา
  • พ.ศ. ๒๕๔๗-๒๕๔๙ วิทยากรโครงการการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธีในระบบการแพทย์และสาธารณสุข
  • พ.ศ. ๒๕๔๘-๒๕๔๙ กรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ
  • พ.ศ. ๒๕๔๘-๒๕๕๒ กรรมการบริหารสำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ
  • พ.ศ. ๒๕๕๐ กรรมการมูลนิธิส่งเสริมสันติวิถี
  • พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๔ กรรมการสภาสถาบันอาศรมศิลป์
  • พ.ศ. ๒๕๕๑ กรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พ.ศ. ๒๕๕๒ กรรมการที่ปรึกษา International Network of Engaged Buddhists
  • พ.ศ. ๒๕๕๓-๒๕๕๕ กรรมการปฏิรูป
  • พ.ศ. ๒๕๕๓ กรรมการที่ปรึกษา Buddhist Peace Fellowship (USA)

ประกาศเกียรติคุณและรางวัล แก้

  • พ.ศ. ๒๕๑๘ ทุนภูมิพล
  • พ.ศ. ๒๕๔๓ รางวัลบุคคลดีเด่นด้านสันติภาพ ในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปีชาตกาล นายปรีดี พนมยงค์
  • พ.ศ. ๒๕๔๘ รางวัลชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ หนังสือดีเด่นสาขาศาสนาและปรัชญาเรื่อง พุทธศาสนาไทยในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต
  • พ.ศ. ๒๕๕๑ รางวัลคนดีนำทางแทนคุณแผ่นดิน
  • พ.ศ. ๒๕๕๒ ประกาศเกียรติคุณ ผู้มีคุณูปการต่อกระทรวงสาธารณสุข ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม
  • พ.ศ. ๒๕๕๓ รางวัลศรีบูรพา
  • พ.ศ. ๒๕๕๓ รางวัลเกียรติยศคนค้นฅนอวอร์ด
  • พ.ศ. ๒๕๕๓ รางวัลนักเขียนอมตะ
  • พ.ศ. ๒๕๕๓ รางวัลพระธาตุพนมทองคำ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พ.ศ. ๒๕๕๔ โล่เกียรติยศ ประเภทศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พ.ศ. ๒๕๕๔ รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ด้านนันทนาการ ประเภทการอ่าน การเขียน การพูด จากกรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
  • พ.ศ. ๒๕๕๔ เกียรติคุณดำเนินงานดีเด่น ด้านการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กระทรวงสาธารณสุข
  • พ.ศ. ๒๕๕๔ รางวัลพุทธคุณูปการ ประเภทรัชตเกียรติคุณ
  • พ.ศ. ๒๕๕๕ ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พ.ศ. ๒๕๕๕ ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

อ้างอิง แก้