พระแม่มารีกับไม้ปั่นด้าย

ดูบทความหลักที่ พระแม่มารีและพระบุตร

พระแม่มารีกับไม้ปั่นด้าย
ศิลปินเลโอนาร์โด ดา วินชี
ปีราว ค.ศ. 1501
ประเภทภาพเขียนสีน้ำมัน
สถานที่งานสะสมส่วนบุคคล นครนิวยอร์ก

พระแม่มารีกับไม้ปั่นด้าย (ภาษาอังกฤษ: Madonna of the Yarnwinder) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชีจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลี ที่เป็นงานสะสมส่วนบุคคล

“พระแม่มารีกับไม้ปั่นด้าย” ราว ค.ศ. 1501 เป็นหัวเรื่องของภาพสีน้ำมันหลายภาพที่เขียนหลังจากที่ภาพเขียนต้นฉบับสูญหายไป เป็นภาพของพระแม่มารีและพระบุตรที่ต่างมองไม้ปั่นด้ายที่พระแม่มารีใช้ด้วยความละห้อย ไม้ปั่นด้ายเป็นทั้งสัญลักษณ์ของความอยู่กับเรือนและสัตยกางเขน (True Cross) ที่พระเยซูจะทรงถูกตรึงต่อมา หรืออาจจะเป็นนัยถึงชะตาซึ่งในตำนานสมัยโบราณใช้ไม้ปั่นด้ายเป็นสัญลักษณ์ ภาพนี้มีด้วยกันอย่างน้อยสามภาพที่เป็นของส่วนบุคคล สองภาพอยู่ในสหรัฐอเมริกา รวมทั้งภาพหนึ่งที่รู้จักกันในชื่อ “พระแม่มารีแลนด์สดาวน์” (The Landsdowne Madonna)

ภาพเขียนต้นฉบับอาจจะเป็นงานที่จ้างโดยฟลอริมุนด์ โรแบร์เตท์องคมนตรีต่างประเทศในพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส

ฉบับบุคคล็อยช์ แก้

ภาพที่เชื่อกันว่าน่าจะเป็นงานของดา วินชิมากที่สุดเป็นของริชาร์ด สกอตต์ ดยุคแห่งบุคคล็อยช์ที่ 10 (Richard Scott, 10th Duke of Buccleuch) ที่แขวนอยู่ที่ปราสาทดรัมแลนริก (Drumlanrig Castle) ที่ดัมฟรีย์สและกาลลาเวย์ในสกอตแลนด์จนกระทั่งถูกขโมย

ในปี ค.ศ. 2003 ภาพเขียนถูกขโมยโดยโจรสองคนที่ทำตัวกลืนกับนักท่องเที่ยว[1] แต่ก็ได้คืนมาหลังจากตำรวจเข้าบุกค้นสำนักงานทนายความในกลาสโกว์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2007 ซึ่งทางสำนักงานทนายความกล่าวว่าไม่มีอะไรที่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายนอกไปจากคำอธิบายที่ไม่น่าตื่นเต้นอะไร[2] มีผู้ถูกจับสี่คนรวมทั้งทนายสองคนจากสองสำนักงานซึ่งกล่าวว่าเป็นแต่เพียงตัวแทนตรวจดูสัญญาระหว่างลูกค้าสองฝ่ายเท่านั้น[3]

อ้างอิง แก้

  1. Guardian article on the 2003 theft
  2. The (London) Times, citing the Glasgow Daily Record, October 5, 2007.
  3. Scotsman และ Times online, October 5th, 2007 และ BBC

ดูเพิ่ม แก้