พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญา (27 มกราคม พ.ศ. 2401 – 24 มกราคม พ.ศ. 2479) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแก้ว

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นเอก
ประสูติ27 มกราคม พ.ศ. 2401
พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพพระมหานคร
สิ้นพระชนม์24 มกราคม พ.ศ. 2479 (77 ปี)
พระบรมมหาราชวัง จังหวัดพระนคร
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาแก้ว
ศาสนาพุทธ

พระประวัติ แก้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญา ประสูติเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2400 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2401) เป็นพระราชธิดาองค์ที่ 39 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแก้ว (สกุลเดิม บุรณศิริ)[1] เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์มีโรคไข้หวัดระบาดภายในพระบรมมหาราชวัง พระองค์ประชวรไข้อย่างรุนแรง พร้อมกับเจ้าจอมเขียน ในรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นบาทบริจาริกา ต้องรักษาพระอาการประชวรอยู่หลายวันจึงหายจากพระอาการประชวร ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปัทมราช ความว่า "วาณีรัตนกัญญา บุตร์หญิงของหม่อมฉันคนหนึ่ง ซึ่งเปนบุตร์มารดาชื่อแก้วนั้น ป่วยลงคนหนึ่ง อาการมากหมอไม่รับ อยู่หลายวันก็หาย หาตายไม่..." เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ชาววังตายมากถึง 43 คน[2]

เจ้าจอมมารดาแก้วยักยอกนำทรัพย์สินของพระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญาไปผลาญเพราะติดการพนัน ทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกริ้วคุณจอมนางนี้และพาลไม่โปรดพระราชธิดาพระองค์นี้ด้วย ด้วยเหตุนี้พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญาจึงทรงตั้งใจเล่าเรียนกับแอนนา ลีโอโนเวนส์ ด้วยหวังว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงพอพระทัย[3] และทรงนำความรู้ที่ได้ถ่ายทอดแก่เน้ย นางทาสในพระองค์จนถึงขั้นอ่านและแปลภาษาอังกฤษได้[4] ต่อมาเจ้าจอมมารดาแก้วเล่นพนันอีกและเสียนางทาสชื่อเน้ยของพระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญาไป คราวนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงสั่งลงโบยคุณจอมท่านนี้[5]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญามีพระทัยเอื้อเฟื้อพระราชทานสิ่งของแก่เสือป่า เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463[6] ครั้นในช่วงการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เหล่าพระบรมวงศานุวงศ์ทรงพากันอพยพออกจากพระบรมมหาราชวัง โดยเฉพาะพระตำหนักฝ่ายในแทบไม่มีเจ้านายประทับอยู่เลย ครั้งนั้นพระองค์ยังคงประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ด้วยมีพระชันษาสูงและทรงพี ทำให้เสด็จพระดำเนินไม่สะดวกนัก พระองค์พำนักอยู่ร่วมกันกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าผ่องประไพ พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[7]

พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเป็นองค์กุลเชษฐ์แห่งพระบรมวงศานุวงศ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เป็นเวลาสองปี ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2476 ต่อจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรุณวดี พระเชษฐภคินีต่างพระมารดา ตราบจนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2478 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2479)[8] สิริพระชันษา 77 ปี มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2479 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2480) ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร[9]

พระเกียรติยศ แก้

ธรรมเนียมพระยศของ
พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญา
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท[10]
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า[10]
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ แก้

  • 27 มกราคม พ.ศ. 2400 — 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 : พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญา
  • 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 — 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญา
  • 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 — 24 มกราคม พ.ศ. 2478 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญา[11][12]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

  1. ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์. 2554, หน้า 310
  2. เทวะวงศ์วโรปการ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา (2465). พระราชหัดถเลขาในพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมครั้งที่ 3 (PDF). พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร. p. 2.[ลิงก์เสีย]
  3. ลีโอโนเวนส์, แอนนา แฮร์เรียต (เขียน), สุภัตรา ภูมิประภาสและสุภิดา แก้วสุขสมบัติ (แปล). อ่านสยามตามแอนนา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2562, หน้า 136-137
  4. ลีโอโนเวนส์, แอนนา แฮร์เรียต (เขียน), สุภัตรา ภูมิประภาสและสุภิดา แก้วสุขสมบัติ (แปล). อ่านสยามตามแอนนา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2562, หน้า 138
  5. ลีโอโนเวนส์, แอนนา แฮร์เรียต (เขียน), สุภัตรา ภูมิประภาสและสุภิดา แก้วสุขสมบัติ (แปล). อ่านสยามตามแอนนา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2562, หน้า 140
  6. "แจ้งความกรมบัญชาการคณะเสือป่า เรื่อง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญาทูลเกล้าฯ ถวายปลาหมึกกับบุหรี่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 37 (0): 3828. 13 กุมภาพันธ์ 2463.
  7. ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. ลูกท่านหลานเธอ ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในราชสำนัก. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : มติชน. 2555, หน้า 134
  8. "ข่าวในพระราชสำนัก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 52 (0ง): 3196. 2 กุมภาพันธ์ 2478.
  9. ราชกิจจานุเบกษา, หมายกำหนดการ ที่ ๑๕/๒๔๗๙ พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส พุทธศักราช ๒๔๗๙ เล่ม 53, ตอน 0 ง, 17 มกราคม พ.ศ. 2479, หน้า 2640
  10. 10.0 10.1 คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ และสายไหม จบกลศึก (บรรณาธิการ) (2555). ราชาศัพท์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. p. 22-23.[ลิงก์เสีย]
  11. "พระบรมราชโองการ ประกาศคำนำพระนามพระบรมวงศานุวงษ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (ก): 1. 30 ตุลาคม 2453.
  12. "พระบรมราชโองการ ประกาศคำนำพระนามพระบรมวงศานุวงษ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (ก): 154. 30 กรกฎาคม 2454.
  13. "การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้า และถวายบังคมพระบรมรูป เนื่องในวันคล้ายกับวันพระบรมราชาภิเษกครั้งหลัง ตามสุริยตคติ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 16 (34): 498. 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-05-20. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  14. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 21 (32): 570. 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 2012-12-16. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  15. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (39): 1153. 27 ธันวาคม พ.ศ. 2451. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2012-11-30. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  16. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0ง): 2551. 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-05-20. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  17. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0ง): 3114. 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2013-04-23. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
ก่อนหน้า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญา ถัดไป
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรุณวดี   กุลเชษฐ์ในราชวงศ์จักรี
(26 สิงหาคม พ.ศ. 2476 – 25 มกราคม พ.ศ. 2479)
  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป