พระเจ้าช็อลจง

(เปลี่ยนทางจาก พระเจ้าชอลจง)

พระเจ้าช็อลจง (เกาหลี철종; ฮันจา哲宗; 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1831 – 16 มกราคม ค.ศ. 1864) เป็นกษัตริย์องค์ที่ 25 แห่งโชซอน ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 1849 ถึง ค.ศ. 1864 หลังจากที่พระเจ้าฮ็อนจงแห่งโชซ็อน เสด็จสวรรคตโดยไม่มีรัชทายาทชายในการสืบราชบัลลังก์ในปี ค.ศ. 1849 ทำให้สายราชสกุลของพระเจ้าช็องโจสิ้นสุดลง พระนางซุนว็อนได้เลือกเจ้าชายอี ว็อน-บ็อม ซึ่งเป็นเจ้าชายที่อยู่ห่างไกลจากราชบัลลังก์มาสืบทอดราชบัลลังก์

พระเจ้าช็อลจง
朝鮮哲宗
조선 철종
พระบรมสาทิสลักษณ์ของพระเจ้าช็อลจง (สมบัติ #1492) ใน ค.ศ. 1861[1][a]
กษัตริย์แห่งโชซ็อน
ครองราชย์28 กรกฎาคม ค.ศ. 1849 – 16 มกราคม ค.ศ. 1864
ก่อนหน้าพระเจ้าฮ็อนจงแห่งโชซ็อน
ถัดไปพระเจ้าโคจง
ประสูติ25 กรกฎาคม ค.ศ. 1831(1831-07-25)
ย่าน Hyanggyo-dong, อำเภอ Gyeonghaeng-bang, ฮันซ็อง อาณาจักรโชซ็อน
สวรรคต16 มกราคม ค.ศ. 1864(1864-01-16) (32 ปี)
พระตำหนักแทโจจอน,[2][3] พระราชวังชังด็อก อาณาจักรโชซ็อน
ฝังพระศพSeosamneung, Goyang, จังหวัดคย็องกี
คู่อภิเษกพระนางชอริน
พระราชบุตร
รายละเอียด
Yi Yung-jun
เจ้าหญิง Yeonghye
พระราชบิดาแทว็อนกุนช็อนกเย
พระราชมารดาพระชายายองซอง
พระเจ้าช็อลจง
ฮันกึล
ฮันจา
อาร์อาร์Cheoljong
เอ็มอาร์Ch'ŏljong
นามปากกา
ฮันกึล
ฮันจา
อาร์อาร์Daeyongjae
เอ็มอาร์Taeyongchae
ชื่อเกิด
ฮันกึล
ฮันจา
อาร์อาร์I Wonbeom
เอ็มอาร์Yi Wŏnpŏm
ชื่อสุภาพ
ฮันกึล
ฮันจา
อาร์อาร์Doseung
เอ็มอาร์Tosŭng
ชื่อใหม่
ฮันกึล
ฮันจา
อาร์อาร์I Byeon
เอ็มอาร์Yi Pyŏn
พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์โชซ็อน
พระเจ้าแทโจ
พระเจ้าจองจง
พระเจ้าแทจง
พระเจ้าเซจงมหาราช
พระเจ้ามุนจง
พระเจ้าทันจง
พระเจ้าเซโจ
พระเจ้าเยจง
พระเจ้าซองจง
องค์ชายยอนซัน
พระเจ้าจุงจง
พระเจ้าอินจง
พระเจ้ามยองจง
พระเจ้าซอนโจ
องค์ชายควังแฮ
พระเจ้าอินโจ
พระเจ้าฮโยจง
พระเจ้าฮยอนจง
พระเจ้าซุกจง
พระเจ้าคยองจง
พระเจ้ายองโจ
พระเจ้าจองโจ
พระเจ้าซุนโจ
พระเจ้าฮอนจง
พระเจ้าชอลจง
จักรพรรดิโคจง
จักรพรรดิซุนจง

พระราชประวัติ แก้

พระราชประวัติ แก้

พระเจ้าช็อลจง มีพระนามเดิมว่า ลี พยอน พระราชสมภพวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1831 โดยเป็นพระโอรสของแทว็อนกุนช็อนกเย ซึ่งเป็นพระโอรสของเจ้าชายอึนนอน ดังนั้น พระองค์จึงเป็นพระปนัดดาของเจ้าชายรัชทายาทซาโด แต่เนื่องจากพระราชวงศ์ทางฝ่ายขององค์ชายอึนนอนได้เข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์ ทำให้องค์ชายอึนนอนและพระชายาถูกสำเร็จโทษในข้อหาข้องแวะคริสต์ศาสนาใน ค.ศ. 1801 จากเหตุการณ์สังหารหมู่ปีชินยู และต่อมาพระมารดาของพระองค์ คือ พระชายายงซอง ก็ถูกสำเร็จโทษด้วยข้อหาเดียวกัน ทำให้พระองค์ต้องทรงลี้ภัยไปเกาะเชจูและเปลี่ยนพระนามเป็น ลี วอนบอม และต่อมาเมื่อแทว็อนกุนช็อนกเยก็สิ้นพระชนม์ พระองค์จำต้องตรากตรำทำนาเลี้ยงชีพอยู่บนเกาะเชจู ด้วยเพราะการแก่งแย่งอำนาจของตระกูลคิมแห่งเมืองอันดง ทำให้สมาชิกพระราชวงศ์องค์อื่น ๆ ตกอยู่ในสภาพตกต่ำเช่นกัน

การแต่งตั้ง แก้

ในปี ค.ศ. 1849 พระเจ้าฮ็อนจงแห่งโชซ็อนสวรรคตโดยไม่มีได้สถาปนารัชทายาทไว้ พระนางคิม พระอัยยิกาเจ้าซึ่งเป็นมเหสีของพระเจ้าซุนโจ ทรงมีหน้าที่ต้องเป็นผู้เลือกสรรพระมหากษัตริย์องค์ต่อไปตามธรรมเนียม ทำให้พระนางขื้นมามีอำนาจแทนตระกูลโจที่นำโดยพระพันปีหลวง และพระนางทรงต้องการกษัตริย์หุ่นเชิดอีกพระองค์ จึงส่งขันทีไปเรียกตัวลีวอนบอมกลับมาจากเกาะเชจู ซึ่งพระองค์มีความใกล้ชิดตรงสายพระโลหิตกับพระราชวงศ์ที่สุด โดยเมื่อขันทีไปถึงเกาะเชจู ก็คำนับลีวอนบอมทั้งๆ ที่ลีวอนบอมกำลังทำนาอยู่อย่างนั้น และมีชีวิตที่แร้งแค้นยากลำบาก[4]

ในปี ค.ศ. 1850 ลี วอนบอม ก็ทรงขึ้นครองราชย์เป็น พระเจ้าช็อลจง แต่กระนั้นด้วยความที่ต้องทรงหลบหนีไปเกาะเชจูตั้งแต่ยังพระเยาว์ ทำให้ทรงไม่มีโอกาสจะเรียนหนังสือเหมือนสมาชิกพระราชวงศ์องค์อื่นๆ และทรงอ่านคำปฏิญาณในพิธีขึ้นครองราชย์ของพระองค์ไม่ออก กล่าวได้ว่าทรงเป็นกษัตริย์เกาหลีพระองค์เดียวที่ทรงพระอักษรไม่ออก และกล่าวกันว่ามีพระจริยวัตรเหมือนชาวประมง และเสวยน้ำจันท์มามายนัก

แม้พระเจ้าช็อลจงจะพระชนมายุ 18 พรรษาแล้ว แต่พระอัยยิกาคิมก็ยังคงยึดอำนาจเป็นผู้สำเร็จราชการแทนและจัดแจงให้พระเจ้าช็อลจง อภิเษกกับ พระนางชอริน จากตระกูลคิมแห่งอันดง และทำการแก้แค้นตระกูลโจแห่งพงยาง โดยการขับขุนนางตระกูลโจออกจากราชสำนักไปหมดสิ้น เหลือแต่พระพันปีโจโดดเดี่ยวเดียวดายในพระราชวัง แต่เหตุการณ์ก็พลิกผัน เมื่อพระอัยยิกาคิมสวรรคตในปี ค.ศ. 1857 อำนาจของตระกูลคิมจึงเสื่อมลงและเป็นโอกาสให้พระพันปีโจฟื้นฟูอำนาจของตระกูลโจขึ้นมาอีกครั้ง

สวรรคต แก้

ในวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 1864 พระเจ้าช็อลจง เสด็จสวรรคตที่พระราชวังชังด็อก พระชนมพรรษาเพียง 32 พรรษา โดยที่ยังไม่มีรัชทายาทมาสืบบัลลังก์ กล่าวกันว่าแม้จะทรงครองราชย์มา 13 ปี แต่พระเจ้าช็อลจงก็ยังมีพระจริยวัตรไม่สง่างามเหมือนชาวประมงและก็ยังทรงพระอักษรไม่ออกอยู่เหมือนเดิม พระศพนั้นถูกนำไปฝังที่สุสานหลวงราชวงศ์โชซ็อน สุสานซอซัมนัง พระราชสุสานเยลึง ภายหลังจากที่พระนางชอรินสวรรคตในปี ค.ศ. 1878 ก็ได้นำพระศพมาฝังไว้ที่นี่ด้วยเช่นกัน

ในปี ค.ศ. 1897 ภายหลังจากที่พระเจ้าโคจงสถาปนาพระองค์เองเป็นจักรพรรดิแห่งเกาหลี จึงทรงแต่งตั้งพระเจ้าชอลจงเป็น ฮ่องเต้ชัง (章皇帝)

พระนามเต็ม แก้

พระเจ้า ชอลจง ฮุยยุน จองกุก ซูด็อก ซุนซอง ฮุมมยุง ควางโด ดนวอน ชางฮวา มุนฮย็อน มูซอง ฮอนอิน ยองฮโย แห่งโชซ็อน

พระราชวงศ์ แก้

  • พระราชบิดา: แทว็อนกุนช็อนกเย (전계대원군, 1785–1841) (โอรสของเจ้าชายอึนออนซึ่งเป็นโอรสของเจ้าชายรัชทายาทซาโดซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าย็องโจ)
  • พระราชมารดา: เจ้าหญิงพระชายายงซอง ตระกูลยอม (용성부대부인 염씨)

พระมเหสี

พระสนม

  • พระสนมควีอิน ตระกูลปาร์ค (귀인 박씨)
  • พระสนมควีอิน ตระกูลโจ (귀인 조씨)
  • พระสนมควีอิน ตระกูลลี (귀인 이씨)
  • พระสนมซุกอึย ตระกูลพัง (숙의 방씨)
  • พระสนมซุกอึย ตระกูลพอม (숙의 범씨)
  • ซึงอึนซังกุง ตระกูลลี (궁인 이씨)
  • ซึงอึนซังกุง ตระกูลคิม (궁인 김씨)
  • ซึงอึนซังกุง ตระกูลปาร์ค (궁인 박씨)

พระราชโอรส

พระราชธิดา

  • เจ้าหญิงไม่ทราบพระนาม พระราชธิดาของพระสนมควีอิน ตระกูลลี
  • เจ้าหญิงยองฮเย พระราชธิดาของพระสนมซุกอึย ตระกูลพอม (ภายหลังอภิเษกกับ ปาร์ค ยองฮโย และมีธิดานามว่า ปาร์ค ชานจู ซึ่งอภิเสกกับเจ้าชายวูแห่งเกาหลี)

วัฒนธรรมร่วมสมัย แก้

2020; Mr.Queen (รักวุ่นวาย นายมเหสีหลงยุค) แสดงโดย คิม จ็อง-ฮย็อน

พงศาวลี แก้

หมายเหตุ แก้

  1. นี่เป็นพระบรมสาทิสลักษณ์เดียวของพระเจ้าช็อลจงที่คงรอด โดยได้รับความเสียหายจากไฟไหม้บางส่วนที่Yongdusan ปูซานใน ค.ศ. 1954 และได้รับการซ่อมแซมใน ค.ศ. 1987

อ้างอิง แก้

อ่านเพิ่ม แก้

  • Byeon Tae-seop (변태섭) (1999). 韓國史通論 (Hanguksa tongnon) (Outline of Korean history), 4th ed. ISBN 89-445-9101-6.
  • Cummings, Bruce. (1997). Korea's Place in the Sun: A Modern History. New York. ISBN 0-393-04011-9
ก่อนหน้า พระเจ้าช็อลจง ถัดไป
พระเจ้าฮ็อนจง    
กษัตริย์แห่งโชซ็อน
(พ.ศ. 2392 - 2406)
  พระเจ้าโคจง