พระสุวรรณมุนี (ฉุย สุโข)

พระสุวรรณมุนี[1] หรือ หลวงพ่อฉุย เป็นเกจิอาจารย์ อดีตเจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรี

ข้อมูลประวัติ แก้

พระสุวรรณมุนี มีนามเดิมว่า ฉุย เกิดวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2401 เป็นบุตรของนายนง นางนก อุปสมบทปี พ.ศ. 2421 ขณะอายุ 20 ปี

หลวงพ่อฉุยอาพาธโรคกระเพาะอาหารพิการ มรณภาพเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2466 สิริอายุ 65 ปี 38 วัน[2] พรรษา 45

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม แก้

เหรียญรุ่นแรก สร้างปี 2465 สร้างแจกในโอกาสทำบุญฉลองมณฑปที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช ซึ่งเหรียญรุ่นนี้ถือเป็นเหรียญยอดนิยมของวงการ สำหรับเหรียญรุ่นปี พ.ศ. 2467 เป็นเหรียญตาย สร้างพร้อมกับรูปหล่อขนาดเท่าองค์จริง เพื่อประดิษฐานในมณฑป ปลุกเสกโดยหลวงพ่อมงคล และ หลวงพ่อแฉ่ง สำหรับเหรียญรุ่นแรกนี้มีด้วยกัน 2 พิมพ์ คือ พิมพ์โมมีไส้ และพิมพ์โมไม่มีไส้

พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา แก้

พุทธคุณในเหรียญรุ่นนี้เด่นทาง เมตตามหานิยม แคล้วคลาด อยู่ยงคงกระพัน และอยู่ในชุดเบญจภาคี ของพระเครื่องไทยตลอดมา เหรียญของหลวงพ่อฉุยจัดว่าเป็นเหรียญที่หาย่าก

ก่อตั้งโรงเรียน แก้

หลวงพ่อฉุยได้ก่อร่างสร้างฐานรากที่แข็งแกร่งทางการศึกษาให้ลูกหลานชาวเพชรบุรีได้มีที่สถานศึกษาเล่าเรียนที่มีคุณภาพดี[3] และสร้างบุคคลกรที่ดี คุณประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองสืบไป โดยหลวงพ่อฉุยได้ย้ายโรงเรียนของหลวงพ่อริด จาก วัดพลับพลาชัยที่เปิดการเรียนการสอนมาตั้งแต่ พ.ศ. 2437 ด้วยเหตุว่าวัดพลับพลายชัยคับแคบ มาเรียน ณ วัดคงคารามวรวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2444 โดยตั้งชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนบำรุงไทย " ภายหลังโรงเรียนบำรุงไทยได้เปลียนเป็นชื่ออื่นเรื่อยมาและและกิจการด้านการเรียนการสอนได้เจริญรุดหน้าเป็นลำดับ สถานที่ของโรงเรียนในวัดคงคารามวรวิหารคับแคบเกินกว่าจะขยายฐานการศึกษาให้ใหญ่โตได้ จึงได้ย้ายโรงเรียนจากวัดคงคารามวรวิหารมาตั้ง ณ บริเวณวัดร้างเชิงเขาวัง (พระนครคีรี) ด้านทิศใต้ โดยตั้งในพื้นที่ของวัดป่าแก้ว วัดโคกมะกูด วัดช้างน้อย พื้นที่บางส่วนของวัดพระพุทธไสยาสน์ (วัดพระนอน) วัดช้างใหญ่ (วัดช้าง) และวัดถ้ำแก้ว ได้เปลียนชื่อเป็น "โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี" ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

อ้างอิง แก้

  1. ราชทินนนามตามสัญญาบัตรพระราชทานสมณศักดิ์คือ พระสุวรรณมุนี นรสีห์ธรรมทายาท สังฆปาโมกข์
  2. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 40 (ง): 3544. 13 มกราคม 2466. สืบค้นเมื่อ 2024-04-29.
  3. ประวัติโรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี Link เก็บถาวร 2009-05-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549