พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัชรีวงษ์

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัชรีวงศ์ (พ.ศ. 2387 – 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2444) พระนามเดิม หม่อมเจ้าขาว เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ และเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัชรีวงษ์
พระวรวงศ์เธอ ชั้น 2
พระองค์เจ้าชั้นตรี
ไฟล์:พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัชรีวงศ์.jpg
ประสูติพ.ศ. 2387
สิ้นพระชนม์26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2444 (57 ปี)
พระบุตรพระยาพิศาสสรเดช (หม่อมราชวงศ์อรุณ)
หลวงราชพงศ์ภักดี (หม่อมราชวงศ์เลี่ยม)
หม่อมราชวงศ์แสร์
หม่อมราชวงศ์สงวน
ราชวงศ์จักรี
ราชสกุลวัชรีวงศ์
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์

พระประวัติ แก้

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัชรีวงศ์ ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 หม่อมเจ้าขาว ได้รับราชการในตำแหน่งตุลาการศาลราชตระกูล และเป็นผู้ฉลองราชการในศาล แทนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็นผู้กำกับศาลมรดก และตุลาการศาลฎีกา จนกระทั่งได้เป็นผู้ช่วยอธิบดีศาลฎีกา และเป็นผู้แทนอธิบดีในศาลฎีกา หลังจากนั้นได้เป็นข้าหลวงออกไปชำระความความผู้ร้ายและความต่างประเทศ ณ เมืองจันทุบรี สำเร็จได้ตามพระราชประสงค์ แล้วได้รับตำแหน่งผู้ชำระความในกระทรวงนครบาล ภายหลังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ได้ทรงบัญชาการในตำแหน่งโดยความวิริยสุขุมคัมภีรภาพ สามารถอาจหาญ ในการที่จะพิจารณาพิพากษาอรรถคดีทั้งปวง ชำนิชำนาญในพระราชกำหนดกฎหมาย ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระยศเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัชรีวงศ์ เมื่อปีมะแม พ.ศ. 2438[1]

ในปี พ.ศ. 2435 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น องคมนตรี[2]

ครั้งหนึ่ง พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัชรีวงศ์ ได้ตามเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงทราบถึงประเพณีการร้องเพลงบอกบุญเป็นภาษามอญ จึงได้ทรงริเริ่มนิพนธ์เนื้อเพลงบอกบุญเป็นภาษาไทย เพื่อจะได้ร้องบอกบุญแก่คนไทยได้ด้วย ส่วนทำนองร้องยังคงเดิม ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเพลงบอกบุญของชาวไทยรามัญก็ได้มีเนื้อเพลงเป็นภาษาไทย และมีชื่อว่า เพลงเจ้าขาว ตามพระนามเดิมของพระองค์[3]

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัชรีวงศ์ ประชวรโรคเรื้อรังสิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 15.36 น. ของวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2444[4] พระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2445 พร้อมกับพระศพของหม่อมเจ้าประภากร มาลากุล[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประกาศสถาปนาพระเจ้าน้องยาเธอ พระวรวงศ์เธอเป็นต่างกรม แลสถาปนาหม่อมเจ้าเป็นพระองค์เจ้า แลเลื่อนตำแหน่งยศข้าราชการผู้ใหญ่เป็นเจ้าพระยา [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2439/001/16.PDFราชกิจจานุเบกษา เล่ม 13]
  2. การพระราชพิธีศรีสัจปานกาลพระราชทานพระไชยวัฒน์องค์เล็ก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แลตั้งองคมนตรี ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 19 หน้า 201
  3. ข้อมูลทั่วไปและอัตลักษณ์ของจังหวัดปทุมธานี
  4. "ข่าวสิ้นพระชนม์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 18 (48): 912. 2 มีนาคม 2444.
  5. "การเมรุวัดเทพศิรินทราวาศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 19 (51): 993. 8 มีนาคม 2445.
  6. ถวายบังคมพระบรมรูป แลพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 10 หน้า 368
  7. พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2018-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 17 หน้า 349 วันที่ 7 ตุลาคม ร.ศ.119
  • ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
  • บรรเจิด อินทุจันทร์ยง. ราชสกุลพระบรมราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : องค์การค้าของคุรุสภา, พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2539. หน้า หน้าที่. ISBN 974-005-650-8 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum