พัชราภิเษก (อังกฤษ: diamond Jubilee) เป็นการเฉลิมฉลองเพื่อแสดงการครบรอบ 60 ปี ซึ่งเกี่ยวกับบุคคล (เช่น การครบรอบแต่งงาน ระยะเวลาการครองราชสมบัติของพระมหากษัตริย์) หรือครบรอบ 75 ปี ซึ่งเกี่ยวกับเหตุการณ์[1]

ประเทศญี่ปุ่น แก้

จักรพรรดิโชวะ แก้

ในประเทศญี่ปุ่น พระราชพิธีพัชราภิเษกหมายถึงการครองราชสมบัติครบ 60 ปี ซึ่งเรียกว่า โกะไซอิ โระคุจูเน็น คิเน็น (ญี่ปุ่น: 御在位60年記念โรมาจิGo-Zai-i rokujūnen kinen) แปลว่า การรำลึกถึงการครองราชสมบัติเป็นปีที่ 60 โดยจักรพรรดิโชวะ (29 เมษายน พ.ศ. 2444 - 7 มกราคม พ.ศ. 2532) ทรงเฉลิมฉลองพระราชพิธีพัชราภิเษกเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2529

ประเทศไทย แก้

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร แก้

 
ตรา​สัญลักษณ์​พระราชพิธี​ฉลอง​สิริ​ราชสมบัติ​ ครบ​ 60​ ปี​ พุทธศักราช​ 2549

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2549 พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานตามที่รัฐบาลขอพระราชทาน มีชื่องานว่า พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี แต่ไม่ใช่ พระราชพิธีพัชราภิเษก ดังที่บางคนเรียกเพราะยังไม่ครบ 75 ปี[2]

จักรวรรดิอังกฤษและเครือจักรภพ แก้

ในประเทศอังกฤษและดินแดนในเครือจักรภพอื่น ๆ เช่น แคนาดา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์นั้น พระราชพิธีพัชราภิเษกจะจัดขึ้นโอกาสการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีขององค์พระประมุข

สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย แก้

ก่อนหน้าที่เครือจักรภพอังกฤษยังเป็นจักรวรรดิอังกฤษอันยิ่งใหญ่ ได้มีการจัดพระราชพิธีพัชราภิเษกมาแล้วครั้งหนึ่งในรัชสมัยสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2440

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แก้

ถัดมาในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ซึ่งเป็นพระประมุขแห่งดินแดนรัฐอิสระในเครือจักรภพจำนวนมาก เช่น อังกฤษ แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จาเมกา และประเทศและดินแดนโพ้นทะเลอื่น ๆ มีการฉลอง พระราชพิธีพัชราภิเษก ในระหว่างวันที่ 2 - 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. diamond anniversary
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2007-07-27.