พระราชญาณกวี (สุวิทย์ ปิยวิชฺโช)

พระราชญาณกวี นามเดิม สุวิทย์ ปิยวิชชานันท์ ฉายา ปิยวิชฺโช หรือนามปากกา ปิยโสภณ ปัจจุบันเป็น ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก เป็นพระนักวิชาการ นักเขียนและนักบรรยายธรรมที่ผลิตผลงานออกมาในรูปแบบหนังสือและสื่อดิจิทัลออกมาสม่ำเสมอในยุคปัจจุบัน เป็นพระนักวิชาการรุ่นใหม่ที่มีผลงานสำคัญคือการหาทุนปั้นศาสนทายาท โดยโครงการนี้อยู่ที่วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก

พระราชญาณกวี

(สุวิทย์ ปิยวิชฺโช)
คำนำหน้าชื่อพระคุณท่าน ท่านเจ้าคุณ
ชื่ออื่นปิยโสภณ
ส่วนบุคคล
เกิด15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 (61 ปี)
นิกายธรรมยุติกนิกาย
การศึกษาน.ธ.เอก, ป.ธ.9, ศน.บ., M.A.
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก กรุงเทพมหานคร
ตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก

ประวัติ แก้

พระราชญาณกวี มีนามเดิมว่า สุวิทย์ ปิยวิชชานันท์ เกิดที่บ้านเหล่าหลวง ตำบลวังทอง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ที่วัดอัมพวัน(บ้านม่วง) ตำบลคอนสาย อำเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระครูปภัสสรศีลคุณ (หลวงปู่ทัน ปภสฺสโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ สอบได้นักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม 4 ประโยคที่วัดโพธิสมภรณ์ ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี จนถึงปีพ.ศ.2523 พระอุดมญาณโมลี (จันทร์ศรี จนฺททีโป) ได้พาสามเณรสุวิทย์เข้ากรุงเทพฯ ไปอยู่ที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหารเพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมต่อจนครบอายุบวช จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุพัทธสีมาพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานครแล้วศึกษาต่อจนสำเร็จเปรียญธรรม 9 ประโยค[1] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เมื่อสมเด็จพระญาณสังวรได้รับโปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระมหาสุวิทย์ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

ท่านเป็นศิษย์อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นอาจารย์ที่ศึกษาพระไตรปิฎกภาษาบาลีอย่างแตกฉาน แล้วพยายามนำเนื้อหาในพระไตรปิฎกมาอธิบายให้ประชาชนเข้าใจได้ง่าย โดยท่านพยายามแต่งเป็นหนังสือและผลิตวีซีดีออกเผยแผ่มากที่สุดท่านหนึ่งในหมู่พระสงฆ์ไทยในปัจจุบัน

หลังจากปฏิบัติศาสนกิจในฐานะผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวรได้ไม่นาน ได้รับพระราชทานทุนจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่วิทยาลัยบูรพศึกษาและการศึกษาแอฟริกา มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ ระหว่างศึกษาท่านได้เดินทางไปบรรยายพุทธธรรมตามโรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย หลายแห่งจนเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวพุทธในอังกฤษ จนกระทั่งองค์กรพุทธในอังกฤษได้ขอร้องให้ท่านช่วยสร้างพระพุทธรูปเพื่อนำไปประดิษฐ์สถานยังศูนย์ปฏิบัติธรรมหลายแห่งในสหราชอาณาจักร ดังนั้นพระราชญาณกวีจึงเป็นผู้นำในการดำเนินการจัดหล่อพระพุทธรูปบ่อยครั้งมาก

ต่อมาเมื่อมีการสร้างวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก พระราชญาณกวีจึงได้ย้ายจากวัดบวรนิเวศวิหาร ไปจำพรรรษาที่วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษกจนถึงปัจจุบัน ยังคงทำงานในสายวิชาการและเผยแผ่ธรรมะ ส่งเสริมสามเณรในโครงการกองทุนปลูกรากแก้วศาสนทายาท เป็นพระนักเขียนโดยใช้นามปากกาว่า"ปิยโสภณ" มีผลงานในรูปแบบหนังสือและสื่อดิจิทัลอยู่เป็นระยะ มีผลงานสำคัญคือการจัดทำหนังสือพจนานุกรมบาลี - ไทย อรรถกถาธรรมบท ร่วมกับอาจารย์บุญสืบ อินสาร ป.ธ.9 เพื่อส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมของพระภิกษุและสามเณร

งานด้านศาสนวิเทศ แก้

สิ่งที่พระราชญาณกวีได้กระทำและเป็นคุณประโยชน์อย่างวิ่งต่อวงการพุทธศาสน์ศึกษาในโลกก็คือการเป็นหนึ่งในผู้ประสานงานที่สำคัญที่สนับสนุนการก่อตั้งศูนย์พุทธศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ โดยท่านเป็นผู้ดำเนินการประสานงาน จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระปรมาภิไทยให้ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ นำไปใช้เป็นชื่อตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญทางด้านพระพุทธศาสนา โดยพระราชญาณกวีได้ประสานงานกับรัฐบาลใหม่เพื่อหาทุนสนับสนุนจากรัฐบาลตั้งตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญพิเศษที่ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ

การศึกษา/วิทยฐานะ แก้

การปกครองคณะสงฆ์ แก้

งานสาธารณสงเคราะห์ แก้

สมณศักดิ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. บันทึกเปรีบญ 9 พระราชญาณกวี ep 13, สืบค้นเมื่อ 2022-04-02
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 109, ตอนที่ 101 ง ฉบับพิเศษ, 12 สิงหาคม 2535, หน้า 10
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 128, ตอนที่ 12 ข, 29 กรกฎาคม 2554, หน้า 3