พระยาอภัยภูเบศร (แบน)

พระยาอภัยภูเบศร (แบน) นามเดิม แบน เป็นผู้ว่าราชการเมืองพระตะบอง เสียมราฐ คนที่ 2 ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ระหว่าง พ.ศ. 2353–2357

พระยาอภัยภูเบศร (แบน)
ผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบอง เสียมราฐ
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2353–2357
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ก่อนหน้าเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน)
ถัดไปพระยาอภัยภูเบศร (รศ)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
แบน
เสียชีวิตพ.ศ. 2357
บุตร9 คน

ครั้งเมื่อเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) ถึงแก่อสัญกรรมลง ทางกรุงเทพได้พิจารณาแต่งตั้งพระยาวิบูลราช (แบน) ขุนนางของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) ให้เป็นเจ้าเมืองพระตะบอง เสียมราฐ คนที่ 2 มีบทบาทและกรณียกิจทีสำคัญ คือ เมื่อเกิดจลาจลในเขมร เมื่อ พ.ศ. 2453 พระยาอภัยภูเบศร (แบน) ได้ทำการกะเกณฑ์ไพร่พล ก่อกำแพง ทำค่ายคู และขอกองทัพจากเมืองนครราชสีมา จันทบุรี ให้เตรียมพลเข้าช่วยเหลือประจำการที่พระตะบอง เมื่อสมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดีทรงทราบถึงการเตรียมความพร้อมที่เมืองพระตะบอง พระองค์ได้อาศัยอำนาจญวนเกลี้ยกล่อมพระยาอภัยภูเบศร (แบน) เข้าเป็นสมัครพรรคพวก อย่าให้ความช่วยเหลือแก่ฝ่ายไทย แต่พระยาอภัยภูเบศร (แบน) มิได้หันเหจิตใจฝักใฝ่ด้วย[1]

พระยาอภัยภูเบศร (แบน) ยังได้ยุติปัญหาที่นำไปสู่ความขัดแย้งกับญวน โดยได้มอบนักถิผู้เป็นภรรยาและแม่ยายสมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดี จนทำให้ครอบครัวพระยาเขมรที่อยู่ที่เมืองพระตะบองเกิดความระส่ำระส่าย ต่างพากันอพยพตามนักถิไปเป็นจำนวนมาก ทำให้ญวนและเขมรไม่สามารถหาเหตุมาตีพระตะบองได้

เมื่อ พ.ศ. 2355 เจ้าเมืองพระตะบองมีบทบาทในการป้องกันเมืองหน้าด่านชายแดนไทย ออกสู้รบกับกองทัพเขมรของสมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดี ก่อนที่ทางกรุงเทพจะไปถึง พระยาอภัยภูเบศร (แบน) ว่าราชการได้ 5 ปี ถึงอนิจกรรมเมื่อ พ.ศ. 2357[2]

บุตรธิดา แก้

พระยาอภัยภูเบศร (แบน) มีบุตรธิดา รวม 9 คน ดังนี้

  • พระวิเศษสุนทร (เตียง)
  • พระภักดีบริรักษ์ (ศรี)
  • พระยานุภาพไตรภพ (อง) บุตรเลี้ยง
  • หลวงอาสาประเทศ
  • นายเสือ
  • อัมพา
  • อำแดงแป้น
  • อำแดงมก
  • อำแดงเมน

อ้างอิง แก้

  1. ระยับศรี กาญจนะวงศ์. "บทบาทของเจ้าเมืองพระตะบองในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์พ.ศ. 2337-2449" (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร. p. 110–113.
  2. ไกรฤกษ์ นานา. "สยามรัฐท่ามกลางจักวรรดินิยม". p. 61.