พระยาชัยสุนทร (เจียม)

พระยาชัยสุนทร (เจียม) หรืออีกนามเรียกว่า “ท้าวเจียมหรือเยี่ยม” เป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 3 (พ.ศ. 2369–2381)[1] เป็นต้นเชื้อสายตระกูลเช่น วงศ์กาฬสินธุ์ ศรีกาฬสินธุ์ พลเยี่ยม ทองเยี่ยม เป็นต้นซึ่งผู้ใช้นามสกุลส่วนใหญ่ตั้งรกรากและอาศัยอยู่ในจังหวัดสกลนครกาฬสินธุ์และร้อยเอ็ดในปัจจุบัน[ต้องการอ้างอิง]

พระยาชัยสุนทร
(เจียม)
เจ้าเมืองกาฬสินธุ์
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2369 – พ.ศ. 2381
ก่อนหน้าพระยาชัยสุนทร(หมาแพง)
ถัดไปพระยาชัยสุนทร(หล้า)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบปีเกิด
เมืองกาฬสินธุ์
เสียชีวิตพ.ศ. 2381
เมืองกาฬสินธุ์
ศาสนาศาสนาพุทธ

ชาติกำเนิด แก้

เกิดเมื่อราวปี พ.ศ.ใดไม่ปรากฏ บิดาคือพระธานี(หมาป้อง)อุปฮาดเมืองสกลนคร ส่วนมารดาไม่ปรากฏนาม ซึ่งเป็นบุตรของพระยาไชยสุนทร(เจ้าโสมพะมิตร) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 1 ส่วนมารดาไม่ปรากฏนาม มีพี่น้องร่วมสายโลหิต เป็นชายได้แก่ ท้าวเจียม ท้าวลาว ท้าวละ ท้าวหล้า ส่วนบุตรหญิงไม่ปรากฏนาม

การรับราชการ แก้

•เมื่อเติบโตขึ้นได้เข้ารับราชการในกรมการเมืองกาฬสินธุ์และได้รับการแต่งตั้งเป็นท้าววรบุตรที่ราชบุตรเมืองกาฬสินธุ์ ในปีพ.ศ. 2366 ในสมัยพระยาไชยสุนทร (หมาแพง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลําดับที่ 2 ได้รับโปรดเกล้าฯพระราชทานเครื่องยศแก่กรมการเมืองประกอบบรรดาศักดิ์ดังนี้ ราชบุตร “เสื้ออัตลัตดอกถี่ตัวหนึ่ง ผ้าโพกขลิบผืนหนึ่ง ผ้าดําปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง” ครั้นต่อมาเจ้าพระยาบดินทรเดชาเมื่อครั้งยังเป็นที่พระยาสุภาวดีได้มีใบบอกกราบบังคมทูลโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง ท้าววรบุตร(เจียม) บ้านขามเปค้ย หลานพระยาไชยสุนทร(หมาแพง) ซึ่งมีความชอบในราชการสงคราม 2 ครั้ง คือ ครั้งตัดไม้ปากแพรกครั้งหนึ่งและครั้งที่สองเสบียงเมื่อตีหัวเมืองเวียงจันทน์ในราชการสงคราม ขึ้นเป็นท่ีพระยาไชยสุนทร เจ้รเมืองกาฬสินธุ์ ให้ท้าวหล้าเป็นที่อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์และให้ท้าวลาวเป็นที่ราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์และท้าวด่างเป็นที่ราชบุตรเมืองกาฬสินธุ์ เมื่อปี พ.ศ. 2371

•โปรดเกล้าฯพระราชทานเครื่องยศแก่กรมการเมืองประกอบบรรดาศักดิ์ดังนี้

เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ “พานเงินเครื่องในถมสำรับหนึ่ง คนโทเงินถมยาดำหนึ่ง ลูกประคำทองหนึ่ง กระบี่บั้งเงินหนึ่ง สัปทนปัศตูหนึ่ง เสื้อเข้มขาบริ้วดีตัวหนึ่ง แพรทับทิมติดขลิบผืนหนึ่ง ชวานปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง” - พร้อมตราประทับประจำตำแหน่งเจ้าเมืองกาฬสินธุ์คือ “เทวดานั่งแท่นถือพระขรรค์และดอกบัว”

อุปฮาด “ถาดหมากเงินคนโทเงินสำรับหนึ่ง สัปทนแพรคันหนึ่ง เสื้อเข้มขาบริ้วดีตัวหนึ่ง ผ้าโพกขลิบผืนหนึ่ง ผ้าดำปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง”

ราชวงศ์ “ถาดหมากเงินคนโทเงินสำรับหนึ่ง สัปทนแพรคันหนึ่ง เสื้อเข้มขาบลายก้านแย่งตัวหนึ่ง ผ้าโพกขลิบผืนหนึ่ง ผ้าดำปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง”

ราชบุตร “เสื้ออัตลัตดอกถี่ตัวหนึ่ง ผ้าโพกขลิบผืนหนึ่ง ผ้าดำปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง”

เหตุการณ์สำคัญ แก้

•ปี พ.ศ. 2370 ตรงกับปีกุนนพศก จุลศักราช ๑๑๘๙ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ โปรดให้กองทัพหลวงขึ้นมาปราบปามเมืองเวียงจันทน์ พระยาสุภาวดีแมรทัพได้ตรวจราชการทัพเมืองสกลนคร เจ้าเมืองกรมการเมืองไม่ได้เตรียมกําลังทหารลูกกระสุนดินดํา เสบียงอาหาร ไว้ตามคําสั่งแม่ทัพ แมรทัพเห็นว่าเจ้าเมืองสกลนครกระทําการขัดขืนอํานาจอาญาศึก จึงเอาตัวพระธานีเจ้าเมืองสกลนครไปประหารชีวิตที่หนองทรายขาว ส่วนอุปฮาดหมาป้องไดีถึงแกรกรรมไปก่อนหน้านั้นแล้ว กรมการเมืองกาฬสินธุ์บางส่วนหลบหนีคือ ท้าววรบุตรเจียมหลบหนีไปยังบ้านขามเปี้ย(บริเวณตำบลบ้านแวง อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด)และท้าวหล้าได้หลบหนีไปยังบ้านผ้าขาวพันนาเมืองเก่าเขตเมืองสกลนคร พอทัพพระยาสุภาวดีเคลื่อนผ่านเมืองสกลนครท้าวรบุตรเจียมและท้าวหล้าได้นําไพร่พลและพี่น้องเข้าหาทัพพระยาสุภาวดีเพื่อช่วยในราชการสงครามและได้เข้าฟ้องโทษราชวงศ์(หมาฟอง) ว่าด้วยเดิมเป็นใจเข้าด้วยกับเจ้าอนุวงศ์ เมื่อพิจารณาได้ความจริงแล้ว แม่ทัพปรึกษาจะเอาตัวราชวงศ์(หมาฟอง) ขอทําราชการแก้ตัวจึงงดโทษไว้ แล้วบังคับให้กวาดคุมครอบครัวตัวฉกรรณ์ที่อพยพหนีจากเมืองกาฬสินธุ์ไปอยู่ที่เมืองสกลนครนั้นจํานวน 2,500 คน ลงไปอยู่ที่ด่านหนุมานภายหลังยกขึ้นเป็นเมืองกบินทร์บุรีเป็นอันมาก ยังคงเหลืออยู่ให้รักษาพระธาตุเชิงชุม แต่พวกเพี้ยศรีครชุม บ้านหนองเหียน บ้านจารเพ็ญ บ้านอ้อมแก้ว บ้านนาเวง บ้านพาน บ้านนาดี บ้านวังยัง บ้านผ้าขาว บีานพันนา เท่านั้น เมืองสกลนครจึงเป็นเมืองร้าง ไม่มีเจ้าเมืองปกครองประกอบกับเมืองกาฬสินธุ์เป็นเมืองร้างด้วยเช่นกัน

•ปี พ.ศ. 2371 เจ้าพระยาบดินทรเดชาเมื่อครั้งยังเป็นที่พระยาสุภาวดีได้มีใบบอกกราบบังคมทูลโปรดเกล้าฯแต่งตั้งท้าววรบุตร(เจียม)บ้านขามเปี้ยย หลานพระยาไชยสุนทร(หมาแพง) ซึ่งมีความชอบในราชการสงคราม 2 ครั้ง คือ ครั้งตัดไม้ปากแพรกครั้งหนึ่งและครั้งที่สองเสบียงเมื่อตีหัวเมืองเวียงจันทน์ในราชการสงคราม ขึ้นเป็นที่พระยาไชยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ให้ท้าวหล้าาเป็นที่อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์และให้ท้าวลาวเป็นที่ราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์และท้าวด่างเป็นที่ราชบุตรเมืองกาฬสินธุและให้ครอบครัวไพร่พลเมืองกาฬสินธุ์ที่ถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์กลับมาอาศัยที่แขวงเมืองกาฬสินธุ์ตามเดิม

•ปี พ.ศ. 2372 แม่ทัพจึงมีใบบอกท้องตราราชสีห์โปรดเกล้าให้พระยาไชยสุนทร(เจียม) แต่งราชวงศ์ราชบุตร กรมการเมืองกาฬสินธุ์เป็นนายกองคุมท้าวเพีย ไพร่ฉกรรจ์ 606 คน และบุตรภรรยาเมืองกาฬสินธุ์ไปรักษาราชการเมืองสกลนคร เมื่อแต่งท้าวเพียผู้อยู่รักษาเมืองสกลนครแล้ว จึงมีใบบอกขอตั้ง ท้าวอินทิสารบุตรอุปฮาดเมืองจันคนเก่าเป็นที่ราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์ ท้าวพิมพ์บุตรจารย์เปียเป็นที่ราชบุตรเมืองกาฬสินธุ์และได้ฟื้นฟูเมืองกาฬสินธุ์หลังสงครามรวมทั้งบูรณะวัดวาอารามในเขตเมืองกาฬสินธุ์ให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองดังเดิม

ถึงแก่กรรม แก้

•พระยาไชยสุนทร(เจียม) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 3 ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา รับราชการเป็นเจ้าเมืองสนองพระเดชพระคุณ 10 ปี ที่โฮงเจ้าเมือง ในเมืองกาฬสินธุ์ เมื่อปี พ.ศ. 2381 สืบมาภายหลังลูกหลานเรียกขานทานว่า “อัญญาหลวงองค์ใหญ่” สิ้นประวัติพระยาไชยสุนทร (เจียม) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 3 เพียงเท่านี้

ทายาท แก้

พระยาไชยสุนทร(เจียม) สมรสกับอัญญานางทองคำและมีบุตร 8 คน ได้แก่

1) นางพัน สมรสกับใครสืบไม่ได้และมีบุตรกี่คนไม่ปรากฏ

2) พระยาไชยสุนทร(ทอง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 5 สมรสกับ อัญญานางคำ มีบุตร 3 คน ได้แก่ 1)ท้าวขี่ 2)ท้าวเหม็น 3)ท้าวหนู เป็นต้น

3) พระอินทิสาร(ด่าง)ราชบุตรเมืองกาฬสินธุ์และสกลนคร สมรสกับนางขาว มีบุตร 4 คน ได้แก่ 1)นางอ่อน 2)นางน้อย 3)ท้าวเปีย 4)ท้าวอุปละ เป็นต้น

4) ท้าวสุริยะ สมรสกับใครสืบไม่ได้และมีบุตรกี่คนไม่ปรากฏ

5) ท้าวบุญมา สมรสกับใครสืบไม่ได้และมีบุตรกี่คนไม่ปรากฏ

6) นางดา สมรสกับใครสืบไม่ได้และมีบุตรกี่คนไม่ปรากฏ

7) นางหลอด สมรสกับ ท้าวสุวรรณสาร(โสน้อย)กำนันตำบลบ้านแวง อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด มีบุตร 1 คน ได้แก่ 1)ท้าวมหาโคตรแก้ว ​​​​เป็นต้น

*ท้าวสุวรรณสาร(โสน้อย)มีบิดาชื่อท้าวโสใหญ่กับพี่ชายคือท้าวพรหมาใหญ่ เป็นชาวบ้านท้องถิ่นดั่งเดิมของตำบลบ้านแวง อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด ในปัจจุบันและมีทายาทบางส่วนของพระยาไชยสุนทร(เจียม) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 4 ได้สมรสและมีทายาทตั้งรกรากในพื้นและอาศัยอยู่ที่ตำบลบ้านแวง อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด จนถึงปัจจุบัน

สายสกุลทายาทและเครือญาติ แก้

  • วงศ์กาฬสินธุ์ ต้นสกุลคือพระอินทิสาร(ด่าง)ราชบุตรเมืองกาฬสินธุ์และสกลนครและสมรสกับนางขาว บุตรีคนที่ 1 ของพระยาไชยสุนทร(หล้า) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 4 มีบุตรด้วยกัน 4 คน ได้แก่

1)นางงอ่อน สมรสกับพระราษฎรบิหาร(ทอง) เจ้าเมืองกมลาไสย ลำดับที่ 2 มีบุตร 5 ได้แก่ 1)นางเหลี่ยม 2)หลวงชาญวิชัยยุทธ(เหม็น) 3)นางเพชร 4)หลวงกมลาพิพัฒน์(เทศ) 5)นางทองคำ(เกิดกับนางทรัพย์) เป็นต้น

2)นางน้อย สมรสกับท้าวสีหาราช มีบุตร 3 คน ได้แก่ 1)นางเพ็ง 2)พระครูกาฬสินธุ์ทิวาจารย์สังฆปาโมกข์(อ้ม) อดีตเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ 3)ท้าวคำชมพู เป็นต้น

3)ท้าวเปีย (เฒ่ากวนบ้านธาตุเชิงชุม/ผู้ใหญ่บ้าน) สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 6 คน ได้แก่ 1)ท้าวพิมพ์จักร 2)ท้าวท้าวพิมพ์มะสอน 3)ท้าวพิมพ์สาร 4)นางทอง 5)นางตุ๊ด 6)ท้าวจารย์พิมพ์ เป็นต้น

4)ท้าวอุปละ(นายกองเมืองกาฬสินธุ์) สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 6 คน ได้แก่ 1)ท้าวป้อง 2)นางบด 3)นางไพ 4)นางพู 5)ท้าวฝ้าย 6)ท้าวไชยสิน เป็นต้น

ตัวอย่างทายาทที่ใช้นามสกุลในปัจจุบันเช่น ท้าวจารย์พิมพ์ สมรสกับนางกัณหา มีบุตร 5 คน 1)นางไต 2)ขุนไกยะ(คำ) 3)นางเหลี่ยม 4)หลวงไชยจักร(จารย์โหล) 5)ท้าวโง่น เป็นต้น

ท่านเหล่านี้คือผู้ใช้นามสกุล”วงศ์กาฬสินธุ์”รุ่นแรกโดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในตัวอำเภอเมืองของจังหวัดสกลนคร

  • ศรีกาฬสินธุ์และ พลเยี่ยม(เดิมเขียนว่า”พรมเยี่ยมกับพรหมเยี่ยม) ต้นสกุลคือท้าวสุวรรณสาร(โสน้อย) กำนันคนแรกตำบลบ้านแวง สมรสกับนางหลอด มีบุตร 1 คนคือ ท้าวมหาโคตรแก้ว สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 9 คนคือ

1)นางพัน

2)ท้าวจันฑกุมาร

3)ท้าวสุริยะวงศา(ฝ่าย) อดีตกำนันตำบ้านแวง อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ดและเป็นผู้ตั้งนามสกุลพลเยี่ยม

4)นางทองศรี

5)นางสีดา

6)ท้าวบุญมา

7)หลวงสุนทรวุฒิรักษ์(มี) อดีตข้าราชการกระทรวงคมนาคม แขวงเมืองกาฬสินธุ์

8)นางหลอด

9)ท้าวคำตา

ยกเว้นหลวงสุนทรวุฒิรักษ์(มี)ได้ใช้นามสกุลศรีกาฬสินธุ์และสมรสกับนางเบ้า มีบุตร 10 คนได้แก่ 1)ท้าวหวาด 2)นางอ่อง 3)นางทอง 4)รองอำมาตย์ตรีผลสมัย 5)ท้าวอัมพร 6)ขุนสรรบรรพกิจ(สายทอง) 7)นางดำ 8)นางใบ 9)นางมะละ 10)นางมาลัย เป็นต้น

ท่านเหล่านี้คือผู้ใช้นามสกุล”ศรีกาฬสินธุ์และพลเยี่ยม”รุ่นแรกโดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในตัวอำเภอโพนทองของจังหวัดร้อยเอ็ดและบางส่วนของจังหวัดกาฬสินธุ์

  • ทองเยี่ยม ต้นสกุลคือพระไชยสุนทร(หนู) อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ เมื่อปี พ.ศ.2426-2433 บุตรคนที่ 3 ของพระยาไชยสุนทร(ทอง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 5 สมรสมกับนางขำ บุตรีคนที่ 4 ของพระยาไชยสุนทร(กิ่ง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 4 มีบุตร 6 คน ได้แก่

1)นางเสริม

2)นางบู่ทอง

3)ท้าวทับ ผู้ตั้งนามสกุลทองเยี่ยม

4)ท้าวตัน

5)นางเสริม

6)นางทิพย์คลี่(ประคีย์)

ท่านเหล่านี้คือผู้ใช้นามสกุล”ทองเยี่ยม”รุ่นแรกโดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในตัวอำเภอเมืองของจังหวัดกาฬสินธุ์

สายตระกูล แก้

ก่อนหน้า พระยาชัยสุนทร (เจียม) ถัดไป
พระยาชัยสุนทร (หมาแพง)    
เจ้าเมืองกาฬสินธุ์,
ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์

(พ.ศ. 2381 - 2490)
  พระยาชัยสุนทร (หล้า)
  1. http://www.kalasinpit.ac.th/elearning/kroosert/data/kalasin.htm[ลิงก์เสีย]