พระยาชัยสุนทร (จารย์ละ)

พระยาชัยสุนทร (จารย์ละ) หรืออีกนามเรียกว่า “ท้าวละหรือจารย์ละ” เป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 6 (พ.ศ. 2395–2396)[1] เป็นต้นเชื้อสายตระกูล วงศ์กาฬสินธุ์และศิริกุล“ ซึ่งผู้ใช้นามสกุลส่วนใหญ่ตั้งรกรากและอาศัยอยู่ในจังหวัดสกลนครและกาฬสินธุ์ในปัจจุบัน[ต้องการอ้างอิง]

พระยาชัยสุนทร
(จารย์ละ)
เจ้าเมืองกาฬสินธุ์
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2395 – พ.ศ. 2396
ก่อนหน้าพระยาชัยสุนทร(ทอง)
ถัดไปพระยาชัยสุนทร(กิ่ง)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบปีเกิด
เมืองกาฬสินธุ์
เสียชีวิตพ.ศ. 2396
เมืองกาฬสินธุ์
ศาสนาศาสนาพุทธ

ชาติกำเนิด แก้

เกิดเมื่อราวปี พ.ศ.ใดไม่ปรากฏ บิดาคือพระธานี(หมาป้อง)อุปฮาดเมืองสกลนคร ส่วนมารดาไม่ปรากฏนาม ซึ่งเป็นบุตรของพระยาไชยสุนทร(เจ้าโสมพะมิตร) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 1 ส่วนมารดาไม่ปรากฏนาม มีพี่น้องร่วมสายโลหิต เป็นชายได้แก่ ท้าวเจียม ท้าวลาว ท้าวละ ท้าวหล้า ส่วนบุตรหญิงไม่ปรากฏนาม

การรับราชการ แก้

เมื่อเติบโตขึ้นได้บวชเป็นพระภิกษุที่เมืองกาฬสินธุ์แล้วลาสิกขามารับราชการกรมการเมืองกาฬสินธุ์เป็นที่ “ทิดปัดสาหรือท้าวจารย์ละ” ในสมัยพระยาไชยสุนทร (เจียม) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 3 ได้เป็นที่ราชวงศ์ ในสมัยพระยาไชยสุนทร(หล้า) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 4 และอุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ ในสมัยพระยาไชยสุนทร(ทอง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 5

•โปรดเกล้าฯพระราชทานเครื่องยศแก่กรมการเมืองประกอบบรรดาศักดิ์ดังนี้

เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ “พานเงินเครื่องในถมสำรับหนึ่ง คนโทเงินถมยาดำหนึ่ง ลูกประคำทองหนึ่ง กระบี่บั้งเงินหนึ่ง สัปทนปัศตูหนึ่ง เสื้อเข้มขาบริ้วดีตัวหนึ่ง แพรทับทิมติดขลิบผืนหนึ่ง ชวานปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง” - พร้อมตราประทับประจำตำแหน่งเจ้าเมืองกาฬสินธุ์คือ “เทวดานั่งแท่นถือพระขรรค์และดอกบัว”

อุปฮาด “ถาดหมากเงินคนโทเงินสำรับหนึ่ง สัปทนแพรคันหนึ่ง เสื้อเข้มขาบริ้วดีตัวหนึ่ง ผ้าโพกขลิบผืนหนึ่ง ผ้าดำปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง”

ราชวงศ์ “ถาดหมากเงินคนโทเงินสำรับหนึ่ง สัปทนแพรคันหนึ่ง เสื้อเข้มขาบลายก้านแย่งตัวหนึ่ง ผ้าโพกขลิบผืนหนึ่ง ผ้าดำปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง”

ราชบุตร “เสื้ออัตลัตดอกถี่ตัวหนึ่ง ผ้าโพกขลิบผืนหนึ่ง ผ้าดำปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง”

เหตุการณ์สำคัญ แก้

•ปี พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เสด็จสวรรคต พระยาไชยสุนทร(ทอง)และกรมการเมืองก็ลงไปกรุงเทพ ร่วมถวายเพลิงศพด้วยในครั้งนั้น พระยาไชยสุนทร(ทอง)ได้ป่วยไข้ป่า ก็ถึงแก่กรรมที่กรุงเทพมหานคร เจ้าเมืองจึงว่างลง ทางกรมการเมืองกาฬสินธุ์ที่ไปร่วมถวายเพลงพระบรมศพ ต่างก็เข้าหาข้าราชการผู้ใหญ่ที่กรุงเทพฯ ขอตำแหน่งหน้าที่ราชการ ในครั้งนั้นราชวงศ์เกษ ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 นัยว่าจะได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์แต่ไม่กล้ารับ จึงทูลขอให้อุปฮาดจารย์ละ เป็นเจ้าเมือง ราชวงศ์กิ่ง เป็นอุปฮาดและท้าวเกษเป็นราชวงศ์ ท้าวขี่เป็นราชบุตร

•ปีพ.ศ. 2395 ให้อุปฮาด(จารย์ละ)รักษาราชการเมืองกาฬสินธุ์เป็นว่าที่พระยาไชยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์

•ปี พ.ศ. 2396 กรมการเมืองกาฬสินธุ์กลับจากงานถวายเพลิงพระบรมศพแล้ว ยังไม่ได้เชิญพระบรมราชโองการลงมาถึงเมืองกาฬสินธุ์ พระยาไชยสุนทร (จารย์ละ) ก็ถึงแก่อนิจกรรม ดังนั้นอุปฮาดกิ่ง จึงรักษาราชการเมืองกาฬสินธุ์อยู่ระยะหนึ่ง

ถึงแก่กรรม แก้

•พระยาไชยสุนทร(จารย์ละ) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 6 ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา รับราชการเป็นเจ้าเมืองสนองพระเดชพระคุณ 1 ปี ที่โฮงเจ้าเมือง ในเมืองกาฬสินธุ์ เมื่อปี พ.ศ. 2496 สืบมาภายหลังลูกหลานเรียกขานทานว่า “อัญญาหลวงเฒ่า” สิ้นประวัติพระยาไชยสุนทร (จารย์ละ) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 6 เพียงเท่านี้

ทายาท แก้

พระยาไชยสุนทร(จารย์ละ) สมรสกับอัญญานางจันทร์และมีบุตร 6 คน ได้แก่

1) ท้าวพรหม สมรสกับใครสืบไม่ได้และมีบุตรกี่คนไม่ปรากฏ

2) หลวงสินธุธานี(เทพ) สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 3 คน ได้แก่ 1)หลวงวรบุตร(บุญจันทร์) 2)ขุนแสงสะท้าน(กอ) 3)ขุนโยธาชาแสน(เลา) เป็นต้น

3) ท้าวบัว สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 1 คน ได้แก่ 1)ท้าวโง่น เป็นต้น

4) นางเบ้า สมรสกับใครสืบไม่ได้และมีบุตรกี่คนไม่ปรากฏ

5) ท้าวคม สมรสกับใครสืบไม่ได้และมีบุตรกี่คนไม่ปรากฏ

6) นางอุด สมรสกับใครสืบไม่ได้และมีบุตรกี่คนไม่ปรากฏ

สายสกุลทายาทและเครือญาติ แก้

  • วงศ์กาฬสินธุ์ต้นสกุลคือหลวงสินธุธานี(เทพ)สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 3 คน ได้แก่

1)หลวงวรบุตร(บุญจันทร์) สมรสใครสืบไม่ได้ มีบุตร 6 คน ได้แก่ 1)นายเทียม 2)นางเจียรพันธ์ 3)นายตัน 4)นายอินทร์ 5)นายพรหม 6)นายดวง เป็นต้น

2)ขุนแสงสะท้าน(กอ) สมรสกับนางขำ บุตรของพระศรีวงศ์(สี) ซึ่งเป็นบุตรคนที่ 3 ของพระยาไชยสุนทร(หล้า) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 4 มีบุตร 2 คนได้แก่ 1)นายเหลี่ยม 2)นางอุดร เป็นต้น

3)ขุนโยธาชาแสน(เลา) เป็นต้นและท่านเหล่านี้คือผู้ใช้นามสกุล”วงศ์กาฬสินธุ์”รุ่นแรกโดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในตัวอำเภอเมืองของจังหวัดสกลนคร

  • ศิริกุลต้นสกุลคือท้าวบัวสมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 1 คน ได้แก่

1)ท้าวโง่น สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 1 คน ได้แก่

1.1 ขุนแก้วไกรสร(ไม่ทรานามเดิม) สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 5 คน ได้แก่ 1)นายสุมา 2)นายจันทร์ 3)นายพัน 4)นายหนู 5)นายต่วน เป็นต้นและท่านเหล่านี้คือผู้ใช้นามสกุล”ศิริกุล”รุ่นแรกโดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในตัวอำเภอเมืองของจังหวัดกาฬสินธุ์

สายตระกูล แก้

ก่อนหน้า พระยาชัยสุนทร (จารย์ละ) ถัดไป
พระยาชัยสุนทร (ทอง)    
เจ้าเมืองกาฬสินธุ์,
ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์

(พ.ศ. 2395 - 2496)
  พระยาชัยสุนทร (กิ่ง)
  1. http://www.kalasinpit.ac.th/elearning/kroosert/data/kalasin.htm[ลิงก์เสีย]