ในตำนานฮินดูระบุว่า พระมนูไววัสวัต (อักษรโรมัน: Vaivasvata Manu) หรือ พระสัตยพรต เป็นพระมนูองค์ปัจจุบัน เป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ในปัจจุบัน เขาเป็นพระมนูองค์ที่ 7 ในพระมนูทั้ง 14 องค์ที่เกิดขึ้นในกัปนี้ ตามความเชื่อของจักรวาลวิทยาฮินดูในปัจจุบัน

พระมนูไววัสวัต
สืบทอดตำแหน่งจากพระมนูจักษุษะ
สืบทอดตำแหน่งโดยพระมนูสาวรณี
ข้อมูลส่วนบุคคล
คู่ครองShraddha
บุตร - ธิดาพระเจ้าอิกษวากุ, พระเจ้าธฤษฏะ, พระเจ้านฤษยันต์, พระเจ้าทิษย์, พระเจ้านฤห์, พระเจ้ากรุษะ, พระเจ้าสารยาตรี, พระเจ้านภากะ, พระเจ้าปรันศุ, พระเจ้าปริศตระ และ นางอิลลา
บิดา-มารดา

พระองค์เป็นพระโอรสของ สุริยเทพ วันหนึ่ง พระองค์ทรงพบกับมัสยาวตาร ซึ่งมาเตือนว่าจะเกิดน้ำท่วมโลกครั้งยิ่งใหญ่ไปจนถึงสวรรค์ สัตว์ทั้งหลายจะตายกันทั้งหมด แต่พระวิษณุจะทรงส่งเรือใหญ่มารับพระองค์ ให้ทรงเตรียมสัตว์น้อยใหญ่ไว้เป็นคู่ พรรณพฤกษ์ สมุนไพร และอัญเชิญพระฤๅษีทั้ง 7 ตน มาด้วย [1]

บรรพบุรุษ แก้

ตามในปุรณะของฮินดูระบุว่า ลำดับวงศ์ตระกูลของพระองค์มีดังนี้:[2]

  1. พระพรหม
  2. มารีจี หนึ่งใน ปชาบดีทั้ง 10 ที่พระพรหมทรงสร้างขึ้น
  3. กัสยปะ ลูกของมาริจีกับภรรยาทั้ง 13 คน ระหว่าง นางอธิติ, นางธิติ, และนางกะลาซึ่งเป็นภรรยาเอก ฤๅษีกัสยปะถือเป็นหนึ่งในบรรพบุรุษของมนุษยชาติ
  4. พระอาทิตย์, โอรสของ กัสยปะ และ นางอธิติ
  5. พระมนูไววัสวัต, เพราะเป็นบุตรของพระอาทิตย์และ นางสัญญา เขายังเป็นที่รู้จักในนามกษัตริย์สัตยพรต ปกครองภูมิภาคดราวิเดียนทั้งหมด

มหาอุทกภัย แก้

พระมนูไววัสวัตเป็นกษัตริย์ของ ดราวิเดียน ในยุคของ มัสยปุราณะ.[3] ตามในบันทึกของ มัตสยาปุราณะ, มัตสยา, คือ อวตาร ของพระวิษณุ, อวตารลงมาในชื่อ ศผริ (ปลาตะเพียนน้อย) ได้เดินทางไปหาขณะที่เขาล้างมือในแม่น้ำที่ไหลลงมาจาก เทือกเขามัลยะ[4]

เมื่อพบเห็นเช่นนั้น ก็เกิดความสงสาร จึงช้อนลูกปลานั้นมาใส่หม้อเพื่อจะนำไปปล่อยในแหล่งน้ำซึ่งสมบูรณ์กว่า แต่เมื่อนำลูกปลานั้นมาใส่ในหม้อ ก็ปรากฎว่าลูกปลาตัวนั้นกลับตัวใหญ่ขึ้นอีกจนคับหม้อ เป็นดังนั้น จึงทรงจัดหาภาชนะขนาดใหญ่ถึง 2 โยชน์ (16 ไมล์) มาเปลี่ยน[5][6] ปลานั้นก็โตใหญ่จนคับภาชนะ จึงทรงจำต้องเปลี่ยนที่ใส่ปลาอีก โดยนำไปปล่อยไว้ในสระ ปลาก็โตเต็มสระอีก เมื่อเป็นเช่นนั้น พระมนูจึงได้นำปลาตัวนั้นไปปล่อยยังมหาสมุทร หลังจากนั้นก็เติบโตจนเกือบเต็มท้องทะเลอันกว้างใหญ่

ขณะนั้นเองที่พระวิษณุเปิดเผยพระองค์ได้ทรงแจ้งพระราชาเรื่องอุทกภัยอันทำลายล้างซึ่งจะมาถึงในไม่ช้านี้[7][8][9] โดยให้พระองค์ทรงสร้างเรือลำใหญ่ซึ่งไว้ส่งพระประยูรญาติของพระองค์, สัปตฤๅษี เมล็ดพืชเก้าชนิด และสัตว์ต่างๆ เพื่อเติมแผ่นดินโลก หลังจากน้ำท่วมโลกและมหาสมุทรและทะเลจะลดน้อยลง ซึ่งในช่วงเวลาที่เกิดอุทกภัย พระวิษณุแปลงกายเป็นปลามีเขา และพญานาคแปลงกายเป็นเชือก ซึ่งพระองค์ก็ทรงผูกเรือไว้กับเขาปลา[10]

เรือจอดอยู่บนยอดเขามัลยาในขณะที่น้ำท่วม[7][8][11] หลังเหตุการณ์น้ำท่วม ครอบครัวของพระองค์และพระฤๅษีทั้งเจ็ดได้เพิ่มประชากรโลกให้มากขึ้น ซึ่งในปุราณะเล่าว่า เรื่องราวของมนูเกิดขึ้นก่อน 28 จตุรยุค เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นราว 120 ล้านปีก่อน[12][13][14]

การเล่าเรื่องนี้คล้ายกับตำนานน้ำท่วมอื่นๆ เช่น ตำนานน้ำท่วมกิลกาเมช และการเล่าเรื่องน้ำท่วมในปฐมกาล[15]

อ้างอิง แก้

  1. The Hare Krsnas – The Manus – Manus of the Present Universe
  2. Francis Hamilton (1819). Geneaolgies of the Hindus: extracted from their sacred writings; with an introduction and alphabetical index. "Printed for the author". p. 89.
  3. Alain Daniélou (11 February 2003). A Brief History of India. Inner Traditions / Bear & Co. p. 19. ISBN 978-1-59477-794-3.
  4. David Dean Shulman (1980). Tamil Temple Myths: Sacrifice and Divine Marriage in the South Indian Saiva Tradition. Princeton University Press. ISBN 978-1-4008-5692-3.
  5. DRISCOLL, Ian Driscoll; KURTZ, Matthew Atlantis: Egyptian Genesis, 2009.
  6. Sacred Texts. Section CLXXXVI
  7. 7.0 7.1 S'rîmad Bhâgavatam (Bhâgavata Purâna)Canto 8 Chapter 24 Text 12
  8. 8.0 8.1 The story of Vedic India as embodied ... – Google Books. 2008-03-14. สืบค้นเมื่อ 2010-12-08.
  9. Matsya Purana, Ch.I, 10–33
  10. Matsya Purana, Ch.II, 1–19
  11. The Matsya Purana เก็บถาวร 26 มีนาคม 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  12. "G. P. Bhatt (ed.), The vayu purana, part-II, 1st ed., 784—789, tr. G. V. Tagare. In vol.38 of Ancient Indian Tradition and Mythology, Delhi: Motilal Banarsidass, 1988". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-21. สืบค้นเมื่อ 10 April 2016.
  13. "J. L. Shastri (ed.), The kurma-purana, part-I, 1st ed., 47—52, tr. G. V. Tagare. In vol.20 of A.I.T.&M., Delhi: Motilal Banarsidass, 1981". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-21. สืบค้นเมื่อ 10 April 2016.
  14. "J. L. Shastri (ed.), The Narada purana, part-II, 1st ed., p. 699, tr. G. V. Tagare. In vol.16 of A.I.T.&M., Delhi: Motilal Banarsidass, 1981". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-21. สืบค้นเมื่อ 10 April 2016.
  15. Klaus K. Klostermaier (5 July 2007). A Survey of Hinduism: Third Edition. SUNY Press. p. 97. ISBN 978-0-7914-7082-4.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้