พระชายาทองอยู่[1][2] หรือ เจ้าครอกทองอยู่[3] เป็นพระอัครชายาในสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ ทรงมีชื่อเสียงในด้านการทำขนมค้างคาว ซึ่งขึ้นชื่อพอ ๆ กับขนมไส้หมูของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี จนกระทั่งชาววังเรียกขานกันว่า "ขนมค้างคาวเจ้าครอกทองอยู่ ขนมไส้หมูเจ้าครอกวัดโพธิ์"

พระชายาทองอยู่
ประสูติอาณาจักรอยุธยา
ทองอยู่
สิ้นพระชนม์อาณาจักรรัตนโกสินทร์
บรรจุพระบรมอัฐิสุสานวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
พระสวามีสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์
พระบุตร
ราชวงศ์จักรี (เสกสมรส)
ศาสนาเถรวาท

พระประวัติ แก้

พระชายาทองอยู่ เดิมท่านเป็นชาววังสมัยอยุธยา เป็นข้าหลวงสำนักเจ้าฟ้าจันทวดี[4] เมื่อเสียกรุงครั้งที่ 2 นั้น พม่าเผาเมืองริบทรัพย์และกวาดต้อนชาวกรุงศรีอยุธยากลับพม่า เจ้าฟ้าหญิงจันทวดี เจ้าฟ้าหญิงพินทวดี ทรงถูกกักขังที่ค่ายโพธิ์สามต้น ไม่ได้ถูกกวาดต้อนในคราวแรกร่วมกับเจ้านายหลายพระองค์ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชตีค่ายโพธิ์สามต้นแตก จึงได้เชิญเจ้าฟ้าหญิงพินทวดีมาประทับยังกรุงธนบุรี ส่วนเจ้าฟ้าหญิงจันทวดีนั้นไม่ปรากฏ

คุณทองอยู่ได้ตามเสด็จในฐานะข้าหลวงของสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงพินทวดี หลวงฤทธินายเวร (บรรดาศักดิ์กรมพระราชวังหลังในครั้งนั้น) พบเข้าจึงมีจิตปฏิพัทธ์ ท่านสา (สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี) จึงทูลขอคุณทองอยู่จากสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงพินทวดี ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้าฯ ก็มีพระกรุณาประทานให้ เหตุการณ์นี้น่าจะอยู่ในช่วงราว พ.ศ. 2310-2312 นี้เอง เพราะคุณทองอยู่ให้กำเนิดบุตรคนแรก (พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหมื่นนราเทเวศร์) ในเดือนอ้าย พ.ศ. 2313 บ้านเมืองเริ่มเข้าภาวะปกติบ้างแล้ว[5]

พระชายาทองอยู่สิ้นพระชนม์ปีใดไม่ปรากฏ พระราชทานเพลิงพระศพที่วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร พระอัฐิบรรจุไว้ที่สุสานวัดระฆังโฆสิตาราม[6]

พระโอรสและพระธิดา แก้

พระชายาทองอยู่ ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ มีพระโอรสและพระธิดารวม 6 พระองค์ ได้รับการยกฐานันดรศักดิ์เป็นพระองค์เจ้า ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบัญญัติให้ใช้คำนำหน้าพระนามว่า "พระสัมพันธวงศ์เธอ " คือ

ชีวิตส่วนพระองค์ แก้

พระจริยวัตรของพระองค์ ส.พลายน้อยเล่าไว้ในหนังสือ กระยานิยาย ว่า

"เดิมเป็นนางข้าหลวงของเจ้าฟ้าหญิงจันทวดี พระราชธิดาพระเจ้าบรมโกศ ซึ่งทรงหนีรอดจากการเสียกรุงศรีอยุธยามาอยู่ที่กรุงธนบุรี ท่านทองอยู่ต่อมาได้สมรสกับพระยาสุริยอภัย หลานชายเจ้าพระยาจักรี ในรัชกาลที่ ๑ เมื่อพระยาสุริยอภัยเลื่อนขึ้นเป็นกรมพระราชวังหลัง ผู้คนก็พากันเรียกพระชายาว่า "เจ้าครอกทองอยู่" หรือ "เจ้าครอกวังหลัง" ในเมื่อท่านเคยเป็นกุลสตรีในสมัยอยุธยามาก่อน ตลอดชีวิตท่านก็แต่งองค์อย่างหญิงผู้ดีอยุธยา คือไว้ผมยาวประบ่า นุ่งผ้าจีบ ไม่ตัดผมสั้นและนุ่งโจงกระเบนอย่างสตรีอื่น ๆ ที่ต้องเปลี่ยนการแต่งกายให้ทะมัดทะแมงคล้ายผู้ชายในยามศึกสงครามตั้งแต่ตอนเสียกรุงครั้งที่สอง"

พระชายาทองอยู่ศรัทธาในศาสนา และมีเมตตาต่อบริวารด้วยดี ในจำนวนนั้นคือ คุณจัน ภริยาของสุนทรภู่ ที่แต่เดิมก่อนสมรสเป็นข้าหลวงในพระองค์และเมื่อหย่าร้างก็ได้กลับมาพึ่งพระบารมีพร้อมบุตรชาย คือ นายพัดกับนายตาบ ซึ่งพระชายาทรงมีพระเมตตาถึงกับเกล้าจุกให้ทุกวัน ดังที่สุนทรภู่เขียนรำพันอาลัยสำนึกในพระกรุณาไว้ใน นิราศวัดเจ้าฟ้า รำลึกถึงเมื่อครั้งเจ้าครอกทองอยู่สิ้นพระชนม์

ถึงวัดระฆังบังคมบรมธาตุ แทบพระบาทบุษบงองค์อัปสร

ไม่ทันลับกัปกัลป์พุทธันดร พระด่วนจรสู่สวรรคครรลัย
ละสมบัติขัตติยาทั้งข้าบาท โอ้อนาถนึกน่าน้ำตาไหล
เป็นสูญลับนับปีแต่นี้ไป เหลืออาลัยแล้วที่มีพระคุณ
ถึงจนยากบากมาเป็นข้าบาท ไม่ตัดขาดข้าวเกลือช่วยเกื้อหนุน
ทางศรัทธากล้าหาญในการบุญ โอ้พระคุณขาดยศทั้งงดงาม
แม้ตกยากพรากพลัดไปขัดข้อง พัดกับน้องหนูตาบจะหาบหาม

นี่จนใจไปป่าช้าพนาราม สุดจะตามเสด็จได้ดังใจจง

และอีกตอนหนึ่งว่า

ทั้งหนูตาบกราบไหว้ร้องไห้ว่า จะคมลาลับไปในไพรสัณฑ์
เคยเวียนเฝ้าเกล้าจุกให้ทุกวัน สารพันพึ่งพาไม่อาทร

พระเกียรติยศ แก้

ธรรมเนียมพระยศของ
พระชายาทองอยู่
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนเกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน
การขานรับเกล้ากระหม่อม/เพคะ

พระอิสริยยศ แก้

  • ไม่ปรากฏ : ทองอยู่
  • พ.ศ. 2323 : คุณหญิงทองอยู่
  • พ.ศ. 2325 : หม่อมทองอยู่ ในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์
  • พ.ศ. 2329 : พระชายาทองอยู่ ในสมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข

ขนมค้างคาว แก้

ขนมค้างคาว เป็นขนมรสคาว ทำด้วยแป้งมีไส้ข้างใน ตัวไส้คือกุ้งและมะพร้าวปรุงรสด้วยเกลือพริกไทยแล้วผัดเข้าด้วยกัน เมื่อสุกจึงปั้นเป็นรูปสามเหลี่ยมหุ้มด้วยแป้งดูรูปร่างคล้ายๆค้างคาวกางปีก จึงเรียกว่าขนมค้างคาว[7]

พระชายาทองอยู่ ทรงเป็นต้นตำรับขนมค้างคาวที่อร่อยขึ้นคู่กับพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวีซึ่งทรงเป็นต้นตำรับของขนมไส้หมู ชื่อจนกระทั่งชาววังเรียกขานกันว่า "ขนมค้างคาวเจ้าครอกทองอยู่ ขนมไส้หมูเจ้าครอกวัดโพธิ์" เป็นขนมโด่งดังพอ ๆ กันในสมัยรัชกาลที่ 1

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม แก้

มีนักแสดงผู้รับบท พระชายาทองอยู่ ได้แก่

อ้างอิง แก้

  1. กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 145-146. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2017-07-04.
  2. ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า 38. ISBN 974-221-818-8
  3. กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ วังหน้า-วังหลัง. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พิมพ์ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2549. 200 หน้า. หน้า 105. ISBN 974-941-205-2
  4. ประวัติวังหลัง - โรงเรียนสตรีวัดระฆัง
  5. กรมพระราชวังหลังแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ บทที่ 3.1 เจ้าครอกทองอยู่ พระชายาคู่บุญ โดย อลินน์
  6. "หีบ"บรรจุหายไปไหน ??? หลงพบ .. "อัฐิ พระเชษฐภคินี ร.1" วางกองกับพื้นที่ วัดระฆัง
  7. ขนมที่ถูกลืม - วิชาการ.คอม