พระกฤษณะ

เทพเจ้าตามความเชื่อฮินดู

พระกฤษณะ (/ˈkrɪʃnə/,[12] ออกเสียง [ˈkr̩ʂɳɐ] ( ฟังเสียง); สันสกฤต: कृष्ण, IAST: Kṛṣṇa) เป็นเทพเจ้าองค์สำคัญในศาสนาฮินดู หนึ่งในแปดอวตารของพระวิษณุ และในบางธรรมเนียมบูชาในฐานะสวยัมภควัน หรือพระเจ้าสูงสุด[13] พระกฤษณะเป็นเทพเจ้าแห่งการปกป้องดูแล, ความเมตตา, ความอ่อนโยน และความรัก[14][1] รวมถึงเป็นหนึ่งในเทพเจ้าฮินดูที่ได้รับการบูชาแพร่หลายที่สุด[15] ชาวฮินดูเฉลิมฉลองวันประสูติของพระกฤษณะทุกปีในเทศกาลกฤษณชันมาษฏมีตามปฏิทินฮินดู ซึ่งตรงกับเดือนสิงหาคมถึงกันยายนตามปฏิทินเกรกอเรียน[16][17]

พระกฤษณะ
เทพเจ้าแห่งการปกป้อง, เมตตา, ความอ่อนโยน และความรัก;[1] โยเคศวร – เทพเจ้าแห่งโยคะและโยคี;[2][3] ปรพรหมัน, สวยัมภควัน (กฤษณ-ไวษณวะ)
ส่วนหนึ่งของ ทศาวตาร
ชื่อในอักษรเทวนาครีकृष्ण
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤตKṛṣṇa
ส่วนเกี่ยวข้อง
ที่ประทับ
มนตร์
อาวุธ
ศึกสำคัญสงครามทุ่งกุรุเกษตร
พาหนะครุฑ
คัมภีร์
เทศกาล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
มถุรา สุรเสนา (ปัจจุบันคือรัฐอุตตรประเทศ อินเดีย)[6]
เสียชีวิต
ภัลกะ เสาราษฏระ (ปัจจุบันคือเวรวัล รัฐคุชราต อินเดีย)[7]
คู่ครอง[note 2]
บุตร - ธิดา[note 1]
บิดา-มารดา
พี่น้อง
ราชวงศ์ยทุวงศ์-จันทรวงศ์

เรื่องราวในพระชนม์ชีพของพระกฤษณะเรียกว่า "กฤษณลีลา" พระกฤษณะทรงเป็นตัวละครสำคัญในมหาภารตะ, ภควตาปุราณะ, พรหมไววรรตปุราณะ และ ภควัตคีตา นอกจากนี้ยังปรากฏการกล่าวถึงพระองค์ในเอกสารเชิงปรัชญา, เทววิทยา และ ปรัมปราวิทยาฮินดูอีกหลายชิ้นงาน[18] ในวรรณกรรมต่าง ๆ มีเขียนถึงพระกฤษณะในรูปปางต่าง ๆ กัน ทั้งในรูปเทพเจ้าองค์น้อย, เทพเจ้าที่ขี้เล่น, วีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ไปจนถึงพระเป็นเจ้าผู้สูงสุดแห่งจักรวาล[19] ประติมานวิทยาของพระกฤษณะจึงเป็นการสะท้อนตำนานต่าง ๆ เหล่านี้ ผ่านการแสดงรูปปางพระองค์ในแต่ละช่วงวัย เช่นในรูปของทารกกำลังกินเนย, เด็กชายกำลังบรรเลงปี่ขลุ่ยหรือคู่กับพระราธา และในรูปของผู้ทรงราชรถกำลังสนทนาอย่างน่าเกรงขามกับอรชุน[20]

พระนามหรือพระนามคล้ายกันของพระกฤษณะปรากฏในเอกสารและวัฒนธรรมที่อายุเก่าแก่ถึง 1000 ปีก่อนคริสต์กาล[21] ในบางธรรมเนียมย่อย มีการบูชาพระกฤษณะในฐานะ สวยัมภควัน (พระเจ้าสูงสุด) ในธรรมเนียมเช่นกฤษณลัทธิ ธรรมเนียมย่อยเหล่านี้เติบโตขึ้นในยุคขบวนการภักติในยุคกลาง[22][23] วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระกฤษณะยังมีอิทธิพลมากต่อศิลปนาฏกรรมมากมาย เช่น ภารตนาฏยัม, กถกาลี, กูชีปูดี, โอฑิสสี และ มณีปุรีนาฏกรรม[24][25] มีการบูชาพระกฤษณะทั่วไปในทุกคติธรรมเนียมของศาสนาฮินดู และมีบูชามากเป็นพิเศษในแถบวฤนทาวัน รัฐอุตตรประเทศ,[26] ทวารกะ และ ชูนครห์ รัฐคุชราต; บูชาในรูปปางชคันนาถ ในโอริศา, มายาปุระ รัฐเบงกอลตะวันตก;[22][27][28] บูชาในรูปปางวิโฐพา ในปัณฒรปุระ รัฐมหาราษฏระ, ศรีนาถจี ในนาถทวาระ รัฐราชสถาน,[22][29] อุทุปีกฤษณะในรัฐกรณาฏกะ,[30] ปรรถสารถี ในรัฐทมิฬนาฑู, อรันมุละ, รัฐเกรละ และ คุรุวยูรัปปัน ในคุรุวยูร รัฐเกรละ[31] นับตั้งแต่ทศวรรษ 1960s เป็นต้นมา คติการบูชาพระกฤษณะยังเผยแผ่ไปยังโลกตะวันตกและแอฟริกา โดยเฉพาะจากกิจการของอิสก์คอน[32]

หมายเหตุ แก้

  1. Number of Krishna's children varies from one interpretation to another. According to some scriptures like the Bhagavata Purana, Krishna had 10 children from each of his wives (16,008 wives and 160,080 children)[9]
  2. Radha is seen as Krishna's lover-consort. On the other hand, Rukmini and others are married to him. Krishna had eight chief wives, who were referred to as the Ashtabharya. The regional texts vary in the identity of Krishna's wife (consort), some presenting it as Rukmini, some as Radha, all gopis, and some identifying all to be different aspects or manifestation of Devi Lakshmi.[10][11]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Bryant & Ekstrand 2004, pp. 20–25, quote: "Three Dimensions of Krishna's Divinity (...) divine majesty and supremacy, (...) divine tenderness and intimacy, (...) compassion and protection., (..., p. 24) Krishna as the God of Love".
  2. Swami Sivananda (1964). Sri Krishna. Bharatiya Vidya Bhavan. p. 4.
  3. "Krishna the Yogeshwara". The Hindu. 12 September 2014.
  4. Bryant 2007, p. 114.
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ KK
  6. Raychaudhuri 1972, p. 124
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ eck380
  8. Naravane, Vishwanath S. (1987). A Companion to Indian Mythology: Hindu, Buddhist & Jaina (ภาษาอังกฤษ). Thinker's Library, Technical Publishing House.
  9. Sinha, Purnendu Narayana (1950). A Study of the Bhagavata Purana: Or, Esoteric Hinduism (ภาษาอังกฤษ). Library of Alexandria. ISBN 978-1-4655-2506-2.
  10. 10.0 10.1 John Stratton Hawley, Donna Marie Wulff (1982). The Divine Consort: Rādhā and the Goddesses of India. Motilal Banarsidass Publisher. p. 12. ISBN 978-0-89581-102-8.
  11. Bryant 2007, p. 443.
  12. "Krishna". Random House Webster's Unabridged Dictionary.
  13. "Krishna". Encyclopædia Britannica Online.
  14. Ben-Ami Scharfstein (1993). Ineffability: The Failure of Words in Philosophy and Religion. State University of New York Press. p. 166. ISBN 978-0-7914-1347-0.
  15. Freda Matchett (2001). Krishna, Lord Or Avatara?. Psychology Press. p. 199. ISBN 978-0-7007-1281-6.
  16. "Krishna". World History Encyclopedia.
  17. James G. Lochtefeld (2002). The Illustrated Encyclopedia of Hinduism: A-M. The Rosen Publishing Group. pp. 314–315. ISBN 978-0-8239-3179-8.
  18. Richard Thompson, Ph.D. (ธันวาคม 1994). "Reflections on the Relation Between Religion and Modern Rationalism". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มกราคม 2011. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2008.
  19. Mahony, W. K. (1987). "Perspectives on Krsna's Various Personalities". History of Religions. 26 (3): 333–335. doi:10.1086/463085. JSTOR 1062381. S2CID 164194548. Quote: "Krsna's various appearances as a divine hero, alluring god child, cosmic prankster, perfect lover, and universal supreme being (...)".
  20. Knott 2000, pp. 15, 36, 56
  21. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Cultofgopal
  22. 22.0 22.1 22.2 Hardy 1987, pp. 387–392.
  23. Ravi Gupta and Kenneth Valpey (2013), The Bhagavata Purana, Columbia University Press, ISBN 978-0231149990, pp. 185–200
  24. Bryant 2007, p. 118.
  25. ML Varadpande (1987), History of Indian Theatre, Vol 1, Abhinav, ISBN 978-8170172215, pp. 98–99
  26. Hawley 2020.
  27. Miśra 2005.
  28. J. Gordon Melton (2011). Religious Celebrations: An Encyclopedia of Holidays, Festivals, Solemn Observances, and Spiritual Commemorations. ABC-Clio. pp. 330–331. ISBN 978-1-59884-205-0.
  29. Cynthia Packert (2010). The Art of Loving Krishna: Ornamentation and Devotion. Indiana University Press. pp. 5, 70–71, 181–187. ISBN 978-0-253-22198-8.
  30. Bryant 2007, p. 3.
  31. Lavanya Vemsani (2016). Krishna in History, Thought, and Culture. ABC-CLIO. pp. 112–113. ISBN 978-1-61069-211-3.
  32. Selengut, Charles (1996). "Charisma and Religious Innovation:Prabhupada and the Founding of ISKCON". ISKCON Communications Journal. 4 (2). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2012.

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้