พรหมลิขิต (อังกฤษ: Love Destiny 2) เป็นรายการโทรทัศน์แนวย้อนยุค เป็นภาคต่อของละครโทรทัศน์เรื่อง บุพเพสันนิวาส ดัดแปลงจากบทประพันธ์ของรอมแพง ผลิตโดยบรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น นำแสดงโดย ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ และ ราณี แคมเปน โดยยังคงได้ศัลยา สุขะนิวัตติ์ ผู้เขียนบทจากภาคแรก มาเขียนบทให้ในภาคนี้[1]

พรหมลิขิต
เป็นที่รู้จักกันในชื่อLove Destiny 2
แนว
บทประพันธ์รอมแพง
บทละครโทรทัศน์ศัลยา สุขะนิวัตติ์
กำกับโดยสรัสวดี วงศ์สมเพ็ชร
นักแสดง
ดนตรีแก่นเรื่องเปิดพรหมลิขิต – ธีรนัยน์ ณ หนองคาย และ อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข
ดนตรีแก่นเรื่องปิดเคียงขวัญ – นภัทร อินทร์ใจเอื้อ
ข้ามเวลา - วิโอเลต วอเทียร์
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย ประเทศไทย
ภาษาต้นฉบับไทย ภาษาไทย
จำนวนตอน26 ตอน
การผลิต
ผู้จัดละครอรุโณชา ภาณุพันธุ์
สถานที่ถ่ายทำ
ความยาวตอน90 นาที
บริษัทผู้ผลิตบริษัท บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น จำกัด
ออกอากาศ
สถานีโทรทัศน์สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
ออกอากาศ18 ตุลาคม 2566 (2566-10-18) –
18 ธันวาคม 2566 (2566-12-18)
ละครเรื่องก่อนหน้าเกมรักทรยศ
การแสดงที่เกี่ยวข้อง
บุพเพสันนิวาส, บุพเพสันนิวาส 2

งานสร้าง แก้

ทีมงานและนักแสดง แก้

ในตอนแรกทาง อรุโณชา ภาณุพันธุ์ ซึ่งเป็นผู้จัดละครเรื่องนี้ได้วางตัว ภวัต พนังคศิริ ผู้กำกับการแสดงจากภาคแรก ให้มากำกับ แต่ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นสรัสวดี วงศ์สมเพ็ชร ที่เคยมีผลงานทั้งภาพยนตร์และละคร เช่น ภาพยนตร์เรื่อง Yes or No 1 และ Yes or No 2 และละครทางช่อง 3HD เรื่อง พราวมุก, ตราบาปสีชมพู, หนี้รักในกรงไฟ, เสื้อสีฝุ่น, แรงตะวัน, รักพลิกล็อก, ซ่อนเงารัก, มัดหัวใจยัยซุปตาร์ ฯลฯ มารับหน้าที่ผู้กำกับละครเรื่องนี้แทน[2][3]

พรหมลิขิต ฟิตติงนักแสดงเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564[2] และทำพิธีบวงสรวงเปิดกล้องเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564[1] วันที่ 5 ตุลาคม 2566 ผู้จัดและนักแสดงได้ทำพิธีบวงสรวงละครอีกครั้งหนึ่งเพื่อเอาฤกษ์เอาชัยก่อนออกอากาศ ที่สตูดิโอช่อง 3 หนองแขม[4]

นอกจากนี้ ตัวละครหลักที่ต่อจากละคร บุพเพสันนิวาส ที่ยังมีชีวิตอยู่ อยู่ครบทั้งหมด และมีตัวละครใหม่ เนื่องจากในละคร บุพเพสันนิวาส เป็นยุคของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ขุนหลวงนารายณ์) สมเด็จพระเพทราชา (ขุนหลวงเพทราชา) และสมเด็จพระเจ้าเสือ (ขุนหลวงเสือ) แต่ในละคร พรหมลิขิต เป็นยุคของ ขุนหลวงท้ายสระ (เจ้าฟ้าเพชร) และ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (เจ้าฟ้าพร) (ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)[5]

ราณี แคมเปน รับบทเป็นพุดตาน (การะเกดกลับชาติมาเกิด) รวมทั้งบทบาทพี่น้องฝาแฝดคือ คุณหญิงการะเกด (เกศสุรางค์) แฝดพี่ และแม่หญิงการะเกด แฝดน้อง ขณะที่ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ รับบทเป็นพระยาวิสูตรสาคร (พ่อเดช) รวมทั้งบทบาทพี่น้องฝาแฝดบุตรของพ่อเดช คือ หมื่นณรงค์ราชฤทธา (พ่อเรือง) แฝดพี่ และหมื่นมหาฤทธิ์ (พ่อริด) แฝดน้อง[5]

สถานที่ถ่ายทำ แก้

มีหลายฉากถ่ายทำในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ วัดไชยวัฒนาราม วัดพุทไธศวรรย์ วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร วัดพระศรีสรรเพชญ์ พระราชวังโบราณ วัดพระงาม และวัดย่านอ่างทอง[6]

จังหวัดอื่นมีถ่ายที่เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก[7] ในตอนที่ 21 ถ่ายฉากที่สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ เสด็จประพาสคลองโคกขาม จังหวัดสมุทรสาคร[8] ในฉากย้อนเวลาต้นเรื่องพันปี ถ่ายที่อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและปราสาทเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์[9]

ลิขสิทธิ์ แก้

สำหรับพรหมลิขิตไปจนถึงบุพเพสันนิวาส นับเป็นละครเรื่องแรกของไทยที่ได้มีการจดลิขสิทธิ์แบบ IP right เพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบแล้วนำไปใช้ต่อในเชิงพาณิชย์ โดยได้จดลิขสิทธิ์ครอบคลุมทุกอย่างที่มาจากละครเพื่อการต่อยอดโฆษณาและคอนเทนต์ต่าง ๆ ในอนาคต[10]

การออกอากาศ แก้

หลังจากความสำเร็จของละครเรื่อง บุพเพสันนิวาส ในปี พ.ศ.2561 สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และทาง บริษัท บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น จำกัด จึงประกาศสร้างละครจากนวนิยายภาคต่อของ บุพเพสันนิวาส ในชื่อ พรหมลิขิต ซึ่งประพันธ์โดย รอมแพง โดยใช้ชื่อเดียวกันกับนวนิยายในชื่อ พรหมลิขิต

ต่อมาในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2565 ในรายการ เปิดวิกบิ๊ก 3 ต้นปีมีลั่น[11] ที่ออกอากาศเวลา 18.00 น. ทาง Facebook, Youtube และ 3plus หลังจากการปล่อยตัวอย่างและการพบปะพูดคุยของนักแสดงเรื่อง หมอหลวง และมีการพักเบรกโฆษณา ต่อจากนั้นจึงมีการปล่อยตัวอย่างแรกของละครเรื่อง พรหมลิขิต และคุณ สรยุทธ สุทัศนะจินดา รับบทพิธีกรที่จะพาผู้ชมไปสัมภาษณ์กับสองนักแสดงนำอย่าง โป๊ป ธนวรรธน์ และ เบลล่า ราณี ณ เรือนของออกญาวิสูตรสาคร (โรงถ่ายหนองแขม ของทาง ช่อง 3) ซึ่งสร้างความประทับใจให้กับผู้ชมที่รอคอยและผู้ชมที่ชื่นชอบ บุพเพสันนิวาส เป็นอย่างมาก

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2566 ช่อง 3 เอชดี จึงนำ บุพเพสันนิวาส ฉบับจัดเต็ม หรือ บุพเพสันนิวาส ฉบับ Director's Cut มารีรันอีกครั้งในช่วงละครเย็น เพื่อต้อนรับละครภาคต่ออย่าง พรหมลิขิต ที่จะออกอากาศในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ.2566 โดยออกอากาศวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 19.00-20.00 น. นำเสนอเป็นตอนแรกในวันที่ 10 สิงหาคม 2566 โดยตอนที่ 38 และ 39 ออกอากาศในวันที่ 2,3 ตุลาคม พ.ศ.2566 ก่อนจะจบตอน ได้มีสกู๊ปพิเศษสั้นๆ ที่นำเนื้อหาบางส่วนมาจากรายการ “กว่าจะเป็น…พรหมลิขิต” [12]คือ “จากบุพเพสันนิวาสถึงพรหมลิขิต สู่การเป็นพ่อ-แม่”[13]และ “จากบุพเพสันนิวาสถึงพรหมลิขิต สู่การผลัดเปลี่ยนประวัติศาสตร์” [14]ในตอนที่ 38 และ 39 ตามลำดับ และในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2566 ตอนที่ 40 (ตอนจบ) ก็มี Pre-Credits Scene หรือฉากเพิ่มเติมก่อนจะขึ้นเครดิต อยู่แล้วตั้งแต่ออกอากาศครั้งแรกคือ “พรหมลิขิต…จักนำพาให้เรามาพบกัน”[15]ก่อนจะจบตอน รวมทั้งสิ้นแล้ว บุพเพสันนิวาส ฉบับจัดเต็ม มีทั้งหมด 40 ตอน[16]

ซึ่งตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2566 เป็นต้นมา ได้มีสปอตโปรโมทละครในหัวข้อที่ว่า ”ออเจ้าเชื่อเรื่องพรหมลิขิตหรือไม่“ ซึ่งเป็นการออกความเห็นและตีความในเรื่องของคำว่า พรหมลิขิต จากนักแสดงมากฝีมือในแบบของตนเอง ซึ่งบ่งบอกได้ว่าละครเรื่อง พรหมลิขิต กำลังจะออกอากาศในเร็วๆนี้ ต่อมาในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ.2566 ได้มีการปล่อยตัวอย่างสั้นๆออกมา พร้อมคำโปรยที่ว่า “มนต์กฤษณะกาลี จะนำพาพวกเขากลับมา…เร็วๆนี้” [17] จนกระทั่งในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2566 ช่อง 3 เอชดี จึงมีการปล่อยตัวอย่างเต็มของละคร พรหมลิขิต [18]พร้อมประกาศวันฉายอย่างเป็นทางการในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2566 ซึ่งจะออกอากาศเป็นตอนแรก[19] ทำให้สร้างความตื่นเต้นให้กับผู้ชมที่รอคอยเป็นอย่างมาก

และแล้วในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2566 เวลา 20.30-22.00 น. ก็ถึงเวลาออกอากาศของละครโรแมนติกอิงประวัติศาสตร์อย่าง พรหมลิขิต ภาคต่อของละคร บุพเพสันนิวาส ซึ่งมีกระแสตอบรับที่ดีมาก ยอดดูสดออนไลน์ทะลุ 1 ล้านคน และได้เรตติ้งทั่วประเทศไปที่ 6.4 ตั้งแต่ตอนแรก[20] ผู้ชมต่างชื่นชอบกับความรู้สึกที่เหมือนได้ดู บุพเพสันนิวาส อีกครั้ง ในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2566 ได้มีการปรับเปลี่ยนผังการออกอากาศจากเดิมใน วันพุธและวันพฤหัสบดี มาเป็น วันจันทร์-อังคาร-พุธ เวลา 20.30-22.00 น. เป็นต้นไปจนถึงตอนจบ[21] ต่อมาในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2566 เป็นต้นไป พรหมลิขิต ได้มีการเพิ่มเวลาออกอากาศจากเดิม เวลา 20.30-22.00 น. เป็นเวลา 20.30-22.15 น. หรือ 1 ชั่วโมง 45 นาที[22] โดยเวลาที่เพิ่มมาเป็นสกู๊ปเกร็ดละคร จักรวาลพรหมลิขิต[23] ที่มีเนื้อหาในเรื่องของเกร็ดประวัติศาสตร์และเบื้องหลังละครต่างๆ มีทั้งหมด 10 ตอน และเดินทางมาถึงตอนสุดท้ายกับ พรหมลิขิต ในวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2566 ยอดคนดูออนไลน์รวมสูงถึง 1.8 ล้านคน และขึ้นเทรนด์อันดับ 1 ทางแพลตฟอร์ม X (ทวิตเตอร์) [24]ถือเป็นการส่งท้ายจักรวาลพรหมลิขิตอย่างสวยงาม

กลับมาอีกครั้งกับปาฏิหาริย์รักเหนือกาลเวลา[25] ละครดังอย่าง พรหมลิขิต ซึ่งทาง ช่อง 3 เอชดี นำ พรหมลิขิต กลับมารีรันอีกครั้งเวลา 19.00-20.00 น. วันจันทร์-วันศุกร์ โดยเริ่มตอนแรกวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2567[26] ต่อจากละครเรื่องก่อนหน้าอย่าง เว้าวอนรัก


นักแสดง แก้

นักแสดง รับบท
ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ หมื่นมหาฤทธิ์ / ขุนพิพัฒน์ราชสินธุ์ (พ่อริด)
หมื่นณรงค์ราชฤทธา (พ่อเรือง)
ออกญาวิสูตรสาคร (พ่อเดช)
ราณี แคมเปน พุดตาน
คุณหญิงการะเกด (เกศสุรางค์)
แม่หญิงการะเกด
วรินทร ปัญหกาญจน์ สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ / สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (เจ้าฟ้าเพชร)
เด่นคุณ งามเนตร กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (เจ้าฟ้าพร)
พิจักขณา วงศารัตนศิลป์ แม่กลิ่น
ฐากูร การทิพย์ หมู่สง
ภัสธรากรณ์ บุษราคัมวดี แม่หญิงแก้ว
ปุญญ์ปรีดี คุ้มพร้อม รอดสวาสดิ์ แม่หญิงปราง
กนกฉัตร มรรยาทอ่อน จมื่นศรีสรรักษ์ / ออกพระศรีสุรินทฤาไชย (พ่อมิ่ง)
ฐกฤต ตวันพงค์ พระยาราชนิกูล (ทองคำ)
ทัศน์พล วิวิธวรรธน์ หมื่นจันภูเบศร์ (พ่ออิน)
ชไมพร จตุรภุช คุณหญิงจำปา
รัดเกล้า อามระดิษ ยายกุย
วิศรุต หิมรัตน์ จ้อย
รมิดา ประภาสโนบล แย้ม (สมัยกรุงศรีอยุธยา)
นางกำนัลของเจ้าหญิงอทิตยา (สมัยทวารวดี)
จรรยา ธนาสว่างกุล ผิน (สมัยกรุงศรีอยุธยา)
นางกำนัลของเจ้าหญิงอทิตยา (สมัยทวารวดี)
ภัทรภณ โตอุ่น เพิ่ม
แดนดาว ยมาภัย อึ่ง
อำภา ภูษิต ปริก
วิมลพันธ์ ชาลีจังหาญ จวง
ภูศญา นาคสวัสดิ์ อิ่ม
นักแสดงรับเชิญ บทบาท
ณวัสน์ ภู่พันธัชสีห์ แม่ทัพอนิลบถ
ภูริตา สุปินชุมภู พระนางอทิตยา
คณิน ชอบประดิถ ฑิฆัมพรราชา
ศิริลักษณ์ คอง พระนางจันทราวดี
ปรมะ อิ่มอโนทัย พระรามณรงค์ (พ่อเรือง)
พระเรืองฤทธิ์ (หลวงพ่อเรืองฤทธิ์)
กัญญ์ณรัณ วงศ์ขจรไกล คุณหญิงจันทร์วาด
จิรายุ ตันตระกูล สมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี (พระเจ้าเสือ) / ออกหลวงสรศักดิ์ / กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (เดื่อ)
สุษิรา แน่นหนา ท้าวทองกีบม้า (แม่มะลิ / มารี กีมาร์ / ตอง กีมาร์)
ธัญญภัสร์ ภัทรธีรชัยเจริญ แม่หญิงแพรจีน
ปรียากานต์ ใจกันทะ แม่หญิงเรียม
ศรุต วิจิตรานนท์ สมเด็จพระเพทราชา
ปราปต์ปฎล สุวรรณบาง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ชาติชาย งามสรรพ์ ออกญาโกษาธิบดี (ปาน)
ธชย ประทุมวรรณ พระปีย์
คณิน สแตนลีย์ หลวงชิดภูบาล (จอร์จ ฟอลคอน)
ชนกสุดา รักษนาเวศ พระชายาเจ้าฟ้าพร ( พระองค์เจ้าขาว )
วิศววิท วงษ์วรรณลภย์ ออกญาจุฬาราชมนตรี (แก้ว)
วิศรุต หิรัญบุศย์ ขาม
อธิวัตน์ แสงเทียน
ชาตโยดม หิรัณยัษฐิติ ออกญาโกษาธิบดี (จีน)
ขวัญฤดี กลมกล่อม พระอัครมเหสีองค์กลาง / กรมพระเทพามาตย์ (กัน) / สมเด็จพระอัยกีเจ้า กรมพระเทพามาตย์
ณัฏฐริณีย์ กรรณสูต คุณหญิงผ่อง
วัชรชัย สุนทรศิริ อาจารย์ชีปะขาว
สุริยะราชา
พศิน เรืองวุฒิ เจ้าพระองค์ดำ
โชติรส ชโยวรรณ พระองค์เจ้าแก้ว
ไชย ขุนศรีรักษา ฟานิก
นฤมล พงษ์สุภาพ กลอย
พลวิชญ์ เกตุประภากร พ่อเวก
บรรเจิดศรี ยมาภัย ยายทวดนวล
มยุริญ ผ่องผุดพันธ์ ป้าวิภาวี
ปวีณา ชารีฟสกุล แม่ชีสิปาง
ดนัย จารุจินดา ชัยมิตร
พรรษชล สุปรีย์ วิภาวรรณ
ด.ญ.ณัฐชา นีน่า เจสซิกา พาโดวัน พุดตาน (วัยเด็ก) / แม่หญิงการะเกด (วัยเด็ก)

การตอบรับ แก้

ผลสืบเนื่อง แก้

เรตติ้งละคร แก้

ตอนที่ วันที่ออกอากาศ เรตติ้งทั่วประเทศ

(Nationwide)

กรุงเทพมหานคร

(Bangkok)

15+BU
1 18 ตุลาคม พ.ศ. 2566 6.4[20] 11.1[20] 9.2[20]
2 19 ตุลาคม พ.ศ. 2566 6.8[27] 13.0[27] 10.3[27]
3 25 ตุลาคม พ.ศ. 2566 6.2[28] 11.6[28] 9.8[28]
4 26 ตุลาคม พ.ศ. 2566 6.6[29] 11.7[29] 10.1[29]
5 30 ตุลาคม พ.ศ. 2566 6.3[30] 12.3[30] 9.9[30]
6 31 ตุลาคม พ.ศ. 2566 7.1[31] 13.5[31] 10.7[31]
7 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 7.6[32] 13.6[32] 11.0[32]
8 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 6.7[33] 12.3[33] 10.5[33]
9 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 7.1[34] 12.9[34] 11.1[34]
10 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 7.5[35] 13.4[35] 10.9[35]
11 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 7.3[36] 13.4[36] 10.9[36]
12 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 7.7[37] 14.6[37] 11.5[37]
13 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 7.5[38] 14.3[38] 11.4[38]
14 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 7.0[39] 13.1[39] 10.8[39]
15 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 7.9[40] 13.3[40] 11.9[40]
16 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 7.4[41] 12.5[41] 11.1[41]
17 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 6.0[42] 11.1[42] 9.2[42]
18 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 6.8[43] 13.1[43] 10.7[43]
19 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 7.6

จักรวาลพรหมลิขิต: 5.8 (เฉลี่ยรวม: 7.2)[44]

12.1[44] 10.3[44]
20 4 ธันวาคม พ.ศ. 2566 7.5

จักรวาลพรหมลิขิต: 4.9 (เฉลี่ยรวม: 6.8)[45]

11.8[45] 10.4[45]
21 5 ธันวาคม พ.ศ. 2566 7.8

จักรวาลพรหมลิขิต: 5.5 (เฉลี่ยรวม: 7.3)[46]

13.3[46] 11.0[46]
22 6 ธันวาคม พ.ศ. 2566 8.3

จักรวาลพรหมลิขิต: 6.0 (เฉลี่ยรวม: 7.8)[47]

13.4[47] 11.7[47]
23 11 ธันวาคม พ.ศ. 2566 7.2

จักรวาลพรหมลิขิต: 4.3 (เฉลี่ยรวม: 6.5)[48]

11.3[48] 9.5[48]
24 12 ธันวาคม พ.ศ. 2566 7.7

จักรวาลพรหมลิขิต: 5.4 (เฉลี่ยรวม: 7.2)[49]

12.8[49] 10.5[49]
25 13 ธันวาคม พ.ศ. 2566 8.1

ส่งท้ายพรหมลิขิต: 5.0 (เฉลี่ยรวม: 7.3)[50]

10.9[50] 13.3[50]
26 (ตอนจบ) 18 ธันวาคม พ.ศ. 2566 8.6

ส่งท้ายพรหมลิขิต: 5.4 (เฉลี่ยรวม: 7.8)[51]

14.3[51] 11.9[51]
เฉลี่ยทุกตอน 7.3

(ไม่รวมจักรวาลพรหมลิขิต)

12.7 10.8

รางวัล แก้

ปี งาน รางวัล สาขา ผู้ได้รับการเสนอชื่อ ผลการตัดสิน หมายเหตุ
2566 รางวัลโทรทัศน์ไทย อัตลักษณ์แห่งสยาม ละครยอดเยี่ยมแห่งปี พรหมลิขิต - [52]
2567 Thailand Kids Awards 2024 รางวัลนักแสดงตัวอย่างเยาวชน ทัศนพล วิวิธวรรธน์, คณิน สแตนลีย์ - [53]
2567 Thailand Social Awards ครั้งที่ 12 Best Content Performance on Social Media (ผู้สร้างสรรค์และผลิตเนื้อหารายการยอดเยี่ยมบนโซเชียลมีเดีย) สาขา Thai Series (ละครไทย) พรหมลิขิต ชนะ [54]
2567 Asia Top Awards 2024 รางวัลละครส่งเสริมวัฒนธรรมยอดเยี่ยม พรหมลิขิต - [55]
2567 กินรีทอง มหาชน ครั้งที่ 9 สาขา ผู้สร้างละครไทยยอดนิยม สู่การเป็นละครไทยซอฟพาวเวอร์ พรหมลิขิต - [56]
สาขา นักแสดงดาวรุ่งแห่งปี ปุญญ์ปรีดี คุ้มพร้อม รอดสวาสดิ์ - [57]
2567 The World’s Highest Awards 2024 Global Star Media Awards 2024 สาขา บุคคลบันเทิงส่งเสริมส่งเสริม Soft Power ละครไทยสู่สากล อรุโณชา ภาณุพันธุ์ - [58]
สาขา ละครยอดเยี่ยมแห่งปี พรหมลิขิต -
2567 รางวัลนาฏราชครั้งที่ 15 ประเภท ละคร Long from (จำนวนตอนออกอากาศ 13 ตอนขึ้นไป) สาขา ละครยอดเยี่ยม บริษัท บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น จำกัด เสนอชื่อเข้าชิง [59]
สาขา นำแสดงนำชายยอดเยี่ยม ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ เสนอชื่อเข้าชิง
สาขา นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ราณี แคมเปน เสนอชื่อเข้าชิง
องค์ประกอบละครยอดเยี่ยม เพลงละครยอดเยี่ยม “ข้ามเวลา” ขับร้องโดย วิโอเลต วอเทียร์ ชนะ
เครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม กิจจา ลาโพธิ์ ชนะ
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม ประเสริฐ โพธิ์ศรีรัตน์ ชนะ
ออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิกยอดเยี่ยม Broadcast Team เสนอชื่อเข้าชิง

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "โป๊ป-เบลล่า" แต่งเต็มยศ เปิดกล้องถ่ายทำ "พรหมลิขิต"
  2. 2.0 2.1 ออเจ้า โอเคปะ? ฟิตติ้งแล้ว “พรหมลิขิต”
  3. “พรหมลิขิต-มัดหัวใจยัยซุปตาร์” กับการกำกับของ “นาย สรัสวดี” จะปัง หรือ จะแป้ก! กับแรงกดดันและความคาดหวังของทุกคน
  4. โป๊ป-เบลล่า นำทีมผู้จัดนักแสดง บวงสรวงละคร“พรหมลิขิต”
  5. 5.0 5.1 "พรหมลิขิต"ได้ชมแน่สิ้นปีนี้ ผู้กำกับ เผย สนุกไม่แพ้ บุพเพสันนิวาส
  6. "ตามรอยละครพรหมลิขิต กับพิกัดที่เที่ยวอยุธยา 2566". กะปุก.
  7. "ปักหมุดเที่ยว 7 จุด ตามรอย "พรหมลิขิต"". ผู้จัดการออนไลน์.
  8. ""คลองโคกขาม" ตามรอยตำนาน "พันท้ายนรสิงห์" สู่ละคร "พรหมลิขิต"". ผู้จัดการออนไลน์.
  9. "ย้อนเวลาพันปี จุดกำเนิด การะเกด-พุดตาน ต้นเรื่อง บุพเพสันนิวาส - พรหมลิขิต". ข่าวสด.
  10. พรหมลิขิต ต่อยอด บุพเพสันนิวาส จดลิขสิทธิ์เสื้อผ้าหน้าผมบุคลิกบทพูดทั้งหมด
  11. เปิดวิกบิ๊ก 3 ต้นปีมีลั่น! …เปิดผังละครใหม่ช่อง 3
  12. กว่าจะเป็นพรหมลิขิต EP.1 | 3plus
  13. จากบุพเพสันนิวาสถึงพรหมลิขิต สู่ การเป็นพ่อ แม่ | 3plus
  14. จากบุพเพสันนิวาสถึงพรหมลิขิต สู่ การผลัดเปลี่ยนประวัติศาสตร์ | 3plus
  15. “พรหมลิขิต”จักนำให้เรา…กลับมาพบกัน | บุพเพสันนิวาส | Ch3Thailand
  16. ดูวนไป! บุพเพสันนิวาส-ทองเนื้อเก้า กลับมารีรันโกยเรตติ้งอีกครั้ง
  17. พรหมลิขิต Lovedestiny2 เร็วๆนี้ | 3plus
  18. รักหนึ่งเกิดขึ้นเพราะบุพเพสันนิวาส อีกรักหนึ่งกำลังจะเกิด เพราะ“พรหมลิขิต” | ตัวอย่างพรหมลิขิต | Ch3Thailand
  19. มาแล้ว! ตัวอย่างแรก พรหมลิขิต ประกาศวันฉายอย่างเป็นทางการ
  20. 20.0 20.1 20.2 20.3 เรตติ้งพรหมลิขิตตอนที่ 1
  21. ละคร "พรหมลิขิต" ประกาศเปลี่ยนวันออกอากาศใหม่ จัดไปเลยแบบจุกๆ
  22. ด่วน! รู้หรือยังเริ่มแล้วเพิ่มเวลาออกอากาศ “พรหมลิขิต”
  23. จักรวาลพรหมลิขิต EP.1-10 | 3Plus
  24. #พรหมลิขิตตอนจบ พุ่งขึ้นเทรนด์ส่งท้ายกระแสละคร
  25. เร็วมากคุณน้า "พรหมลิขิต" เตรียมรีรันอีกครั้ง คนดูถล่มเมนต์วอนตัดต่อใหม่
  26. ตัวอย่าง พรหมลิขิต รีรัน | Broadcastthaitv
  27. 27.0 27.1 27.2 เรตติ้งพรหมลิขิตตอนที่ 2
  28. 28.0 28.1 28.2 เรตติ้งพรหมลิขิตตอนที่ 3
  29. 29.0 29.1 29.2 เรตติ้งพรหมลิขิตตอนที่ 4
  30. 30.0 30.1 30.2 เรตติ้งพรหมลิขิตตอนที่ 5
  31. 31.0 31.1 31.2 เรตติ้งพรหมลิขิตตอนที่ 6
  32. 32.0 32.1 32.2 เรตติ้งพรหมลิขิตตอนที่ 7
  33. 33.0 33.1 33.2 เรตติ้งพรหมลิขิตตอนที่ 8
  34. 34.0 34.1 34.2 เรตติ้งพรหมลิขิตตอนที่ 9
  35. 35.0 35.1 35.2 เรตติ้งพรหมลิขิตตอนที่ 10
  36. 36.0 36.1 36.2 เรตติ้งพรหมลิขิตตอนที่ 11
  37. 37.0 37.1 37.2 เรตติ้งพรหมลิขิตตอนที่ 12
  38. 38.0 38.1 38.2 เรตติ้งพรหมลิขิตตอนที่ 13
  39. 39.0 39.1 39.2 เรตติ้งพรหมลิขิตตอนที่ 14
  40. 40.0 40.1 40.2 เรตติ้งพรหมลิขิตตอนที่ 15
  41. 41.0 41.1 41.2 เรตติ้งพรหมลิขิตตอนที่ 16
  42. 42.0 42.1 42.2 เรตติ้งพรหมลิขิตตอนที่ 17
  43. 43.0 43.1 43.2 เรตติ้งพรหมลิขิตตอนที่ 18
  44. 44.0 44.1 44.2 เรตติ้งพรหมลิขิตตอนที่ 19
  45. 45.0 45.1 45.2 เรตติ้งพรหมลิขิตตอนที่ 20
  46. 46.0 46.1 46.2 เรตติ้งพรหมลิขิตตอนที่ 21
  47. 47.0 47.1 47.2 เรตติ้งพรหมลิขิตตอนที่ 22
  48. 48.0 48.1 48.2 เรตติ้งพรหมลิขิตตอนที่ 23
  49. 49.0 49.1 49.2 เรตติ้งพรหมลิขิตตอนที่ 24
  50. 50.0 50.1 50.2 เรตติ้งพรหมลิขิตตอนที่ 25
  51. 51.0 51.1 51.2 เรตติ้งพรหมลิขิตตอนที่ 26 (ตอนจบ)
  52. แม่นายหน่อง อรุโณชา" ขึ้นรับรางวัล "โทรทัศน์ไทย" เกียรติคุณ กับละครเรื่อง "พรหมลิขิต
  53. แม่นายหน่อง อรุโณชา" นำทีมนักแสดงจากละครพรหมลิขิต "ปีเตอร์แพน ทัศน์พล", "โอม คณิน" และ "ต้า-อธิวัตน์" เข้ารับรางวัลงาน "Thailand Kids Awards 2024
  54. แม่นายหน่อง อรุโณชา ร่วมด้วยนักแสดงจาก "พรหมลิขิต" "น้องจ๊ะจ๋า แดนดาว" และ "น้องปอนด์ พลวิชญ์" เข้ารับรางวัล งานประกาศรางวัล "Thailand Social Awards ครั้งที่12
  55. ช่อง 3 ปังยกเซ็ต! พรหมลิขิต - ญดา - จูเนียร์ คว้ารางวัลอันทรงเกียรติ Asia Top Awards 2024
  56. แม่นายหน่อง อรุโณชา พร้อมด้วย พีพี ปุญญ์ปรีดี หรือ แม่ปรางจอมแก่น นักแสดงจากละคร "พรหมลิขิต" เข้ารับรางวัล "ผู้สร้างละครไทยยอดนิยม สู่การเป็นละครไทยซอฟต์พาวเวอร์" และรางวัล "นักแสดงดาวรุ่งแห่งปี" จากงาน "กินรีทอง ครั้งที่ 9
  57. ‘หน่อง อรุโณชา’ พร้อมนักแสดงช่อง 3 ‘ญดา-พีพี-เดนิส-จูเนียร์’ เข้ารับรางวัล ‘กินรีทองมหาชน’ ครั้งที่ 9
  58. พี่หน่อง อรุโณชา" ร่วมงานประกาศรางวัล "THE WORLD'S HIGHEST AWARDS 2024
  59. ประกาศรายชื่อผู้เข้าชิง นาฏราช ครั้งที่ 15