พรรคอาณัติแห่งชาติ

พรรคอาณัติแห่งชาติ (National Mandate Party) เป็นพรรคการเมืองในอินโดนีเซีย ก่อตั้งขึ้นหลังจากประธานาธิบดีซูฮาร์โตพ้นจากอำนาจเมื่อ พ.ศ. 2541 ผู้นำพรรคคืออามีน ราฮิส ที่เคยเป็นกลุ่มต่อต้านซูฮาร์โตมาก่อน พรรคได้รับคะแนนเสียงเป็นอันดับที่ 5 ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2542 ทำให้หลังจากนั้นพรรคหันมาดำเนินนโยบายนิยมอิสลามและต่อต้านชาวคริสต์ รวมทั้งมีส่วนผลักดันให้อับดุลระห์มัน วาฮิดได้เป็นประธานาธิบดีเมื่อ พ.ศ. 2542

พรรคอาณัติแห่งชาติ
Partai Amanat Nasional
ประธานซุลกิฟลี ฮาซัน
เลขาธิการเอ็ดดี ซูปาร์โน
คำขวัญปกป้องประชาชน (อินโดนีเซีย: PAN terdePAN)
ก่อตั้ง23 August 1998; 25 ปีก่อน (23 August 1998)
ที่ทำการจาการ์ตา
ฝ่ายเยาวชนBM PAN (National Mandate Upholder Young Front)
ฝ่ายสตรีPUAN (National Mandate Women)
อุดมการณ์ประชาธิปไตยอิสลาม
นวยุคนิยมอิสลาม[ต้องการอ้างอิง]
ปัญจศีล
เพลง"Mars PAN"
("PAN March")
หมายเลขบัตรเลือกตั้ง12
สภาผู้แทนราษฎร
48 / 575
สภาผู้แทนราษฎรประจำจังหวัด
165 / 2,207
เว็บไซต์
http://pan.or.id

ภูมิหลัง แก้

ในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 นักการเมืองราว 50 คนรวมทั้ง เกนาวาน โมฮัมหมัด ไฟซัล บัสรี และอาเมียน ไรส์ ได้จัดตั้งองค์กรชื่อสภาอาณัติประชาชน (Indonesian: Majelis Amanat Rakyat, MARA) เพื่อเปิดให้คนที่ต้องการเข้ามาฟังและแสดงความคิดเห็น หลังจากที่ซูฮาร์โตลงจากอำนาจใน พ.ศ. 2541 มีการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นเป็นจำนวนมาก และมีเสียงเรียกร้องให้อาเมียน ไรส์เข้าร่วม แต่เขาปฏิเสธ และได้จัดตั้งพรรคของตนเองในชื่อพรรคอาณัติประชาชนในวันที่ 27 กรกฎาคมพ.ศ. 2541 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคอาณัติแห่งชาติ พรรคนี้มีนโยบายเน้นทางด้านศาสนา และมนุษย์นิยม[1][2]

การเลือกตั้ง แก้

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2542 พรรคนี้ได้ 34 ที่นั่ง และมีบทบาทสำคัญในฐานะพรรคการเมืองที่เป็นแกนกลางของพรรคที่นิยมอิสลามในสภา และช่วยให้อับดุลระห์มัน วาฮิดได้เป็นประธานาธิบดี แต่พรรคนี้ก็ไม่ได้สนับสนุนวาฮิดนานนัก โดยถอนตัวออกไปในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 และทำให้วาฮิดต้องลาออกและเมกาวตี ซูการ์โนปุตรีได้เป็นประธานาธิบดีแทน

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2547 พรรคนี้ได้ 52 ที่นั่ง[3][4] ส่วนในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2552 ได้ 43 ที่นั่ง[5][6]

อ้างอิง แก้

  • Daniel Dhakidae (Ed), (2004) Partai-Partai Politik Indonesia: Ideologi dan Program 2004-2009 (Indonesian Political Parties: Ideologies and Programs 2004-2009) Kompas (1999) ISBN 979-709-121-X Indonesian
  • Evans, Kevin Raymond, (2003) The History of Political Parties & General Elections in Indonesia, Arise Consultancies, Jakarta, ISBN 979-97445-0-4
  • ไมเคิล ลีเฟอร์. พจนานุกรมการเมืองสมัยใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กทม. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2548.