พยัคฆ์ตะลุยพยัคฆ์

พยัคฆ์ตะลุยพยัคฆ์ (จีน: 龍門飛甲; อังกฤษ: The Flying Swords of Dragon Gate) เป็นภาพยนตร์นิยายกำลังภายใน กำกับโดยฉีเคอะ นำแสดงโดย เจ็ท ลี, โจว ซวิ่น, เฉินคุน, หลี่ หยูชุน, เกย ลุนเม่ย, ฝาน ส่าวหวง และ เมวิส ฟาน ซึ่งเป็นภาพยนตร์รีเมคจากเรื่อง ตะลุยแดนพยัคฆ์ (ค.ศ. 1966) และ เดชคัมภีร์แดนพยัคฆ์ (ค.ศ. 1992) นำฉายในประเทศไทยโดย สหมงคลฟิล์ม การผลิตเริ่มในวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 2010 และถ่ายทำในระบบ 3 มิติ[1] นอกจากนี้ นักแสดงอย่าง เฉินคุน ยังได้รับแสดงใน 2 บทบาท ทั้งขันทีซึ่งเป็นบทร้ายของเรื่อง รวมถึงในบทของจอมยุทธพเนจรในเรื่องเดียวกันอีกด้วย[2]

พยัคฆ์ตะลุยพยัคฆ์
โปสเตอร์ภาพยนตร์ฉบับภาษาไทย
กำกับฉีเคอะ
เขียนบทฉีเคอะ
อำนวยการสร้างฉีเคอะ
ซือ หนานเซิง
เจฟฟรี่ย์ ชาน
นักแสดงนำเจ็ท ลี
โจว ซวิ่น
เฉินคุน
หลี่ หยูชุน
เกย ลุนเม่ย
ฝาน ส่าวหวง
เมวิส ฟาน
กำกับภาพปาร์คกี้ ชาน
จอห์นนี่ ชอย
บริษัทผู้สร้าง
ฟิล์มเวิร์คช็อป
ไชน่าฟิล์มกรุ๊ปคอร์ปอเรชั่น
เซี่ยงไฮ้มีเดียกรุ๊ป
โพลีโบนาฟิล์ม
โบนาอินเตอร์เนชั่นแนลฟิล์มกรุ๊ป
เหลียงจื่อกรุ๊ป
ไชน์โชว์ โค.
ผู้จัดจำหน่ายดิสทริบิวชั่นเวิร์คช็อป
สหมงคลฟิล์ม (ไทย)
วันฉาย15 ธันวาคม ค.ศ. 2011 (จีน)
22 ธันวาคม ค.ศ. 2011 (ฮ่องกง)
5 มกราคม ค.ศ. 2012 (ไทย)
ประเทศฮ่องกง
จีน
ทุนสร้าง35 ล้านดอลลาร์สหรัฐ [1]

เนื้อเรื่องย่อ แก้

ยุทธจักรเกิดการปั่นป่วนเมื่อ อู๋ ว่านเถียน มหาขันที ได้เข้ายึดอำนาจเบ็ดเสร็จแทนฮ่องเต้ มีคนทราบว่ามีสนมเอกนางหนึ่งที่กำลังตั้งครรภ์ต้องหลบหนีออกจากวัง และเธอได้มาพบกับจอมยุทธสาวลึกลับผู้หนึ่งซึ่งมีนามว่า หลิง เหยียนชิว โดยเธอได้พาสนมผู้นี้ไปยังโรงเตี๊ยมมังกร เมื่อฝ่ายขุนนางทราบเป้าหมายของอู๋ ว่านเถียนที่ออกจากวังเพื่อตามล่านางสนมและเด็ก จ้าว ฮวยอัน จอมยุทธผู้ผดุงคุณธรรม ก็ได้ติดตามกองทัพออกไปเพื่อขัดขวางการมุ่งสู่โรงเตี๊ยมมังกร[3] โดยเหล่าจอมยุทธได้มาเผชิญหน้ากัน ณ ที่แห่งนี้ พร้อมกับแผนกลลวงที่ต่างฝ่ายไม่คาดคิดมาก่อน

นักแสดงนำ แก้

การสร้าง แก้

แม้ว่าภาพยนตร์ชุดนี้จะมีเค้าโครงมาจาก เดชคัมภีร์แดนพยัคฆ์ แต่ฉีเคอะก็ได้ปฏิเสธว่าภาพยนตร์นี้จะรีเมกจากภาพยนตร์เก่า หากแต่มีการเพิ่มจินตนาการขึ้นมาใหม่ ฉีเคอะยังได้ทำหน้าที่นอกเหนือไปจากการกำกับและผลิตภาพยนตร์ เพื่อทำให้มั่นใจว่ามีความแปลกใหม่ในส่วนของเนื้อเรื่อง[4]

โดยถ่ายทำด้วยกล้อง Red One ที่มีความละเอียดสูง 4 ตัว และได้รับการดูแลโดย ชัค โคมินสกี้ ซึ่งเป็นทีมงานจากภาพยนตร์ อวตาร และฉีเคอะยังได้ทำการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับอาวุธชนในเผ่าทะเลทรายมาใช้ประกอบในภาพยนตร์ อาทิ ดาบวงพระจันทร์ รวมถึงกรงเล็บพยัคฆ์[2]

รวมทั้งได้มีการใช้เมือนตุนฮวง มณฑลกานซู ซึ่งเป็นดินแดนทะเลทราย ที่เป็นเส้นทางของขบวนคาราวานจากตะวันออกสู่ตะวันตก มาเป็นสถานที่ในการถ่ายทำ[2]

รางวัล แก้

เอเชียนฟิล์มอวอร์ดส ครั้งที่ 6

  • เทคนิคพิเศษ: วุคคิม, จอช โคล, แฟรงกรี จง
  • ออกแบบเครื่องแต่งกาย: เอ๋อ จงหมั่น, หลี ซวนหวู[5]

ฮ่องกงฟิล์มอวอร์ด ครั้งที่ 31

  • ตัดต่อยอดเยี่ยม: เหยา จื่อเว่ย
  • ออกแบบฉากต่อสู้ยอดเยี่ยม: หยวน บิน, ซุน เจียนกุ้ย, อัลเลน หลัน ไห่ฮัน
  • บันทึกเสียงยอดเยี่ยม: คิม ซอกวอน
  • เทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม: วุกคิม, จอส โคล, แฟรงกี จง[6]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Swords Hover Over Dragon Gate Inn". Wu-Jing.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-10. สืบค้นเมื่อ 2011-08-14.
  2. 2.0 2.1 2.2 'ดวลดาบสามมิติ'. มานี. กรุงเทพธุรกิจ・จุดประกาย. ปีที่ 25 ฉบับที่ 8506. วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555. หน้า 05
  3. 'flying swords of dragon gate 3d' หนังสามมิตติตลอดเรื่อง เก็บถาวร 2012-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ไทย)
  4. "'The Flying Swords of Dragon Gate' Starts Filming". English.cri.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-26. สืบค้นเมื่อ 2011-08-14.
  5. [https://web.archive.org/web/20120321020755/http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9550000035711 เก็บถาวร 2012-03-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หนัง จีน/ฮ่องกง/อิหร่าน กวาด Asian Film Awards ครั้งที่ 6 จากผู้จัดการออนไลน์]
  6. ""A Simple Life" กวาด 5 สาขาใหญ่ "รางวัลภาพยนตร์ฮ่องกง" จากผู้จัดการออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-18. สืบค้นเมื่อ 2012-04-17.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้