พงศ์ประยูร ราชอาภัย

(เปลี่ยนทางจาก พงษ์ประยูร ราชอาภัย)

พงศ์ประยูร ราชอาภัย ชื่อเล่น พงศ์ เป็นนักแสดงชาวไทย ที่มีผลงานแสดงละครโทรทัศน์สังกัดช่อง 7 และเป็นอดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นอดีตกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์

พงศ์ประยูร ราชอาภัย
ไฟล์:พงศ์ประยูร ราชอาภัย.jpg
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 เมษายน พ.ศ. 2496 (70 ปี)
จังหวัดเชียงใหม่
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์
คู่สมรสสาธิกา ราชอาภัย
ชื่อเล่นพงศ์

ประวัติ แก้

พงศ์ประยูร ราชอาภัย เกิดเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2496 ที่ตำบลป่าตัน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี เกษตรศาสตรบัณฑิต จากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2519 และเคยเป็นประธานชมรมนักศึกษาเก่าคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับนางสาธิกา ราชอาภัย มีบุตรชาย 2 คน คนหนึ่งเป็นนักกีฬาลีลาศทีมชาติไทย คือ ปวัตน์พงศ์ ราชอาภัย[1] อีกคนหนึ่งชื่อ ษัษฐชาคร ราชอาภัย

การทำงาน แก้

พงศ์ประยูร ราชอาภัย เคยทำงานเป็นผู้จัดการบริษัทประกันชีวิต[2] และเป็นนักแสดงละครโทรทัศน์ มีผลงานการแสดงหลายเรื่อง อาทิ

ละคร แก้

งานการเมือง แก้

พงศ์ประยูร ราชอาภัย เคยลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2544 เขต 5 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพื้นที่บ้านเกิดของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[3] ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งนั้นพงษ์ประยูร ได้รับคะแนนถึง 26,911 คะแนน เป็นลำดับที่ 2 มากกว่าเจ้าธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ เจ้าของพื้นที่เดิม[4][5] ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์[6]

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 พงศ์ประยูร ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เดิม และสังกัดพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดิม โดยการสนับสนุนของเจ้าธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ แต่ก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง[7] หลังจากนั้นเขาก็ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกเลย แต่ยังมีส่วนสนับสนุนในการช่วยนางกิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ หาเสียงในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 3 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2556 ในนามพรรคประชาธิปัตย์

อ้างอิง แก้

  1. "ต้อนรับ นักกีฬาลีลาศเหรียญทอง เยี่ยมชมเขาเขียว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-17. สืบค้นเมื่อ 2012-01-31.
  2. "ข่าวสังคมลูกช้าง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-03. สืบค้นเมื่อ 2013-03-16.
  3. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  4. "ผลการเลือกตั้ง ส.ส.เชียงใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2012-02-21.
  5. http://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_34.pdf
  6. "ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-06-06. สืบค้นเมื่อ 2012-02-02.
  7. ย้อนรอยศึกเลือกตั้งเขต 5 เชียงใหม่บ้านเกิด %”ทักษิณ” พิสูจน์ฐานเสียง “เจ้าหนุ่ย”[ลิงก์เสีย]