พงศ์เทพ เทพกาญจนา

อดีตรองนายกรัฐมนตรีไทย

พงศ์เทพ เทพกาญจนา (เกิด 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคด้านการพัฒนาพรรค พรรคเพื่อไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีหลายกระทรวง

พงศ์เทพ เทพกาญจนา
พงศ์เทพ ใน พ.ศ. 2556
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 5 มีนาคม พ.ศ. 2545
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าสุทัศน์ เงินหมื่น
ถัดไปจาตุรนต์ ฉายแสง
ดำรงตำแหน่ง
8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
ก่อนหน้าปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
ถัดไปสุวัจน์ ลิปตพัลลภ
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
5 มีนาคม พ.ศ. 2545 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าจาตุรนต์ ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ดำรงตำแหน่ง
3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าสุชาติ ธาดาธำรงเวช
ถัดไปจาตุรนต์ ฉายแสง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 (67 ปี)
จังหวัดสมุทรสาคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองพลังธรรม (2537–2539)
ชาติไทย (2539–2541)
ไทยรักไทย (2541–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
ประชาราช (2553—2554)
เพื่อไทย (2554–2564)
คู่สมรสพนิดา เทพกาญจนา
ลายมือชื่อ

ประวัติ แก้

พงษ์เทพ เทพกาญจนา เกิดวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 ชื่อเล่นว่า หนุ่ม หรือ โหน่ง ที่ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เป็นบุตรของ นายสุรินทร์ เทพกาญจนา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ส.ส.สมุทรสาคร หลายสมัย ในสังกัดพรรคกิจสังคม กับนางวรารัตน์ เทพกาญจนา จบการศึกษาชั้นชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รุ่นที่ 35 (เพื่อนร่วมรุ่น นางปรางทิพย์ นพรัมภา ภรรยานายธีรพล นพรัมภา เลขาธิการนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช) ปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิต (สอบได้อันดับที่ 2 ของรุ่นที่ 34) สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และปริญญาโท Master of Comparative Law จากมหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน

นายพงศ์เทพ เทพกาญจนาสมรสกับนางพนิดา เทพกาญจนา บุตรสาวนายเกียรติ วัธนเวคิน โดยมีบุตรทั้งหมด 4 คน[1]

ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เขาลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทย

การทำงาน แก้

นายพงศ์เทพเป็นอดีตผู้พิพากษา ต่อมาตัดสินใจเข้าสู่วงการเมืองโดยลาออกจากราช​การ และลงสมัครรับ​เลือกตั้ง ส.ส.กรุง​เทพฯ ​เขต 8 ในสังกัด พรรคพลังธรรม ​เมื่อ 2 กรกฏาคม พ.ศ. 2538 ​แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง และได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และต่อมาได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) จังหวัดสมุทรสาคร (26 ธันวาคม พ.ศ. 2539)[2]

ต่อมาเข้าสังกัดพรรคไทยรักไทย ในตำแหน่งรอง​เลขาธิ​การพรรค และได้ดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่งในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เช่น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[3]

นอกจากนี้เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางกลับประเทศไทยเพื่อต่อสู้คดีความที่ถูกฟ้องร้องโดย ค.ต.ส. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ได้รับหน้าที่เป็นโฆษกประจำตัว ให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ และเป็นประธานกรรมการมูลนิธิ 111 ไทยรักไทย ในระยะเริ่มแรก[4]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 9[5]

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 13[6] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ แก้

นายพงษ์เทพ ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3)[7] ขณะที่เขาดำรงตำแหน่งในกระทรวงศึกษาธิการ ได้นำเสนอแนวความคิดในการยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศ ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในเชิงสนับสนุนและคัดค้าน ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 เขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีเพียงตำแหน่งเดียว[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. รู้จัก.”พินบอล”พิริยา เทพกาญจนา ลูกสาวคนสวยของพงศ์เทพ เจเนอเรชั่นใหม่”เอราวัณ กรุ๊ป”
  2. ประกาศรัฐสภา เรื่อง ตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอน 2ง วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2540
  3. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  4. ประกาศนายทะเบียนมูลนิธิกรุงเทพมหานคร เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้ง “มูลนิธิ ๑๑๑ ไทยรักไทย”
  5. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  6. เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 3)
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ๕)
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๙ ข หน้า ๔, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๐
ก่อนหน้า พงศ์เทพ เทพกาญจนา ถัดไป
ยงยุทธ วิชัยดิษฐ
พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ
พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา
   
รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 60)
(27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557)
  -
สุชาติ ธาดาธำรงเวช    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ครม. 60)
(28 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556)
  จาตุรนต์ ฉายแสง
ร้อยตำรวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ครม. 54)
(8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548)
  สุวัจน์ ลิปตพัลลภ
สถาปนาตำแหน่ง    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (ครม. 54)
(3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546)
  พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช
จาตุรนต์ ฉายแสง    
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ครม. 54)
(5 มีนาคม พ.ศ. 2545 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545)
  กระแส ชนะวงศ์
โดยลำพัง
สุทัศน์ เงินหมื่น    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ครม. 54)
(17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 5 มีนาคม พ.ศ. 2545)
  จาตุรนต์ ฉายแสง