ผ้าไทย คือผ้าทอมือที่มีการผลิตในประเทศไทย โดยมีเอกลักษณ์เฉพาะในแต่ละท้องถิ่น ประวัติผ้าไทยไม่ปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากนัก เนื่องจากมีการให้ความสำคัญในด้านอื่น ๆ มากกว่า แต่เราพอจะสืบหาประวัติของผ้าไทยในสมัยก่อนได้บ้างจากวรรณคดี จิตรกรรมฝาผนัง และมรดกศิลปะที่คงเหลืออยู่ในบางท้องถิ่น

ภาคกลาง แก้

ในภาคกลาง ไม่ปรากฏร่องรอยที่ชัดเจนของกลุ่มช่างทอผ้าในอดีต แม้จะมีการปลูกฝ้ายกันมากก็ตาม ในภายหลังมีการอพยพชาวบ้านจากหัวเมืองล้านนา จากฝั่งลาวลงมา

ภาคใต้ แก้

ในภาคใต้ ลักษณะเป็นผ้ายก แบบหลายตะกอ เช่น ผ้ายกเมืองนคร ผ้าเกาะยอ และผ้าพุมเรียง ลักษณะลวดลายมีทั้งเป็นลายดอกเล็กๆ พรมไปทั้งผืน หรือยกลายเน้นเชิง เดิมนั้นเข้าใจว่าเป็นผ้าไหมเป็นส่วนมาก มีหลักฐานการส่งผ้าจากภาคใต้มายังพระราชสำนักในกรุงเทพฯ เมื่อต้นสมัยรัตนโกสินทร์ ทั้งจากเมืองนครศรีธรรมราช และจากหัวเมืองทางใต้อื่นๆ เช่น ปัตตานี เป็นต้น จึงเชื่อกันว่า ผ้ายกของภาคใต้นั้นน่าจะได้รับอิทธิพลจากแถบมลายู ปัจจุบัน ยังคงเหลือผ้ายกของชาวพุมเรียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวมุสลิมเพียงแห่งเดียวในภาคใต้ที่ยังทอผ้าไหม

ภาคเหนือ แก้

 
ผ้าซิ่นตีนจกอำเภอแม่แจ่ม

ในภาคเหนือ ผ้าโบราณของภาคเหนือมีความโดดเด่นที่ผ้าของเจ้านายล้านนา ที่นิยมใช้ผ้ายกดอก ทอด้วยไหมเงินไหมทอง นอกจากนี้วัฒนธรรมผ้าที่หลากหลายโดยทั่วไป เพราะเป็นถิ่นเดิมของชาวไทยวน ที่มีชื่อเสียงด้านผ้าซิ่นตีนจก เช่น อำเภอแม่แจ่ม เชียงใหม่ อำเภอลอง แพร่ อำเภอลับแล อุตรดิตถ์ ชาวไทพวนบ้านหาดเสี้ยวสุโขทัยโดดเด่นทางด้านผ้าเข็นและผ้ามุกต่อตีนจก ชาวไทยลื้อมีวัฒนธรรมการทอผ้าที่โดดเด่นโดยเฉพาะผ้าลายน้ำไหล พบได้ในแถบจังหวัดพะเยา เชียงราย และน่าน ในภายหลัง ผ้าฝ้ายของป่าซางยังมีชื่อเสียงโดดเด่นมาช้านาน

ในภาคเหนือยังมีผ้าชาวเขาจากหลายเผ่า เช่น กะเหรี่ยง (ปกะญอ, ปกากญอ, ยาง) แม้ว (ม้ง), เย้า (เมี่ยน), อีก้อ (อาข่า), ลีซอ (ลีซู), ปะหล่อง เป็นต้น ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งเทคนิคการทอ วัสดุ และลวดลาย

ปูชนียบุคคลผู้พัฒนาวงการผ้าไทย แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้