ผ้าทอเกาะยอหรือ ผ้าเกาะยอ เป็นผ้าทอพื้นเมืองของตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นผ้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสงขลา ที่มีความประณีตและสีสันที่สวยงาม โดยมีการทอยกดอกที่มีลวดลายอ่อนนุ่ม ถือเป็นสัญลักษณ์หัตถกรรมพื้นบ้านของภาคใต้และยังเป็นสุดยอดผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ OTOP ปี 2549 สืบสานตำนานจากชาวเกาะยอที่ส่วนหนึ่งอพยพมาจากตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ และตำบลทุ่งหวัง อำเภอเมืองสงขลา มีเชื้อสายจีน ทำอาชีพประมง ทำสวนยาง สวนผลไม้ และงานหัตถกรรมพื้นบ้าน คือการทอผ้าพื้นเมืองสำหรับใช้ในครัวเรือน จึงเป็นที่มาของ "ผ้าทอเกาะยอ” ไม่มีหลักฐานที่ปรากฏแน่ชัดว่า ชาวเกาะยอ เริ่มทอผ้ากันตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ทราบว่าที่เกาะยอมีการทอผ้ามานับเป็นร้อยๆปีแล้ว ตั้งแต่เมื่อครั้งที่มีการอพยพมาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินอยู่บนเกาะยอสืบสานการถ่ายทอดภายในครอบครัวเรื่อยมา

ประวัติ แก้

จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาของผู้เฒ่าผู้แก่ได้ความว่า การทอผ้าของเกาะยอมีมาตั้งแต่ประเทศสยามสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โดยหมู่บ้านเกาะยอนั้นเป็นเกาะที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะทั้งโดยทางบนบกและทางน้ำ คนที่อพยพมาในช่วงแรกนั้นซึ่งเป็นคนเชื้อสายจีน ได้นำอาชีพการทอผ้ามาสอนชาวบ้านในบริเวณนั้น การทอผ้าจะทอด้วย “กี่มือ” ที่โครงสร้างเป็นไม้ไผ่ และใช้“ตรน” แทนลูกกระสวย ผ้าที่ทอในระยะแรกนั้นจะเป็นแบบเรียบๆ ไม่มีลวดลาย ระยะหลังได้มีการปลูกฝ้ายเพื่อนำมาทอผ้าและย้อมด้วยสีธรรมชาติและมีการทอเป็นลายดอกชนิดต่างๆในเวลาต่อมา เช่น "ลายก้านแย่ง"” ชื่อเดิมคือ “ลายคอนกเขา” ซึ่งเป็นลายที่สวยที่สุด และเมื่อปีพ.ศ. 2475 ชาวบ้านเกาะยอได้นำผ้าเกาะยอขึ้นถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้รับพระราชทานชื่อใหม่ว่า “ลายราชวัตร” แปลว่า “กิจวัตรหรือการกระทำ” ผลิตภัณฑ์ผ้าทอเกาะยอ มีการสั่งสอน สืบทอดต่อกันภายในครัวเรือนเรื่อยมา เป็นเวลาหลายร้อยปี จนปรากฏว่ามีเพลงกล่อมเด็กเก่าแก่หลายบท ที่แสดงให้เห็นถึงค่านิยมและวัฒนธรรมการทอผ้าของชาวเกาะยอซึ่งผู้เฒ่าผู้แก่บนเกาะเล่าว่า ได้ฟังเพลงกล่อมเด็กเหล่านั้นมาจากยายอีกต่อ นอกจากนั้นยังมีปริศนาคำทายเกี่ยวกับเครื่องมือทอผ้าด้วย กลุ่มผ้าทอเกาะยอ กลุ่มผ้าทอเกาะยอมีการเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2539 โดยมีการติดต่อกับหน่วยงานราชการ คือ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองสงขลา และได้รับเงินทุนจำนวนหนึ่งมาจัดตั้งกลุ่ม กลุ่มผ้าทอมีการพัฒนาเรื่อยมา จนกระทั่งเมื่อปี 2541 ได้จัดตั้งกลุ่ม ในนามว่า “กลุ่มราชวัตถ์ พัฒนาผ้าทอเกาะยอ” มีสมาชิกเริ่มแรก 14 คน วัตถุประสงค์ของกลุ่ม คือ เพื่อพัฒนาอาชีพของชาวตำบลเกาะยอ คือการทอผ้าเกาะยอ และเพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น จากการรวมกลุ่มครั้งแรกจึงได้กู้เงินมาเป็นทุนในการซื้อเส้นใยที่มีหน่วยงาน “ชมรมแสงส่องหล้า” มาให้ความช่วยเหลือในเรื่องการต่อเติมอาคารและได้นำเรื่องกลุ่มอาชีพไปเสนอสำนักพระราชวัง และต่อมาในปี 2543 จึงได้รับพระราชทานชื่อกลุ่ม ระหว่างกลุ่มราชวัตถ์ และกลุ่มแสงส่องหล้า จึงรวมเรียกชื่อว่า “กลุ่มราชวัตถ์แสงส่องหล้า” เป็นต้นมา

กระบวนการผลิตและขั้นตอนการผลิต แก้

เครื่องมือและอุปกรณ์ แก้


- อุปกรณ์การเตรียมด้าย ประกอบด้วย
1. ดอกหวิง ในหลดตัน(หรือลูกคัน)
2. รางดันหลักดัน ฟีม ตะขาเกี่ยวกับ(เบ็ดเข้าฟีม)
3. เครื่องรองตอนเข้าฟีมลูกหัด(หรือระหัด) เพื่อส่งด้ายเวลาทอ
4. ไม้นัด มีไว้เพื่อกรอเข้าไม้ขัดด้าย(หรือไม้ค้ำ)
5. เครื่องม้วนด้าย
- เครื่องทอผ้าหรือกี่ ประกอบด้วย
1. ฟีม(ฟันหวี)
2. เขาหูก(ตะกอหรือกระกอ)
3. กระสวย
4. วางกระสวย
5. ไม้แกนม้วนผ้า
6. หลักม้วนผ้า
7. คานเหยียบ(ตีนเหยียบ)
8. ลายกระตุก(เชือกดึง)
9. ด้ายยืน
10. หลอดด้ายพุ่ง
11. ระหัดถัดด้าย
12. ถังและเครื่องมืออื่นๆที่แยกจากเครื่องทอผ้า มีไนปั่นด้ายเข้ากระสวยและกงล้อ ปั่นด้าย ยืนเข้าระหัดถักด้าย

ขั้นตอนการทำ แก้

1. การเตรียมเส้นด้ายยืน ประกอบด้วยกรรมวิธีต่างๆคือก่อนจะทอผ้า ช่างจะต้องนำด้ายริ้วที่เป็นไจ นำไปกรอเข้าหลอดเพื่อสำหรับงานโดยเฉพาะ เมื่อสอดด้ายเข้าพิมพ์เสร็จแล้วก็นำไปขึงบนกี่สำหรับเก็บตะกอหรือร้อยตะกอต่อไป

2. การเตรียมเส้นพุ่ง เริ่มจากการที่ช่างทอกรอด้ายที่จะใช้เป็นด้ายพุ่งเข้ากระสวยแล้วนำกระสวยแต่ละสีไปใส่ในรางกระสวย

3. ลำดับขั้นการทอในกี่กระตุก สับตะกอให้ด้ายยืนแยกออกจากกัน โดยมีที่เหยีบอยู่ข้างล่าง(ใช้เท้าเหยียบ) เป็นการเปิดช่อว่างสำหรับด้ายพุ่งผ่านเข้าไปได้ ใช้มือพุ่งกระสวยด้ายให้สอดไปตามระหว่างด้าย โดยมีช่องสอดกระสวยซึ่งทำด้วยไม้ ปล่อยเท้าที่เหยียบเครื่องบังคับตะกอ เพื่อให้ด้ายพุ่งรวมเป็นหมู่เดียวกันตามเดิม กระทบฟันหวีโดยแรง ฟันหวีจะพาด้ายพุ่งให้เข้ามาชิดกันเป็นเส้นตรง เหยียบที่บังคับตะกออีกครั้งหนึ่ง

อ้างอิง แก้