ผู้ใช้:Sornjod/ทดลองเขียน

พระยาชัยสุนทร(โคตร)
เจ้าเมืองกาฬสินธุ์
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2420 – พ.ศ. 2426
ก่อนหน้าพระยาชัยสุนทร(หนู)
ถัดไปพระยาชัยสุนทร(พั้ว)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดพ.ศ. 2351
เมืองกาฬสินธุ์
เสียชีวิตวันศุกร์ ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2426 อายุ 75 ปี
เมืองกาฬสินธุ์
ศาสนาศาสนาพุทธ

พระยาชัยสุนทร (โคตร) หรืออีกนามเรียกว่า เซียงโคตรหรือราชวงศ์นนท์ เป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 9 (พ.ศ. 2420–2426)[1] เป็นต้นตระกูล”วงศ์กาฬสินธุ์“ ซึ่งผู้ใช้นามสกุลส่วนใหญ่ตั้งรกรากและอาศัยอยู่ในจังหวัดสกลนครในปัจจุบัน

ชาติกำเนิด แก้

เกิดเมื่อราวปี พ.ศ. 2351 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ บิดามารดาคือพระยาไชยสุนทร(หล้า) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 4 กับอัญญานางคำแดง มีพี่น้องร่วมสายโลหิต เป็นชายได้แก่ ท้าวโคตร ท้าวสี ท้าวลาด ท้าวสีน ท้าวคำ ส่วนบุตรหญิงได้แก่ นางขาว นางหมอก และอุปฮาดเมืองสกลนคร(ลาว)เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งที่ท้าวศรีมุมราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์ได้ขอมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมเพื่อทำราชการที่เมืองสกลนคร

ทายาท แก้

พระยาไชยสุนทร(โคตร)สมรสกับคุณหญิงพา บุตรีของพระยาไชยสุนทร(กิ่ง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 7 กับคุณหญิงสุวรรณ  และมีบุตร 10 คน ได้แก่

1) ท้าวหนู สมรสกับนางแพง ไม่มีทายาท

2) พระไชยสุริยมาตย์(สุรินทร์) ราชบุตรเมืองกาฬสินธุ์ สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 6 คน ได้แก่ 1)นางด่วง 2)ท้าวหนูอินทร์ 3)ท้าวพรหมจักร 4)นางจูม 5)นางขาว 6)นางหมอก เป็นต้น

3) พระไชยแสน(ทองอินทร์) นายกองเมืองกาฬสินธุ์ สมรสกับนางหนูแดง มีบุตรชายหญิงรวม 7 คน คือ 1) ท้าวหำ 2)นางสระ 3)ท้าวบุ 4)ท้าวแขก 5)นางสิงห์ 6)นางเกียน 7)นางทองหล้า เป็นต้น

4) พระศรีธงไชย(คำตา)* กรมการเมืองพิเศษสกลนคร สมรสกับนางคำตัน พรหมประกาย ณ นครพนม มีบุตร 9 คน ได้แก่ 1)นางมั่น 2)ขุนวาปีพิทักษ์(จูม) 3)ขุนนาวาพาณิชย์(จี) 4)นางเกษ 5)นางไข 6)นางแปน 7)ท้าวขันติ 8)นางสิบปะคี 9)ท้าวคำศรีหรือนายศิริ เป็นต้น

5) หลวงไชยสวัสดิ์(คำแสน) สมรสกับนางคง มีบุตร 1 คน ได้แก่ 1)ท้าวหงษ์ เป็นต้น

6) ขุนไชยสาร(จารย์เฮ้า) สมรสกับนางอำ มีบุตร 3 คน ได้แก่ 1)นางคำ 2)นางแก้ว 3)ท้าวสิงห์หรือทนายสิงห์ เป็นต้น

7) นางข่าง สมรสกับท้าวคำสาร** มีบุตร 11 คน ได้แก่ 1)ท้าวฮุย​​​​ 2)ท้าวติ่ง 3)ท้าวหด​​​​ 4)ท้าวหนูหลอด 5)นางถัน​​​​6)นางตัน 7)นางสอน 8)นางดอกซ้อน 9)นางเงิน 10)นายเอิบ 11)นางผิง เป็นต้น

8) นางคะ สมรสกับ ขุนเชียงโส(โส)*** มีบุตร 3 คน ได้แก่ 1)ท้าวคันที 2)ท้าวฮม 3)นางพร เป็นต้น

9) นางบัวสา เป็นโสดไม่มีทายาท

10) ท้าวคำหวา สมรสกับนางฮัง มีบุตร 4 คน ได้แก่ 1)นางบาน 2)นางตุ้น 3)นางปาลี 4)ท้าวพรหมาหรือนายณรงค์ เป็นต้น

*พระศรีธงไชย(คำตา)เป็นบุตรของพระอุปสิทธิ์(สีน)น้องชายคนที่ 3 กับนางคำผิวคือบุตรีพระยาประจันตประเทศธานี(ปิด)เจ้าเมืองสกลนคร ลำดับที่ 2 พระยาไชยสุนทร(โคตร) ขอมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมเพื่อทำราชการที่เมืองกาฬสินธุ์

**ท้าวคำสารเป็นบุตรของพระไชยราษฎร์(ลาด)น้องชายคนที่ 3 ส่วนมารดาไม่ปรากฏนาม

***ขุนเชียงโส(โส)เป็นบุตรของอุปฮาด(ลาว) อุปฮาดเมืองสกลนคร ซึ่งเป็นพี่ชายคนที่ 2 ของพระยาไชยสุนทร(หล้า) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 4

การรับราชการ แก้

-ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ท้าวขัตติยะ ผู้ช่วยราชการอุปฮาดเมืองสกลนคร ปี 2381 -2393

-ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่เพี้ยชานนท์ ทำหน้าที่เสมียนจดบันทึกหนังสือข้อราชการเมืองกาฬสินธุ์ ปี 2394-2415

-ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นที่ราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์ ปี 2415-2424

-ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นที่ “พระยาไชยสุนทร” เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ เมื่อวันจันทร์ขึ้น 12 ค่ำเดือน 7 ปีมะเมีย จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๔๔ ตรงกับวันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2425

และได้รับพระราชทานเครื่องยศเพิ่มเติม  ดังนี้  

1.  ถาดหมาก

2.  คนโฑเงินถมลงยาดำ

3.  ลูกประคำทองคำ  ๑๐๘  เม็ด  ๑  สาย

4.  พานกลีบบัวเงินพร้อมเครื่องถมในเงิน

5.  จอก  ๒  ใบ

6.  แอบยายอดทอง  ๒  ใบ

7.  ซองพลู  ๑  อัน

8.  มีดหนีบหมาก

9.  กระโถนถมลงยาสีดำ

10.  หอกซัดปลอกทองคำ  ๒  อัน

11.  ปืนชนวนทองแดงต้นด้ามงาช้าง

12.  กระบี่บั้งเงิน

13.  หมวกทรงประภาศตุ้มปี่กำมะหยี่

14.  สัปทนปัศตู

15.  เสื้อเขมขาบริ้วดี

16.  แพรสีทับทิม

17.  แพรขาวห่ม

18.  ผ้าปูมเขมร

19.  แคร่หาม  ๑  สำรับ

เหตุการณ์สำคัญ แก้

-ปีกุน ศกโท จุลศักราช ๑๒๑๓ ตรงกับปีพ.ศ. 2393 อุปฮาดเมืองสกลนคร(ลาว) รับราชการได้ 13 ปีก็ถึงแก่กรรม ท้าวเกษราชบุตรเมืองสกลนครได้กลับมารับตำแหน่งราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์และทำราชการที่เมืองกาฬสินธุ์ มีลูกหลานบางส่วนกลับไปเมืองกาฬสินธุ์ก็มีบ้างยังคงอาศัยเมืองสกลนครก็มีบ้าง ส่วนท้าวโคตรได้พาผู้คนมาอาศัยอยู่และหาที่ทำกินที่บริเวณตำบลบ้านไฮหย่อง(อำเภอพังโคน)แขวงเมืองสกลนคร และภายหลังพอที่จะตั้งเป็นเมืองได้จึงพาลูกหลานและบริวารลงไปกรุงเทพ เพื่อขอพระราชทานตั้งตำบลบ้านไฮหย่องเป็นเมืองภูเงิน แต่ไปถึงดงพญาไฟก็บริวารเจ็บป่วยล้มตายด้วยไข้ป่าเป็นจำนวนมาก จึงกลับมาพักรักษาตัวและบวชแก้บนที่วัดกลางเมืองกาฬสินธุ์แล้วจึงสึกออกมาทำราชการที่เมืองกาฬสินธุ์ต่อชาวเมืองจึงเรียกว่า “เซียงโคตร” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

-ปีมะเส็ง ตรีศก จ.ศ. ๑๒๔๓ ตรงกับปี พ.ศ. 2424 กำกับรักษาราชการเมืองกาฬสินธุ์ จึงมีใบบอกเร่งผูกส่วยผลเร่วและเงินลงไปทูลเกล้าฯ ถวายที่กรุงเทพฯ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งว่าที่ “พระยาไชยสุนทร” เจ้าเมือง ซึ่งสัญญาบัตรตราตั้งได้มาถึงเมื่อปีมะเมีย จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๔๔ ตรงกับปีพ.ศ. 2425

-ปีมะเส็ง ตรีศก จ.ศ. ๑๒๔๓ ตรงกับปี พ.ศ. 2424 พระยาไชยสุนทร(โคตร) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์และพระราษฎรบริหาร(ทอง) เจ้าเมืองกมลาไสย เห็นว่าเมืองทั้ง 2 มีปัญหาเรื่องเขตแดนเมืองที่ยังตกลงกันไม่สิ้นสุด พระยาไชยสุนทร(โคตร) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์และพระราษฎรบริหาร(ทอง) จึงได้พร้อมกันตกลงทำหนังสือแบ่งเขตแดนให้ไว้แก่กันคนละฉบับไว้ว่า “เขตแดนที่ตกลงเป็นเขตแดนแขวงเมืองกมลาไสยนั้น ปักหลักเขตแดนแต่บ้านหลุบตามทางไปถึงห้วยคำมักมายไปถึงช่องทางคำขี้มด เขาภูพานข้างตะวันออก ข้างตะวันตกไปทางทุ่งแม่นางบ่อนท่าประทาย น้ำลำพะชีย์ ข้างใต้เป็นเขตแดนเมืองกาฬสินธุ์ ตามหลักซึ่งฝังไว้เป็นแล้วแก่กัน”

-ปีมะเส็ง ตรีศก จ.ศ. ๑๒๔๓ ตรงกับปี พ.ศ. 2424 พระธิเบศวงษา(ดวง) เจ้าเมืองกุดสิมนารายณ์ถึงแก่กรรม พระยาไชยสุนทร(โคตร) และกรมการเมืองกาฬสินธุ์ได้ปรึกษากัน จึงมีใบบอกขอเมืองกุดสิมนารายณ์ที่ไปขึ้นกับเมืองมุกดาหารกลับคืนมาขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์ตามเดิมและขอท้าวกินรีบุตรราชวงศ์คำเชี่ยงเป็นที่ ”พระธิเบศวงษา” เจ้าเมืองกุดสิมนารายณ์

-เมื่อปีมะเมีย จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๔๔ ตรงกับปีพ.ศ. 2425 พระศรีสุวรรณ(พก) เจ้าเมืองแซงบาดาล ถึงแก่กรรม ราชวงศ์(ขี) ได้ดูแลรักษาราชการบ้านเมืองได้ 2 ปี ราชวงศ์(ขี) ก็ถึงแก่กรรม พระยาไชยสุนทร(โคตร) และกรมการเมืองกาฬสินธุ์ได้ปรึกษากัน จึงมีใบบอกขอท้าวจารย์โคตรบุตรอุปฮาด(พรหม) เป็นที่ “พระศรีสุวรรณ” เจ้าเมือง ท้าวเชียงทุมเป็นอุปฮาด รักษาราชการเมืองแซงบาดาลต่อไป

-เมื่อปีมะแม เบญจศก จ.ศ. ๑๒๔๕ ตรงกับปีพ.ศ. 2426 พระยาไชยสุนทร(โคตร) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ได้ถึงแก่กรรมลง เมื่อได้รับสัญญาบัตรตราตั้งเป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์กับท้องตราขอเมืองกุดสิมนารายณ์ที่ไปขึ้นกับเมืองมุกดาหารกลับคืนมาขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์ตามเดิม หลังกลับมาอัญเชิญสัญญาบัตรและท้องตรามาไว้ที่เมืองกาฬสินธุ์ก็ป่วยอยู่ได้ 3 เดือนก็ถึงแก่กรรม เมื่อวันศุกร์ขึ้น ๑๐ ค่ำเดือน ๗ เมื่อปีมะแม เบญจศก จ.ศ. ๑๒๔๕ ตรงกับวันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2426 กรมการเมืองกาฬสินธุ์จึงว่างลงหลายตำแหน่ง

ถึงแก่กรรม แก้

•พระยาไชยสุนทร(โคตร) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 9 ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา รับราชการเป็นเจ้าเมืองสนองพระเดชพระคุณ 6 ปี ที่โฮงเจ้าเมือง ในเมืองกาฬสินธุ์ เมื่อวันศุกร์ขึ้น ๑๐ ค่ำเดือน ๗ เมื่อปีมะแม เบญจศก จ.ศ. ๑๒๔๕ ตรงกับวันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2426 สิริรวมอายุ 75 ปี หลังได้พระราชทานเพลิงศพเป็นที่เรียบร้อยแล้วทายาทได้นำอัฐิมาไว้ที่วัดพระธาตุเชิงชุม ในเมืองสกลนคร สืบมาภายหลังลูกหลานเรียกขานทานว่า “อัญญาพ่อเฒ่า” สิ้นประวัติพระยาไชยสุนทร (โคตร) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 9 เพียงเท่านี้

สายตระกูล แก้

ก่อนหน้า Sornjod/ทดลองเขียน ถัดไป
พระยาชัยสุนทร (หนู)    
เจ้าเมืองกาฬสินธุ์,
ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์

(พ.ศ. 2420 - 2426)
  พระยาชัยสุนทร (พั้ว)
  1. http://www.kalasinpit.ac.th/elearning/kroosert/data/kalasin.htm[ลิงก์เสีย]
กาฬสินธุ์