รังสีฮอว์คิง (อังกฤษ: Hawking radiation) เป็นการแผ่รังสีของวัตถุดำที่ถูกปล่อยออกมาจากหลุมดำอันเนื่องจากกรากฎการณ์ทางควอนตัม ณ​ บริเวณใกล้ขอบฟ้าเหตุการณ์ โดยตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ สตีเฟน ฮอว์คิง นักฟิสิกส์ผู้ให้เหตุผลเชิงทฤษฎีในปี 1974 ว่ามีรังสีนี้อยู่จริง[1] ซึ่งเป็นเวลาหลังจาก จาคอบ เบเคนสไตน์ ได้คาดการ์ณไว้ว่าหลุมดำควรจะมีอุณหภูมิและเอนโทรปีจำกัดและมากกว่าศูนย์[2]

รังสีฮอว์คิง นี่เองที่ทำให้หลุมดำมีมวลและพลังงานลดลงได้ หากหลุมดำสูญเสียมวลจากการปล่อย รังสีฮอว์คิง มากกว่าได้รับจากการดูดเข้าไป เป็นเวลานานมากพอก็จะทำให้หลุมดำมีขนาดเล็กลงและหายไปในที่สุด เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า การระเหยของหลุมดำ โดยยิ่งหลุมดำมีขนาดเล็กเช่น หลุมดำจิ๋ว จะมีการปล่อยรังสีมากกว่าและระเหยหายไปเร็วกว่าหลุมดำที่มีขนาดใหญ่

ภาพรวม แก้

หลุมดำเป็นบริเวณที่มีความโน้มถ่วงสูงมาก มากจนไม่มีสิ่งไหนที่ตกลงไปในบริเวณขอบฟ้าเหตุการณ์ของหลุมดำแล้วจะไม่สามารถหนีออกมาได้แม้กระทั่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (เช่น แสง) ก็ตาม

อ้างอิง แก้

  1. Charlie Rose: A conversation with Dr. Stephen Hawking & Lucy Hawking
  2. Levi Julian, Hana (3 September 2012). "'40 Years of Black Hole Thermodynamics' in Jerusalem". Arutz Sheva. สืบค้นเมื่อ 8 September 2012.