ผู้ใช้:Pawarit0753/กระบะทราย

การเมืองกับการบริหาร แก้

การเมือง แก้

ความหมายของการเมืองได้มีนักคิดหลายท่านที่ให้ความหมายไว้ยกตัวอย่างเช่น Aristotle ได้ให้ความหมายไว้ว่า ”การเมืองคือการใช้อำนาจเพื่อสาธารณะประโยชน์” และ Harold Lasswell ได้ให้ความหมายว่า ”การเมืองเป็นเรื่องของการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม” ถ้าดูจากนักคอดหลายท่านที่ได้ให้ความหมายไว้แล้วกล่าวสรุปได้คือการเมืองคือ การที่กระทำการไดๆเพื่อบริหารประเทศและเพื่อประโยชน์ส่วนร่วมหรือสาธารณะชน

รัฐ แก้

คือ องค์การที่มีอำนาจทางการเมืองในการบริหารประเทศและมีอำนาจที่บุคคลในประเทศเชื่อฟังและปฏิบัติตามและคนในองค์การต้องมีสัญชาติตามประเทศนั้นๆ
          องค์ประกอบของรัฐได้แก่

1. ประชากร คือ มนุษย์หรือคนที่อาศัยอยู่ในอาณาเขตของรัฐถือมีสถานะเป็นส่วนหนึ่งของรัฐทันที 2. อาณาเขตหรือดินแดน คือ ดินแดน น่านน้ำอาณาเขตไม่เกิน12ไมล์ทะเลและเขตเศรษฐกิจจำเพาะและสุดท้ายน่านฟ้าของประเทศ 3. รัฐบาล คือองค์กรทางการเมืองที่มีอำนาจในการบริหารประเทศในเรื่องต่างๆไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกและดูแลทุกข์สุขของประชาชน 4. อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจใจการปกครองตนเองของประเทศนั้นๆ

        รูปแบบของรัฐ

1. รัฐเดี่ยว คือมีรัฐบาบกลางที่มีอำนาจทั้ง 3 ด้านคือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการและมีรัฐบาลที่ทำการปกครองเพียงชุดเดียว 2. รัฐรวม คือ การที่รับสองรัฐมารวมกันแต่ยังคงสภาพรัฐไว้ทั้งสองแต่อยู่ภายใต้รัฐบาลชุดเดียวและอำนาจของแต่ละรัฐก้อาจลดลงไปตามข้อตกลง

หน้าที่ของรัฐ แก้

1. การบริหาร ดูแลความสงบในประเทศหารายได้เข้าประเทศและรักษาเอกราชของประเทศ 2. บริการและจัดสวัสดิการให้แก่ประชาชนให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี 3. สร้างความเป็นธรรมในสังคม จัดการบริการต่างๆให้เท่าเทียมและทั่วถึงทุกคน[1]

การบริหาร แก้

การบริหารราชการแผ่นดิน แก้

                       ทุกประเทศย่อมมีโครงสร้างการทำงานและการบริการประชาชนรัฐแต่ละละรับก็จะออกกฎหมายมาเพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตามและออกแบบโครงสร้างและการบริการมาในรูปแบบของกฎหมายเพื่อกำหนดนโยบายการบริหาร

ความหมายและความสำคัญของการบริหาราชการแผ่นดิน

                        ทวี ทองสว่าง (2546: 254) ได้ให้นิยามความหมายของคาว่า การบริหารราชการแผ่นดิน คือ การกำหนด นโยบายจัดการปกครองประเทศในด้านต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง การต่างประเทศ ให้ไปในทิศทางที่เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งปฏิบัติตามนโยบายที่กำหนดไว้บังเกิดผลจะเป็นจริงได้นั้น ต้องมีการจัดเตรียมความพร้อมมารองรับ
                         เกรียงศักดิ์ ราชโคตร (2552: 204) นิยามคาว่าการบริหารราชการแผ่นดิน หมายถึง การกำหนดนโยบายในการปกครองว่า จะจัดการปกครองประเทศในด้านต่าง ๆ ได้อย่างไร ใช้วิธีการใด จากนั้นมีการกำหนดนโยบายในการปฏิบัติ มีการบังคับการใช้นโยบายเป็นไปตามกฎหมาย เพื่อให้นโยบายบังเกิดผลที่เป็นจริง

การบริหารส่วนกลาง

      อำนาจการบริหารขั้นสูงสุดทุกอย่างถูกรวมไว้ที่ส่วนกลางแบ่งออกเป็นกระทรวง  กรม หน่วยงานเหล่านี้ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศซึ้งคือกรุงเทพมหานครเป็นการปกครองแบบรวมอำนาจดารจัดระเบียบ

การบริหาราชการส่วนภูมิภาค

  กระทรวง กรม ต่างๆ ได้ออกไปดำเนินการจัดการตามเขตต่างๆ เจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับแต่งตังไปยังเขตพื้นที่ต่างๆของภูมิภาค เพื่อทำงานภายใต้การบัญชาราชการส่วนกลาง เป็นการบริหารตามหลักการแบ่งอำนาจโดยให้จังหวัดได้มีอำนาจในการบริหารจัดการในเขตตนแทนราชการส่วนกลาง ส่วนกลางสามารถเรียกกลับได้

การจัดระเบียบบริหารส่วนภูมิภาคแบ่งได้ดั้งนี้ 1. จังหวัด 2. อำเภอ 3. ตำบล 4. หมู่บ้าน

 การบริหาราชการส่วนท้องถิ่น
      รัฐกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบริหารงานในพื้นที่และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ

1. การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป 1.1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) 1.2 เทศบาล 1.3 องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) 2. การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 2.1 กรุงเทพมหานคร 2.2 เมืองพัทยา[2]

การบริหารรัฐกิจ แก้

         คือการดำเนินการของฝ่ายบริหารเพื่อบริการประชาชนทำให้ประชาชนพึงพอใจที่สุด ในการบริหารงานภาครัฐจะไม่เน้นกำไรเหมือนการบริหารธุรกิจแต่จะเน้นให้ลูกค้าซึ้งคือประชาชนพึงพอใจมากที่สูดทุกคนได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกันทุกคน[3]

การบริหารองค์กรภาครัฐ แก้

        การบริหารองค์กรภาครัฐกับภาคเอกชนนั้นมีความคล้ายคลึงกันแต่การบริหารองค์กรภาครัฐนั้นมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากการบริหารภาคเอกชนที่เห็นได้ชัดคือการเป็นสาธารณะ ลักษณะที่แตกต่างคือ

1. การบริหารองค์กรภาครัฐไม่สามารถแยกจากการเมืองได้ เพราะคนที่เป็นคนดำเนินนะโยบายสาธารณะคือนักการเมืองที่ได้ถูกเลือกเข้ามาบริหารประเทศ ข้าราชการอื่นๆเป็นเพียงผู้ที่นำนโยบายไปจัดการต่อ 2. การตัดสินในของการบริหารองค์กรภาครัฐสามารถสร้างผลกระทบอย่างกว้างและรุนแรงได้เพราะขอบเขตของการบริหารภาครัฐนั้นกว้างมาก 3. มีความคาดหวังจากประชาชนสูงเพราะเป้าหมายของการบริหารองค์กรภาครัฐคือความเป็นสาธารณะและให้ประชาชนได้รับความพอใจเป็นอย่างสูง 4. เป้าหมายไม่ชัดเจนและค่อนข้างกว้างขวาง 5. มีการทำงานที่อิงกฎหมาย ซับซ้อน ใหญ่โตและสายบังคับบัญชา มีพิธีขั้นตอนเยอะทำให้การทำงานล่าช้าได้[4]

ข้าราชการเมืองกับข้าราชการประจำ แก้

    ===ฝ่ายการเมือง=== (ข้าราชการเมือง)
         คือผู้ซึ้งได้รับเลือกตั้งจากประชาชนได้รับตำแหน่งหน้าที่รับผิดชอบเรื่องต่างๆทางการเมืองแล้ว จะเรียกว่า ข้าราชการการเมืองหรือฝ่ายการเมือง[5]

บทบาทหน้าที่หลักของข้าราชการเมือ

  1.  การกำหนดนโยบาย นโยบายของรัฐมีหลากหลายรูปแบบ ได้แก่

1.1 พระราชบัญญัติ 1.2 พระราชกำหนด 1.3 พระราชกฤษฎีกา 1.4 กฎกระทรวง

  2. กำกับ ดูแล ควบคุม ติดตามผลงานการดำเนินการนำนโยบายไปปฏิบัติของข้าราชการประจำเพื่อให้นโยบายออกมาได้ดีที่สุดและให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของนโยบาย 
  3. ออกความเห็นชอบและแต่งตั้งข้าราชการประจำระดับสูง  เพื่อเป็น

หลักประกันว่านโยบายจะถูกปฏิบัติจากข้าราชการประจำอย่างสุดความสามารถ หากข้าราชการประจำไม่ปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจัง ฝ่ายการเมืองก็สามารถย้ายข้าราชการผู้นั้นได้โดยเหตุผลว่าเพื่อความเหมาะสมและให้นโยบายบรรลุผลสำเร็จ[6]

    ===ฝ่ายบริหาร=== (ข้าราชการประจำ)
         ผู้ที่ได้รับบรรจุหรือแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนให้รับราชการโดยจะได้รับเงินเดือนเป็นค่าเหนื่อย[7]

บทบาทหน้าที่หลักของข้าราชการประจำ 1. ปฏิบัติงานในสังกัดกระทรวง กรม หรือหน่วยงานที่เทียบเท่า มีกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ วิธีการ และขั้นตอน ในการทำงายแน่นอน ชัดเจน เป็นงานประจำไม่มีระยะเวลาสิ้นสุด 2. การนำนโยบายไปปฏิบัติให้เกิดผล เป็นการทำงานที่ยากกว่าการทำงานประจำเพราะมีกรอบเวลาที่ชัดเจน วัตถุประสงค์ที่ชัดเจนอีกทั้งยังต้องอาศัยปัจจัยต่างๆอีกมากมาย 3. ให้ข้อมูลราย คำชี้แจง และความคิดเห็นแก่ฝ่ายการเมืองในการกำหนดนโยบายหรือให้ข้อมูลในการแถลงต่อรัฐสภา โดยเฉพาะเป็นข้อมูลระดับปฏิบัติมิเพราะข้าราชการประจำจะรู้เรื่องพวกนี้ดีกว่าฝ่ายการเมือง 4. เสนอนโยบายใหม่ ๆให้แก่ฝ่ายการเมือง ในปัจจุบันถือว่าเป็นสิ่งที่ใหม่ของข้าราชการประจำ โดยเฉพาะการเสนอข้อคิดเห็นที่เป็นเชิงวิชาการหรือแนวทางแก้ไขปัญหาให้แก่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี 5. งานพิเศษอื่นๆที่ได้รับมอบมาย อาจเป็นคำสั่งเฉพาะกิจหรือนโยบายครั้งคราวของฝ่ายการเมืองทำให้ข้าราชการประจำมีงานเพิ่มขึ้น[8]

ความแตกต่างระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายบริหาร แก้

1. หน้าที่และความรับผิดชอบ ฝ่ายการเมือง: แสดงเจตนาประชาชนในรูปของนโยบายสาธารณะ มอบงานให้ฝ่ายบริหารไปทำ อำนวยการควบคุมให้เป็นไปตามนโยบาย ฝ่ายบริหาร: ให้ข้อมูลเสนอให้ฝ่ายการเมืองกำหนดนโยบายสาธารณะ นำนโยบายไปปฏิบัติให้ได้ผลดีที่สุด 2. การเข้าดำรงตำแหน่ง ฝ่ายการเมือง: ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนหรือได้รับการแต่งตั้งจากผู้มีอำนาจทางการเมือง ฝ่ายบริหาร: ผ่านการคัดเลือกและได้รับการแต่งตั้ง 3. ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ฝ่ายการเมือง: ตามกฎหมายกำหนดเช่น สส.4ปี สว. 6 ปี ฝ่ายบริหาร: ตามอายุราชการเว้นแต่จะมีความผิด 4. ความมั่นคงในการดำรงตำแหน่ง

 ฝ่ายการเมือง: ไม่มั่นคง
 ฝ่ายบริหาร: มั่นคง

5. ระดับความรู้ความสามารถ ฝ่ายการเมือง: ไม่มีความชำนาญ ฝ่ายบริหาร: มีความชำนาญ 6. ความเป็นกลางทางการเมือง

 ฝ่ายการเมือง: ไม่เป็นกลางมีการเลือกปฏิบัติ
 ฝ่ายบริหาร: มีความเป็นกลาง

7. ข้อจำกัดด้านพฤติกรรม

ฝ่ายการเมือง: ขึ้นอยู่กับประชาชนและมติมหาชน
ฝ่ายบริหาร: ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบอย่างเคร่งครัด[9]

ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชการประจำ แก้

  ฝ่ายการเมืองมีหน้าที่กำหนดนโยบาย ควบคุมกำกับดูแล ส่วนฝ่ายบริหารหรือข้าราชการประจำมีหน้าที่ดำเนินการปฏิบัตินโยบายให้ออกมาได้ผลดีที่สุด ทั้ง 2 ฝ่ายมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดมากไม่สามารถแยกออกจากกันได้อาจมีการแทรกแซงอยู่บ้างแต่ทั้งสองฝ่ายต้องมีความสมดุลกันหรือถ่วงดุลกันเพื่อให้เกิดความเสถียรและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพที่สุด[10]
  1. ครูรุจน์ หาเรือนทรง.ไม่ปรากฏ.การเมืองการปกครอง.25 เมษายน 2560.สืบค้นจากwww.sw2.ac.th/images/user/root/soc31102/57so3110201.pdf
  2. สำนักวิชาบริหารัฐกิจ มหาวิทยาลัยเชียงราย.ไม่ปรากฏ.การเมืองการปกครองของไทย.25 เมษายน 2560.สืบค้นจากhttps://pt.scribd.com/document/267826044/การเม-องการปกครองของไทย-1-pdf
  3. guru sanook.2556.บริหารรัฐกิจคืออะไร.25 เมาษายน 2560.สืบค้นจากhttp://guru.sanook.com/23906/
  4. คณะกรรมการกลุ่มผลิตชุดวิชาการบริหารองค์กรภาครัฐ.2549.การบริหารองค์กรภาครัฐ.สุโขทัย:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.24-25
  5. Dr. Churairat Chulachakkawat.ไม่ปรากฏ.การเมืองและการบริหาร.25 เมษายน 2560.สืบค้นจากwww.lms.cmru.ac.th/e_book/data/3/intro2.pdf
  6. พิธุวรรณ กิติคุณ.ไม่ปรากฏ.ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชการประจำ.25 เมษายน 2560.สืบค้นจากlibrary2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2558/hi2558-090.pdf
  7. Dr. Churairat Chulachakkawat.ไม่ปรากฏ.การเมืองและการบริหาร.25 เมษายน 2560.สืบค้นจากwww.lms.cmru.ac.th/e_book/data/3/intro2.pdf
  8. พิธุวรรณ กิติคุณ.ไม่ปรากฏ.ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชการประจำ.25 เมษายน 2560.สืบค้นจากlibrary2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2558/hi2558-090.pdf
  9. Dr. Churairat Chulachakkawat.ไม่ปรากฏ.การเมืองและการบริหาร.25 เมษายน 2560.สืบค้นจากwww.lms.cmru.ac.th/e_book/data/3/intro2.pdf
  10. พิธุวรรณ กิติคุณ.ไม่ปรากฏ.ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชการประจำ.25 เมษายน 2560.สืบค้นจากlibrary2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2558/hi2558-090.pdf