กรุงเทพมหานครในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566

← พ.ศ. 2562 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ครั้งต่อไป →

33 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรไทย
ลงทะเบียน4,483,319[1]
  First party Second party
 
Pita Limjaroenrat - 2 (cropped).jpg
พรรค เพื่อไทย ก้าวไกล
เลือกตั้งล่าสุด 9 ที่นั่ง, 19.49% 9 ที่นั่ง, 25.93%[a]
ที่นั่งก่อนหน้า 8 5

  Third party Fourth party
 
Prawit Wongsuwan (2018) cropped.jpg
อนุทิน ชาญวีรกูล 2019 ครอบตัด.jpg
พรรค พลังประชารัฐ ภูมิใจไทย
เลือกตั้งล่าสุด 12 ที่นั่ง, 25.53% 0 ที่นั่ง, 1.40%
ที่นั่งก่อนหน้า 4 2

นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง

ประยุทธ์ จันทร์โอชา
รวมไทยสร้างชาติ[b]

นายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้ง

ยังไม่ประกาศ

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2566 เป็นส่วนหนึ่งของการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 คาดว่าจะจัดขึ้นไม่เกินวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ด้วยระบบลงคะแนนแบบคู่ขนาน ประกอบด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต และแบบสัดส่วนบัญชีรายชื่อ ซึ่งกรุงเทพมหานครมีจำนวนเขตเลือกตั้งมากที่สุดในการเลือกตั้งครั้งนี้ ทั้งสิ้น 33 เขต เพิ่มจากการเลือกตั้งครั้งก่อน 3 เขต

เบื้องหลัง แก้

การเปลี่ยนแปลงเขตเลือกตั้ง แก้

หลังจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1 ว่าด้วยการแก้ไขระบบการเลือกตั้ง และปรับสัดส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่งผลให้กรุงเทพมหานครมีจำนวนเขตเลือกตั้งมากขึ้นจากการเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2562 เดิม 30 เขต เป็น 33 เขต ทำให้จำเป็นต้องมีการแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่

กุมภาพันธ์ 2566 คณะกรรมการการเลือกตั้งกรุงเทพมหานครได้เผยแพร่รูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 5 รูปแบบ[2] อย่างไรก็ตามเกิดข้อท้วงติงว่ารูปแบบทั้ง 5 ที่จัดทำมา ขัดกับหลักเกณฑ์ "ผลต่างของจำนวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้ง ไม่ควรเกินร้อยละ 10 ของจำนวนราษฎรเฉลี่ยต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคนในจังหวัดนั้น"[3] จึงได้มีการเผยแพร่รูปแบบเขตเลือกตั้งเพิ่มเติมอีก 3 แบบในเวลาถัดมา[4]

มีการตั้งข้อสังเกตว่า รูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งกรุงเทพฯ รูปแบบที่ 6, 7 และ 8 ที่เผยแพร่ออกมาภายหลัง พบการแบ่งเขตเลือกตั้งแบบเอาเปรียบ หลายพื้นที่ฐานเสียงของเพื่อไทยถูกหั่นบางแขวงไปรวมกับเขตอื่น, หลายเขตถูกฉีกแขวงออกไปคนละทิศละทาง, ขณะที่ บางเขตที่ผู้สมัครฝั่งรัฐบาลมีความเข้มแข็งถูกจัดวางไว้เต็มเขต, บางเขตที่เดิมพรรคผู้มีอำนาจจะชนกับผู้สมัครจากพรรคฝ่ายตรงข้ามที่เข้มแข็ง ถูกแบ่งให้ไปสู้กับผู้สมัครคนอื่นอีกโซนที่กำลังอ่อนกว่า[5][6]

คอลัมนิสต์กรุงเทพธุรกิจตั้งข้อครหาว่า "ต้องการสร้างอุปสรรคให้เพื่อไทย สกัดแลนด์สไลด์"[5] พรรคเพื่อไทยประณามว่าเป็น "รัฐประหารโดยการแบ่งเขตเลือกตั้ง"[7]

ว่าที่ผู้สมัคร แก้

พรรคก้าวไกล แก้

มีนาคม 2566 พรรคก้าวไกลเปิดตัว ศุภณัฐ มีนชัยนันท์ หลานของ วิชาญ มีนชัยนันท์ อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ลงชิง ส.ส. เขตจตุจักร แทน

พรรคประชาธิปัตย์ แก้

พรรคพลังประชารัฐ แก้

พรรคเพื่อไทย แก้

พรรคภูมิใจไทย แก้

รายชื่อว่าที่ผู้สมัครเรียงตามเขต แก้

การรณรงค์หาเสียง แก้

  1. Lab, Rocket Media (2023-02-23). "ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง '66 รายจังหวัด จำแนกตามช่วงอายุ [ข้อมูลดิบ]". Rocket Media Lab.
  2. "กกต.กทม.โชว์ 5 รูปแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 66 เปิดแสดงความเห็น 4-13 ก.พ." bangkokbiznews. 2023-02-03.
  3. MINGKWAN, PAIRUCH. "'สมชัย' เตือน กกต.รื้อแบ่งเขตเลือกตั้ง กทม.ใหม่ด้วยเหตุผลนี้!". เดลินิวส์.
  4. "กกต.สั่ง 5 จว. กทม. ชลบุรี เชียงใหม่ ปัตตานี สมุทรปราการ แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่". thansettakij. 2023-02-06.
  5. 5.0 5.1 "สลายฐาน กทม. "เพื่อไทย" ซอยแขวง แบ่งเขต สกัด แลนด์สไลด์". bangkokbiznews. 2023-02-22.
  6. "สแกน กกต.แบ่งเขตเลือกตั้ง กทม. พลังประชารัฐ ล็อกสเป็ก ส.ส. 10 ที่นั่ง". ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2023.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "'เพื่อไทย' ค้านแบ่งเขตเลือกตั้ง กทม.แบบที่ 6-7-8 เหตุขัด พ.ร.ป.เลือกตั้ง - กกต.เตรียมหาข้อยุติคำนวณ ส.ส." prachatai.com.


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน